MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Monday, August 23, 2010

Usability and Ergonomics Considerations on e-learning of Older Adults

ชื่องานวิจัย/บทความ
Usability and Ergonomics Considerations on e-learning of Older Adults

ผู้เขียน
Klaus Reich, Christian Petter, Kathrin Helling, Elena Müller
Institute for Future Studies , Austria

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการสื่อสารสำหรับการให้ข้อมูลสำหรับผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
- ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป

ขั้นตอนงานวิจัย
- ศึกษาถึงข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ

ผลการทดลอง
- พบว่าผู้สูงอายุมีข้อจำกัดด้านการได้ยิน การมองเห็น ความสัมพันธ์ของมือและตา การเคลื่อนไหวอย่างระเอียด การเสื่อมการยึดติดของข้อต่อ การว่อมแซ่มของร่างการหลังจากการบาดเจ็บ
- ปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึง IT คือ
ปัญหาด้านการอ่าน คือ ขนาดตัวอักษรที่เล็ก แคบ
ปัญหาด้านการเข้าใจ คือ การไม่เข้าใจในภาษาต่างชาติ
ปัญหาทางเทคนิค คือ การไม่เข้าใจถึงการใช้อุปกรณ์
- การกวาดสายตาในการอ่าน การเข้าใจ และการจดจำข้อมูลที่ได้จากกการอ่าน
- มีการแก้ปัญหาด้านนี้โดยการปรับสื่อการรับข้อมูล ปรับจากการอ่านเป็นภาพและการสาธิต

วิเคราะห์งานวิจัย
- เป็นงานที่ศึกษาจากการเสื่อมในด้านต่างๆของผู้สูงอายุ เพื่อให้เข้าใจและการปรับแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ในผู้สูงอายุ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ออกแบบ เพื่อผลิตสื่อในการสอนและการเรียนรู้ ในการ ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ใช้ยา หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่อื่นๆ

Ergonomics for the Aging Population: Implementing Methods to Maintain Quality of Life

ชื่องานวิจัย/บทความ
Ergonomics for the Aging Population: Implementing Methods to Maintain Quality of Life

ผู้เขียน
Margarita M. Posada Fordham University

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการปรับสภาพแวดล้อมหรือการนำอุปกรณ์เสริมมาช่วยในการรักษาหรือเพิ่มระดับความสามารถในการดำเนินชีวิต ในทุกๆด้าน

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
กลุ่มผู้สุงอายุ

ขั้นตอนงานวิจัย
- ศึกษาถึงจำนวนผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ สุขภาพ การมองเห็น การได้ยิน และการเคลื่อนย้ายตัว
- ศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่พบมีปัญหาระยะสั้นและระยะยาว อาจต้องมีการรักษาที่ โรงพยาบาล คลินิค ศูนย์ฟื้นฟู หรือศูนย์พักฟื้น ซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจ

ผลการทดลอง
- การปรับพัฒนาสภาพแวดล้อมสำหรับผู้ป่วย เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อลดข้อจำกัดด้านความกังวล โรคประจำตัว และข้อจำกัดอาการในด้านต่างๆ
- สภาพแวดล้อมเช่นความสว่างที่เพียงพอ ความสะดวกสบาย การง่ายต่อการเข้าถึง พื้นที่ และพื้นผิวสัมผัส เพื่อสะดวกในการเคลื่อนที่
- มีงานวิจัยที่รองรับว่า การออกแบบที่ไม่เหมาะสมนั้นส่งผลให้การรักษานั้นดีขึ้นได้ช้า ส่งผลให้ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น
- การออกแบบสถานที่ทำงานของผู้ทำงานทั่วไปนั้น มีผลต่อสุขภาพของผู้ทำงาน ช่วยลดความล้าและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- มีการศึกษาถึงการออกแบบสำหรับผู้ที่สูงอายุนั้น ใช้ปัจจัยทางกายภาพในการออกแบบอุปกรณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลง
- การออกแบบอุปกรณ์ในผู้สูงอายุนั้นต้องทำเพื่อลดความล้าทางร่างกายและความเครียดทางจิตใจ
- มีการศึกษาถึงการปรับสภาพแวดล้อมสำหรับผู้ป่วยนั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีเร็วมากขึ้น

วิเคราะห์งานวิจัย
ไม่ได้ระบุถึงกลุ่มโรคในกลุ่มผู้ป่วย หรือผู้สุงอายุ

ประโยชน์ที่ได้รับ
- เป็นการรวบรวมงานวิจัยถึงการออกแบบและการปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับผู้สูงอายุและผู้ป่วย
- สามารถนำข้อจำกัดไปพัฒนาออกแบบอุปกรณ์ให้ผู้สูงอายุ

Thursday, August 19, 2010

Reliability of the Fugl-Meyer Assessment of Sensorimotor Recovery Following Cerebrovascular Accident

ชื่องานวิจัย/บทความ
Reliability of the Fugl-Meyer Assessment of Sensorimotor Recovery Following Cerebrovascular Accident

แหล่งอ้างอิง
http://scholar.google.co.th/scholar?q=Reliability+of+the+Fugl-Meyer+Assessment+of+Sensorimotor+Recovery+Following+Cerebrovascular+Accident&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart
สืบค้นคำว่า cerebrovascular disorder, Extremities, motor skills

วัตถุประสงค์
ศึกษาหาความน่าเชื่อถือของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ Fugl-Meyer Assessment ในผู้ป่วยโรคหลอดสมอง

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 19 คน รับการฟื้นฟูที่ Durham Veterans Administration Medical Center
มีเงื่อนไขดังนี้
1.สาเหตุการเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้มาจาก การบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง และการผ่าตัด
2.เป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
3.ไม่ได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดระหว่างการศึกษา
4.ผู้ป่วยสามารถเข้าใจคำสั่งและจำสิ่งรอบตัวได้ ได้แก่ ชื่อ เวลา สถานที่

ขั้นตอนการวิจัย
1.นักกายภาพบำบัด 4 คนจากสถาบัน Durham Veterans Administration Medical Center ฝึกโดยประเมินการวัดด้วย Fugi – Meyer tests ประมาณ 1 ชั่วโมง ทดลองวัดจริงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 5 คน
2.วัดจริงโดยใช้ Fugi – Meyer tests 5 ครั้ง ได้แก่ ทดสอบทั้งหมด 3 ครั้งและอีก 2 ครั้งทดสอบแขนหรือขา
3.หาค่า intratester reliability ใช้นักกายภาพบำบัดคนเดียว วัดทั้งหมด 3 ครั้งเว้นระยะเวลาสัปดาห์ละ 1 ครั้งใช้เวลา 3 สัปดาห์ ส่วนการหาค่า intertester reliability โดยวัดวันเดียวกับครั้งที่ 2,3
4.แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 8 คน ทดสอบส่วนรวม 3 แบบทดสอบ และ 2 แขน ส่วนกลุ่มที่ 2 มี 10 คน ทดสอบส่วนรวม 3 แบบทดสอบ และ 2 ขา

ผลการวิจัย
1.ค่าที่วัดได้อยู่ในช่วง 50 ถึง 98 % มีค่าเฉลี่ยที่ 74 %
2.ค่า intratester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.001
3.ค่า intertester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.05

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบความน่าเชื่อถือของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ Fugl-Meyer Assessment ในผู้ป่วยโรคหลอดสมอง

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการลงรายละเอียดในการเลือกกลุ่มตัวอย่างไว้อย่างชัดเจน ในงานวิจัยได้ให้นักกายภาพบำบัดมาฝึกใช้แบบทดสอบ Fugi – Meyer tests เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งผลของค่า intratester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.001 แสดงว่านักกายภาพบำบัดมีค่าสัมประสิทธิ์ในการวัดโดยนักกายภาพบำบัด 1 คนพบค่าที่ได้สูง ส่วนค่า intertester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.05 แสดงว่านักกายภาพบำบัดมีค่าสัมประสิทธิ์ในการเปรียบเทียบในนักกายภาพบำบัดหลายคนมีค่าสูง แต่น้อยกว่าระหว่างการวัดโดยนักกายภาพบำบัดคนเดียว ซึ่ง แบบทดสอบ Fugi – Meyer tests เป็นแบบทดสอบที่เยอะและค่อนข้างยากในการประเมินให้ความคิดเห็นของนักกายภาพบำบัดไปในทิศทางเดียวกันหรือเหมือนกัน ดังนั้น เวลาที่ใช้ฝึกนักกายภาพบำบัด 1 ชั่วโมงน่าจะไม่เพียงพอ ในแง่เวลาอาจต้องให้เวลามากขึ้นและเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในการฝึกความพร้อมให้นักกายภาพบำบัดมากขึ้น

Inter- tester comparison between visual estimation and goniometric measurement of ankle dorsiflexion

ชื่องานวิจัย/บทความ
Inter- tester comparison between visual estimation and goniometric measurement of ankle dorsiflexion

แหล่งอ้างอิง
http://informahealthcare.com/doi/abs/10.3109/09593989809057153
สืบค้นคำว่า
Inter- tester, visual estimation, goniometric measurement, ankle dorsiflexor

วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ Inter- tester ระหว่างการวัดโดยใช้ visual estimation และอุปกรณ์วัดมุม goniometerของข้อเท้าขณะกระดกข้อเท้าขึ้น

ขั้นตอนการวิจัย
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 12 คน วัดค่ามุมการเคลื่อนไหวโดยเริ่มจากการใช้
visual estimation วัดมุมกระดกข้อเท้าขึ้นก่อน ต่อมาวัดด้วย goniometer

ผลการวิจัย
1.ค่าสัมประสิทธิ์ของ visual estimation เป็น 69.4 % และวัดด้วย goniometer เป็น 34.87%
2.มีความผิดพลาดของ visual estimation เป็น 11.1 % และค่าความผิดพลาดของ goniometer เป็น 5.5%

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ Inter- tester ระหว่างการวัดโดยใช้ visual estimation และอุปกรณ์วัดมุม goniometerของข้อเท้าขณะกระดกข้อเท้าขึ้น

วิเคราะห์วิจารณ์
จากการศึกษาหากต้องการวัดมุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าควรใช้ goniometer เป็นตัววัดเนื่องจากมีความน่าเชื่อถือมากกว่าและมีความผิดพลาดที่น้อยกว่า

สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึดษา

ชื่องานวิจัย/บทความ
สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึดษา

แหล่งอ้างอิง
http://www.thaiedresearch.org/thaied/index.php

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจชนิดและจำนวนของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา
2. เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา
3. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา
4. เพื่อศึกษาความต้องการ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ในโรงเรียนโสตศึกษา

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และครูฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน จำนวน 389 คน และนักเรียนที่พิการทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,232 คน ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทประจำ ซึ่งมีทั้งหมด 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเศรษฐเสถียร กทม. โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กทม. โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี จ.นนทบุรี โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดตาก โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และครูฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน จำนวน 73 คน ครูหรือเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องช่วยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนหูหนวก นักเรียน จำนวน 90 คน จาก 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนเศรษฐเสถียร กทม. โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี และ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา

ขั้นตอนงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. แบบสำรวจอุปกรณ์เครื่องช่วยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
2. แบบสำรวจข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ของครู ในโรงเรียนโสตศึกษา
3. แบบสำรวจข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ของนักเรียนพิการทางการได้ยิน

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1. แบบสำรวจอุปกรณ์เครื่องช่วยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน โดยสิ่งแบบสำรวจทางไปรษณีย์ไปยังโรงเรียนทั้ง 5 แห่ง ในช่วงเดือนสิงหาคม 2543
2.แบบสำรวจข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ของครูในโรงเรียนโสตศึกษา โดยให้ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และครูฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินทุกคนจากโรงเรียนตัวอย่าง กรอบแบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2543
3. แบบสำรวจข้อมูลการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ของนักเรียนพิการทางการได้ยิน โดยผู้วิจัยสัมภาษณ์นักเรียนตัวอย่าง ซึ่งจัดสัมภาษณ์เป็นกลุ่มย่อย ประมาณกลุ่มละ 3-4 คน อธิบายข้อคำถามในแต่ละข้อ ผ่านล่ามภาษามือซึ่งเป็นผู้ช่วยวิจัย บางส่วน ให้นักเรียนเป็นผู้กรอกเอง ส่วนในคำถามปลายเปิดนักเรียนเป็นผู้ตอบเป็นภาษามือ จากนั้นล่ามภาษามือ ซึ่งเป็นผู้ช่วยวิจัย ทำการแปลเป็นภาษาพูดให้ผู้วิจัยเพื่อเขียนคำตอบให้นักเรียนแต่ละคน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน สิงหาคม – กันยายน 2543

ผลการทดลอง
อุปกรณ์เครื่องช่วยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินที่มีการจัดบริการในทุกโรงเรียน ได้แก่ เครื่องช่วยฟังแบกกล่อง เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู เครื่องขยายเสียงระบบเอฟเอ็ม ห้องเรียนระบบสนามแม่เหล็กกระจกเงา คอมพิวเตอร์สอนพูด โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอเทป และวิทยุเทป โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี และได้รับจัดสรรด้วยเงินงบประมาณ ผู้รับผิดชอบดูแลส่วนใหญ่ คือ ครูประจำชั้น ผลการใช้เทคโนโลยีของครู พบว่า มีการนำโทรทัศน์ กระจกเงา เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหู และเครื่องเล่นวิดีโอเทปมาใช้ในระดับมาก และมีความต้องการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด เทคโนโลยีที่ทั้งนักเรียนหูตึง และนักเรียนหูหนวกใช้ในระดับมาก ได้แก่ ไฟสัญญาณ และโทรทัศน์ เทคโนโลยีนักเรียนหูตึงมีความต้องการมากที่สุด คือ อินเตอร์เน็ต รองลงมา ได้แก่ เครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหู และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เทคโนโลยีที่นักเรียนหูหนวกมีความต้องการมากที่สุด คือ ไฟสัญญาณ รองลงมาได้แก่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล วีดิทัศน์ที่มีล่ามภาษามือ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์สำหรับคนหูหนวก จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่ทั้งครูและนักเรียนส่วนใหญ่ประสบ คือ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ขาดแคลนงบประมาณในการจัดซื้อ และบำรุงรักษาเทคโนโลยี และจำนวนเทคโนโลยีไม่เพียงพอกับจำนวนและความต้องการของนักเรียน

วิเคราะห์งานวิจัย
1. โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนใช้ภาษามือไทยให้มากขึ้น เพื่อให้การสื่อสารกับนักเรียนเป็นไปอย่างชัดเจนและถูกต้อง
2. การให้บริการเครื่องช่วยฟังในโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบควรประสานงาน และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อจัดบริการให้แก่นักเรียนทุกคนอย่างเหมาะสม มีการตรวจสอบระดับการได้ยินของนักเรียนเป็นประจำทุกปี จัดทำพิมพ์หูให้มีขนาดพอดี และหมั่นตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานของเครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอ
3. ครูควรกระตุ้นผู้ปกครองของนักเรียนให้เกิดความสนใจและเห็นความสำคัญของการใช้เครื่องช่วยฟัง และจัดหาเครื่องช่วยฟังให้กับนักเรียนตามสิทธิของคนพิการที่พึงได้รับจากรัฐบาลตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
4. ครูควรกระตุ้นให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญและเอาใจใส่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นักเรียนใช้ และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฝึกฟัง – ฝึกพูด ให้กับนักเรียนที่บ้าน

ประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อเสนอที่ควยนำไปพัฒนาต่อยอดดังนี้
1. ควรทำการศึกษาความรู้และทัศนคติ ของครูและนักเรียนพิการทางการได้ยิน ในการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินเฉพาะอย่าง เพื่อได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคจากการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างแท้จริง
2. ควรศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีเฉพาะอย่าง ความพึงพอใจ และประเมินผลจากการใช้ในการพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียน
3. ควรทำการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้เครื่องช่วยฟังในนักเรียนหูตึงและนักเรียนหูหนวก เพื่อให้มีการจัดบริการเครื่องช่วยฟังให้แก่นักเรียนหูหนวกมากขึ้น
4. ควรศึกษาปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและตรงตามความเป็นจริง เพื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการของนักเรียนพิการทางการได้ยินเกี่ยวกับการจัดบริการเทคโนโลยีในโรงเรียนครบทุกระดับชั้น
5. ควรทำการศึกษาความรู้และอิทธิพลของผู้ปกครองต่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนไป-กลับ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงผลของครอบครัวต่อการใช้เทคโนโลยีของนักเรียน

The Walker Team Product Design Proposal

ชื่องานวิจัย/บทความ
The Walker Team Product Design Proposal

แหล่งอ้างอิง
bme227.pratt.duke.edu/downloads/S06/Walker_Proposal.pdf

วัตถุประสงค์
- วัดแรงกดของมือทั้งสองข้างขณะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
- การปรับระดับความสูงของระดับมือจับ หรือน้ำหนักของอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะแก่การใช้งานสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
- ศึกษาผลที่พบจาก K Lab motion analysis
- การปรับระดับ walker ที่หลากหลาย

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน

ขั้นตอนงานวิจัย
1. ศึกษาภาวะโรคกรดูกพรุนโรคกระดูกพรุนนั้นคือการเปลี่ยนแปลงไปของกระดูกพบมากและมีโอกาสเสี่ยงที่จะล้ม และสืบเนื่องถึงกระดูกหักได้ ทำให้ต้องใส่ใจถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินช่วยเพื่อป้องกันการล้ม
2. ศึกษาการใช้งานของอุปกรณ์ walker การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินนี้ต้องคำนึงถึงแรงต่างๆที่
กระทำต่ออุปกรณ์ช่วยพยุง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยแก่การใช้งานนั่นเอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนทั้งสองข้าง ความสามารถในการลงน้ำหนักของขาทั้งสองข้าง องศาการเคลื่อนไหวของ ไหล่ ข้อศอก และข้อมือ
3. เป้าหมายการใช้งานการออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดินนั้นต้องคำนึงถึงแรงกดที่มือจับเพื่อความ
ปลอดภัย การง่ายต่อการใช้งาน การง่ายต่อการทำความสะอาด
4. ศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อความปลอดภัย ที่รองผิวสัมผัสพื้นของอุปกรณ์ช่วย
เดิน และมือจับ ดังนี้
- แรงกดที่มือ portable sleeve cantilever handle เป็นวัตถุประสงค์หลักใน
การออกแบบ เพราะเป็นตัวรับน้ำหนักซึ่งมีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการใช้งาน การออกแบบนั้นจึงต้องคำนึงถึงสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันคือ การออกแบบและวัสดุที่นำมาใช้งาน
- ที่รองผิวสัมผัสพื้นของอุปกรณ์ช่วยเดิน ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยรับแรงกดที่ผู้ใช้
กระทำต่ออุปกรณ์ช่วยเดิน และส่งผลไปยังพื้น
- การออกแบบมือจับนั้นต้องคำนึงถึงแรงกด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมือจับ
ความหนืดของมือผู้ใช้และอุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อไม่ให้ลื่นหลุดมือ
สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกระหว่างความแตกต่างของการออกแบบและห้าข้อจำกัดนั้นเป็นตัวที่ใช้ในการตัดสินใจ
ปัจจัยที่ 1 ความเป็นได้ในการใช้งาน ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้งาน วัสดุอุปกรณ์ คำนึงถึง 25 %
ปัจจัยที่ 2 การออกแบบนั้นต้องสามารถใช้ได้กับทุกคนไม่คำนึงแต่การใช้งานของคนปกติเท่านั้น คำนึงถึง 25 %
ปัจจัยที่ 3 คือ ส่วนของราคาค่าใช้จ่าย คำนึงถึง 20 %
ปัจจัยที่ 4 คือ ส่วนของน้ำหนักเบา สะดวกในการขนย้าย และการใช้งานคือผู้ที่มีปัญหาอ่อนแรงขาสองข้างสามารถยืนยกอุปกรณ์ช่วยเดินได้ คำนึงถึง 15 %
ปัจจัยที่ 5 คือ ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อให้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินนั้นรับแรงได้ทุกทิศทาง คำนึงถึง 15 %

ผลการทดลอง



จากตารางพบว่า
1. การใช้ force pad นั้นได้คะแนน 655 จาก 1000 การออกแบบนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเล็กน้อย
2. การใช้ walker leg sensor designed ได้คะแนน 645 จาก 1000 การออกแบบโดยใช้สัญญาณนั้น ส่วนผลต่อการเดินและการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินให้ดีขึ้นนั้นได้คะแนนค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และการติดตั้งที่อุปกรณ์ช่วยเดินนั้น ยากในการติดตั้ง จึงมีผลต่อผู้ใช้ค่อนข้างน้อย
3. การใช้ Instrumented Walker Frame ได้คะแนน 525 จาก 1000 เป็นการออกแบบที่ได้คะแนนต่ำสุด เนื่องจากยากในกระบวนการติดตั้งค่อนข้างยาก และการใช้งานนั้นไม่ส่งผลให้การใช้งานดีขึ้น
4. การใช้ portable sleeve - embedded sensors ได้คะแนน 810 จาก 1000 ได้คะแนนค่อนข้างสูงเนื่องจาก มีการติดตั้งสัญญาณที่ค่อนข้างเล็ก ง่ายต่อการติดตั้งและสะดวกต่อการใช้งาน
5. การใช้ the portable sleeve with the cantilever handle (PSCH) ได้คะแนน 890 จาก 1000 ได้คะแนนสูงที่สุดเนื่องจาก มีความเป็นไปได้สามารถใช้งานได้จริง สามารถติดตั้งได้ทุกที่ สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคลจึงส่งผลให้สามารถปรับการเดินได้ดีขึ้น ราคาในการติดตั้งไม่สูง

วิเคราะห์งานวิจัย
- เป็นการเปรียบเทียบอุปกรณ์มือจับแต่ละชนิดที่ออกแบบมาทั้ง 5 แบบ
- ไม่มีการคัดกรองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง
- ไม่มีจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลอง

ประโยชน์ที่ได้รับ
- นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์มือจับในอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน

Thursday, August 12, 2010

Effect of a single of prolonged muscle stretch on spastic muscle of stroke patients

ชื่องานวิจัย/บทความ
Effect of a single of prolonged muscle stretch on spastic muscle of stroke patients

แหล่งอ้างอิง
http://www.ncbi.nlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th
สืบค้นคำว่า prolong stretch, spastic, stroke

วัตถุประสงค์
ศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อค้าง 1 ครั้งในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 17 คน อายุ 33 ถึง 79 ปี มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)
ของขา สามารถช่วยขยับข้อเท้ากระดกข้อเท้าขึ้นได้ที่ 0 องศา ไม่มีอาการปวด และไม่เคยมีประวัติโรคทางระบบประสาทมาก่อน

ขั้นตอนการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างได้ทดสอบโดยการยืนบนเตียงปรับระดับได้ ปรับมุม 85 องศา 30 นาที โดยวัดค่าก่อนทำ หลังทำและหลังทำแล้ว 45 นาที
2.วัดค่า 4 ค่า ดังนี้
1.วัดกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) โดยผู้มีประสบการณ์ในการรักษา
2.วัดมุมการเคลื่อนไหวโดยการใช้ goniometer
3.ใช้ EMG ให้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท tibial วัดค่าสูงสุดของ H reflex ในกล้ามเนื้อ soleus ดูเปอร์เซ็นต์ของ M response (H/M ratio)
4.ใช้ EMG ให้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท deep peroneal วัดค่า F wave ในกล้ามเนื้อ tibialis anterior ดูเปอร์เซ็นต์ของ M response (F/M ratio)

ผลการวิจัย
1.พบมีภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ plantarflexor ลดลง จากการวัดโดยใช้ MAS. โดยก่อนทดสอบได้ 2 ± 0.9, หลังทดสอบได้ 1.2 ± 0.4 และหลัง 45 นาที เป็น 1.5 ± 0.9 (p > 0.05)
2.มุมข้อเท้าเพิ่มสูงสุดหลังทำ ซึ่งก่อนทดสอบได้ 15.1 ± 7.5, หลังทดสอบได้ 20.2 ± 6.4 และหลัง 45 นาที เป็น 16.0 ±6.7 (p < 0.05)
3.ค่า H/M ratios ลดลง ก่อนทดสอบได้ 42.8% ± 22.3%, หลังทดสอบได้ 29.2% ± 17.3% และหลัง 45 นาที เป็น 28.5% ± 20.7%
4.ค่า F/M ratios ลดลง ก่อนทดสอบได้ 5.4% ±3.3%, หลังทดสอบได้ 11.8% ± 8.6%

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงผลของการยืดกล้ามเนื้อค้าง 1 ครั้งในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการนำเสนอผลสรุปไว้ละเอียดและเข้าใจง่ายแสดงความน่าเชื่อถือไว้อย่างชัดเจน แต่ในกลุ่มตัวอย่างและวิธีการวิจัย ไม่ค่อยละเอียด ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น กรณีมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งน่าจะมีการกำหนดระดับกล้ามเนื้อหดเกร็งไว้อย่างชัดเจนและไม่บอกท่าทางของกลุ่มตัวอย่างขณะวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งและวัดมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้า ซึ่งในการวัดท่าที่แตกต่างกันย่อมมีผลที่แตกต่างกัน

The relation between Ashworth scores and neuromechanical measurements of spasticity following stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
The relation between Ashworth scores and neuromechanical measurements of spasticity following stroke

แหล่งอ้างอิง
http://www.ncbi.nlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th
สืบค้นคำว่า Ashworth scores, neuromechanical measurements, stroke

วัตถุประสงค์
1.ศึกษาความสัมพันธ์ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่นของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) การวัดโดยใช้เครื่อง joint stretching motor device ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะข้อติด

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 34 คน เข้าร่วมศึกษาวัดผลที่ข้อเท้า 20 คน เข้าร่วมศึกษาวัดผลที่ข้อศอก 14 คน โดยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยนอกของ rehabilitation Institute of Chicago (RIC)
มีเงื่อนไขดังนี้
1.ภาวะทางโรคประจำตัวคงที่ (medical condition)
2.ไม่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการพูดและไม่มีความบกพร่องทางการความจำ การับรู้ (cognitive)
3.ไม่มีปัญหาทางด้านการสั่งการและด้านการรับรู้ความรู้สึกในแขนและขาด้านที่ไม่มีอาการอ่อนแรง
4.ไม่มีปัญหากล้ามเนื้อฝ่อรุนแรงและปัญหาบกพร่องการรับรู้ความรู้สึกรุนแรงในแขนและขาด้านอ่อนแรง
5.มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็งมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

ขั้นตอนการวิจัย
1.การวัดค่ากล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ MAS เป็นการวัดโดยใช้นักกายภาพบำบัดผู้ที่ได้รับการฝึกและมีประสบการณ์การวัดโดยใช้ MAS มาหลายปี ช่วยขยับข้อต่อ ดูมุมการเคลื่อนไหวและการวัดแรงต้านขณะช่วยขยับข้อให้
2.แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตำแหน่ง โดยใช้เครื่อง joint stretching motor device วัดค่าตำแหน่งข้อต่อโดย potentiometer วัดค่าแรงหมุนต้านเกร็ง (torque) โดยใช้ 6- degree of freedom load cell และวัดความเร็วโดยใช้ tachometer
3.ใช้ EMG ติดที่ข้อเท้าในตำแหน่งกล้ามเนื้อ tibialis anterior และด้านข้างกล้ามเนื้อ gastrocnemius ส่วนติดที่ข้อศอกในตำแหน่งกล้ามเนื้อ biceps triceps และ brachioradialis

ผลการวิจัย
1.แรงต้านเพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเท้า พบแรงต้านขณะทำกระดกข้อเท้าขึ้นเท่านั้น
2.กราฟของค่า peak – reflex torque และ reflex gain ในกลุ่มที่มีค่า MAS = 1 มีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มที่มีค่า MAS= 2
3.ค่า intrinsic stiffness (K) และ reflex stiffness (G) ซึ่งเกิดจาก elbow flexor reflexs และ ankle plantarflexor reflex มีความสัมพันธ์กับภาวะข้อติด
4.ในการทดสอบทั้งข้อศอกและข้อเท้าพบว่า ในการทดสอบด้านอ่อนแรงมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่า intrinsic stiffness (K) และ reflex stiffness (G) มากกว่าด้านที่ไม่มีอาการอ่อนแรง
5.การวัดโดยใช้ เครื่อง joint stretching motor device และการวัดโดยใช้ MAS ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ทราบถึงความสัมพันธ์ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่นของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) การวัดโดยใช้เครื่อง joint stretching motor device ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะข้อติด

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการระบุขั้นตอนการวิจัยไว้ละเอียด แต่ระบุเงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างไม่ชัดเจน เช่น ในเรื่องที่ระบุว่าในกลุ่มตัวอย่างต้องไม่มีปัญหากล้ามเนื้อฝ่อรุนแรงและปัญหาบกพร่องการรับรู้ความรู้สึกรุนแรงในแขนและขาด้านอ่อนแรง แต่ไม่มีการระบุเกณฑ์วัดและไม่ได้ระบุระดับของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยมีความคลาดเคลื่อนได้

Reliability of the Fugl-Meyer Assessment for Testing Motor Performance in Patients Following Stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
Reliability of the Fugl-Meyer Assessment for Testing Motor Performance in Patients Following Stroke

แหล่งอ้างอิง
http://ptjournal.apta.org/cgi/reprint/73/7/447.pdf
สืบค้นคำว่า FuglMeyer assessment, Motor performance, Reliability, Stroke

วัตถุประสงค์
ศึกษาหาค่าความน่าเชื่อถือของการตรวจร่างกายทางกายภาพในโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้แบบประเมิน Fugl-Meyer

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 12 คน เป็นผู้ชาย 7 คน เป็นผู้หญิง 5 คน อายุ 49-86 ปี มีเงื่อนไขดังนี้
1.เป็นผู้ป่วยในของ Chedoke-McMaster Rehabilitation Centre มา 6 วัน
2.เป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 6 เดือน

ขั้นตอนการวิจัย
1.ใช้นักกายภาพบำบัดจำนวน 3 คน ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เป็นผู้ประเมินโดยใช้แบบประเมิน Fugl-Meyer วัดห่างกัน 30 นาที
2.กลุ่มตัวอย่างได้ทำโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทุกวัน โดยทีมสหวิชาชีพ ระยะเวลา 10 สัปดาห์

ผลการวิจัย
1.มีค่าความน่าเชื่อถือสูง (intraclass correlation coefficient=.96)
2.มีค่าความน่าเชื่อถือสูงของการแยกประเมินในภาวะปวด (intraclass correlation coefficient=.61)
3.มีค่าความน่าเชื่อถือสูงของการแยกประเมินในส่วนของแขน (intraclass correlation coefficient=.97)
4.กลุ่มตัวอย่างสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ภาวะบกพร่องมาก(severe impairment) 3 คน ; ภาวะบกพร่องชัดเจน (marked impairment) 4 คน,ภาวะบกพร่องปานกลาง (moderate impairment) 4 คน. และภาวะบกพร่องน้อย 1 คน

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงค่าความน่าเชื่อถือของการตรวจร่างกายทางกายภาพในโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้แบบประเมิน Fugl-Meyer

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี ระบุกลุ่มตัวอย่างได้ชัดเจน แต่อธิบายถึงขั้นตอนการทำวิจัยไม่ละเอียด ได้แก่ ระยะเวลาที่มาทำการวัด ท่าทางการวัด ช่วงเวลาที่วัดต้องเป็นเวลาเดียวกัน

Prevalence and Management of Poststroke Spasticity in Thai Stroke Patients: A Multicenter Study

ชื่องานวิจัย
Prevalence and Management of Poststroke Spasticity in Thai Stroke Patients: A Multicenter Study

แหล่งอ้างอิง
http://www.ejournal.mahidol.ac.th หรือ J Med Assoc Thai Vol.92 No.10 2009
สืบค้น
คำว่า Muscle spasticity, Prevalence, Risk factors, Stroke, Therapy

วัตถุประสงค์
พื่อศึกษาความชุก การรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิด
โรคหลอดเลือดสมองที่กล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม คือ กล้ามเนื้องอศอกและกล้ามเนื้องอเข่า

กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยจำนวน 327 คน เป็นผู้ชาย 193 คน เป็นผู้หญิง 134 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพตามมาตรฐานจนกระทั่งถึงเป้าหมายของการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือเกณฑ์จำหน่ายตามที่กำหนดไว้
2. อาสาสมัครคนปกติ 191 คน

ขั้นตอนการวิจัย
1. ศึกษาทะเบียนโรคหลอดเลือดสมองแบบสหสถาบัน ณ 9 โรงพยาบาลในประเทศไทย
2. ทำการวัดการฟื้นตัวของระบบประสาทด้วย Brunnstrom motor recovery
3. วัดความพร่องสมรรถภาพด้วยแบบประเมิน Barthel
4. วัดสมรรถภาพสมองด้วยแบบประเมินThai Mental State Examination (TMSE)
5. วัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งด้วยแบบประเมิน Modified Ashworth Scale (MAS)
6. วัดคุณภาพชีวิตประเมินด้วยแบบสอบถาม WHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทย
7. บันทึกการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งทุกชนิดที่ผู้ป่วยได้รัับ

ผลการวิจัย
1. ค่าความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเท่ากับร้อยละ 41.6 โดยความชุกของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกและกล้ามเนื้องอเข่าหดเกร็งเท่ากับร้อยละ 31.2 ส่วนความชุกของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกและงอเข่าหดเกร็งเพียงข้อเดียว เท่ากับ 4.9 และ 5.5 ตามลำดับ ส่วนมากพบภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ระดับ MAS grade 1
2. ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีระยะเวลาของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองนานกว่า (p = 0.049) เมื่อเทียบกับระดับมาตราฐานของ Brunnstrom motor recovery stage โดยของแขน (p < lang="TH">มือ (p = 0.003) และขา (p < lang="TH">ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง คือ Brunnstrom motor recovery stage 2 และ 3 ของแขน
4. ค่า odds ratio เท่ากับ 6.1 (95% CI = 2.5-14.9) และ 3.5 (95% CI = 1.3-9.2) ตามลำดับ
5. มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 83 ราย (ร้อยละ 25.4) ที่ได้รับการรักษาภาวะกล้ามเนื้อ หดเกร็ง โดยการออกกำลังกาย รับประทานยาลดเกร็ง และใช้อุปกรณ์เสริมเป็นการรักษา 3 ลำดับแรกที่ผู้ป่วยได้รับ บ่อยที่สุดตามลำดับ

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงความชุก การรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิด
โรคหลอดเลือดสมองที่กล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม คือ กล้ามเนื้องอศอกและกล้ามเนื้องอเข่า

วิเคราะห์วิจารณ์

เป็นงานวิจัยที่ดี จากผลการวิจัยกล่าวได้ว่า การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมักเกิดในกล้ามเนื้อหลาย ๆมัดมากกว่าเกิดแยกมัด และงานวิจัยได้กำหนดเงื่อนไขของกลุ่มตัวอย่างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ไม่ชัดเจน เช่น ไม่บอกความต้องการในเงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างมีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งระดับไหน มุมการเคลื่อนไหวของข้อศอกและข้อเข่าอยู่ในช่วงเท่าไร การสื่อสารเข้าใจในกรณีต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม

Walker-Assisted Gait in Rehabilitation: A Study of Biomechanics and Instrumentation

ชื่องานวิจัย/ บทความ
Walker-Assisted Gait in Rehabilitation: A Study of Biomechanics and Instrumentation

แหล่งอ้างอิง
http://ieeexplore.ieee.org/xpls/abs_all.jsp?arnumber=918282

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อแขนในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (walker)

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
1. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 7ท่าน ชาย 4ท่าน หญิง 3 ท่าน
2. ผู้เข้าร่วมอายุ 27.9 ± 7.5 ปี
3. น้ำหนัก 74.8 ± 24.4 กิโลกรัม
4. ส่วนสูง 174 ± 6.4 เซ็นติเมตร
5. ไม่มีการผ่าตัดที่ขาส่วนล่าง
6. พยาธิสภาพที่ขา
7. ไม่มีการจำกัดของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ขั้นตอนงานวิจัย
1. คัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัย
2. ศึกษาจากล้องsix-camera Vicon motion analysis system using a Micro-VAX 3100
3. โดยการติดmarkers ที่ landmark สำคัญที่แขน
4. การลงน้ำหนักของขาที่ 0% , 10% และ 50% ของน้ำหนักตัว

ผลการทดลอง

ผลการทดลองพบว่าการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ข้อศอกและข้อมือซึ่งเปลี่ยนไปตาม cycle ของการใช้ walker จากท่าลุกนั่ง ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่ายกแขนมาด้านหน้าและ เหยียดไปด้านหลัง อยู่ในช่วง 35 องศา และ 5 องศา ตามลำดับ
2. การเคลื่อนไหวของศอกในท่างอศอกด้านหน้า อยู่ในช่วง10- 30 องศา
3. การเคลื่อนไหวของข้อมือในท่ากระดกขึ้น 20-40 องศา
4. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่ากางแขนออก อยู่ในช่วง 4-8 องศา
5. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่าหมุนแขนเข้าด้านใน อยู่ในช่วง 0-15 องศา
6. การเคลื่อนไหวของศอกในการคว่ำและหงายมือ อยู่ในช่วง5 องศา และ 5 องศา ตาลำดับ
7. การเคลื่อนไหวของข้อมือในท่าเอียงมือขึ้นลง อยู่ในช่วง 0 องศา และ 10 องศาตามลำดับ

วิเคราะห์งานวิจัย
1. เป็นงานวิจัยที่ระเอียดในการคัดกรองดี
2. นำมาประยุกต์ได้น้อยเนื่องจากมีแรงกดต่างกันในผู้สูงอายุ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ออกแบบอุปกรณ์ อุปกรณ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย

2. การออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ย ออกแรงไม่มาก และสามารถใช้ได้ทุกคน ดดยมีข้อจำกัดน้อย

EVALUATION OF THE STABILITY OF SIT-TO-STAND

ชื่องานวิจัย/บทความ
EVALUATION OF THE STABILITY OF SIT-TO-STAND

แหล่งอ้างอิง
http://mandh2007.upol.cz/www/download/full_paper_example.pdf

วัตถุประสงค์
1.
เพื่อศึกษาการลุกขึ้นยืนจากการนั่งเก้าอี้
2.
เพื่อศึกษาความแตกต่างของลุกขึ้นยืนในแต่ละข้าง
3.
มุมของข้อสะโพก ข้อเข่า เป็นต้น

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
1. เพศหญิง 21 คน สุขภาพดี
2.
อายุ 24±4 ปี
3.
น้ำหนัก 61±15 กิโลกรัม
4.
ส่วนสูง 168.5±11.5 เซ็นติเมตร
5. ไม่มีการบาดเจ็บของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

ขั้นตอนงานวิจัย
1. คัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัย
2. ด้วยเครื่อง 3D videography analysis (APAS)
3. โดยการติด 22 markers ที่ landmark สำคัญ

ผลการทดลอง



1.
มุมในการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ในร่างกายไม่มีความแตกต่างกันของขาทั้ง
2 ข้าง

วิเคราะห์งานวิจัย
เป็นงานวิจัยที่คัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ดี เพื่อนำมาศึกษาต่อยอดจากสิ่งที่มี

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงมุมการทำงานของขา
2. เพื่อพัฒนาออกแบบอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการลุก โดยที่ไม่ยากเท่าเดิม

How to quantify knee function after total knee arthroplasty ?

ชื่องานวิจัย/บทความ
How to quantify knee function after total knee arthroplasty ?

แหล่งอ้างอิง
http://dare.ubn.kun.nl/dspace/bitstream/2066/74939/1/74939.pdf

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการทำงานของเข่าหลังมีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
2. ศึกษาเปรียบทียบโดยใช้วิธีแบบทดสอบและการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของข้อเข่า

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
1. ผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามาอย่างน้อย 16 เดือน
2. ผู้ที่เปลี่ยนข้อเข่า จำนวน 28 คน และคนสุขภาพดี 31 คน เป็นคนที่ออกกำลังกายด้วยการ ตี tennis วิ่งและที่ชมรมจักรยานเสือภูเขา โดยไม่มีการบาดเจ็บที่เข่าหรือขาก่อน
3. โดยทั้ง 2 กลุ่มมีเพศ อายุ และBMI อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

ขั้นตอนงานวิจัย
1. คัดกรองจากแบบสอบถาม The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and Knee Society Score (KSS)
2. ใช้การทดสอบ sit to stand movement โดยเก้าอี้นั้นออกแบบเป็นพิเศษ โดยไม่มีที่ท้าวแขน มีความลึกและกว้างให้พอเหมาะ โดยมุมข้อเข่าด้านหลัง 90 องศา
3. ใช้การทดสอบ Maximal Isometric Contraction (MIC) ต้านแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการงอและการเหยียดขา รวม 4 ครั้งโดยเทียบซ้ายขวา
4. ใช้การทดสอบ Timed-up-and-Go (TUG) โดยการจับเวลาลุกจากเก้าอี้โดยมีที่ท้าวแขน เดินระยะทาง 3 เมตร หมุนตัวและเดินกลับ มานั่ง
5. ใช้การทดสอบ Functional content validity โดยการให้ทำกิจกรรมต่างๆโดยทดสอบควบคู่กับการให้คะแนนความเจ็บปวด โดยคะแนนอาการปวดต้องไม่เกิน 5/10

ผลการทดลอง
1. จากแบบสอบถาม The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and Knee Society Score (KSS) พบว่า


กลุ่มผู้ที่มีสุภาพดีจะมีความสามารถในการทำกิจกรรมดำรงชีวิตที่ดีกว่าผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

2. จากการทดสอบ sit to stand movement พบว่ามีองศาการเคลื่อนไหวน้อยกว่าคนสุขภาพดีทั้งข้อสะโพก ข้อเข่า แต่องสาการเคลื่อนไหวของข้อเท้าไม่แตกต่าง
3. จากการทดสอบ Timed-up-and-Go (TUG) พบว่าผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีการใช้เวลาในการทดสอบมากกว่าคนสุขภาพดี



4. จากการทดสอบ Maximal Isometric Contraction (MIC) พบว่าผู้ที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีกำลังกล้ามเนื้อที่น้อยกว่าขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แต่กำลังกล้ามเนื้อขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดนั้นแข็งแรงกว่าคนสุขภาพดี


วิเคราะห์งานวิจัย
- เป็นงานวิจัยที่ละเอียด มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ชัดเจน
- มีการทดสอบการทดลองที่หลากหลายเป็นมาตราฐานเพื่อยืนยันในเรื่องเดียวกัน

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ผู้ที่เปลี่ยนข้อเข่ามีการทำงานของเข่าลดลงไปจากคนทั่วไป ซึ่งเป็นข้อที่ควรทราบในการคัดกรองเข้าร่วมงานวิจัย
- เป็นการทดลองเปรียบเทียบเพื่อยืนยันในสิ่งเดียวกัน

Tuesday, August 10, 2010

Electromyographic and Cinematographic Analysis of Movement horn a Kneeling to a standing Position in Healthy 5- to 7-Year-Old Children

ชื่องานวิจัย/บทความ
Electromyographic and Cinematographic Analysis of Movement horn a Kneeling to a standing Position in Healthy 5- to 7-Year-Old Children

แหล่งอ้างอิง
Physical Therapy Vol.71 No.1 Jan 1991

วัตถุประสงค์
-เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อขาที่ใช้ในการลุกขึ้นจากพื้นสู่ท่ายืนของเด็กปกติ อายุ 5-7 ปี
-เพื่อศึกษามุมของข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้าที่เปลี่ยนไป

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
-เด็กสุขภาพแข็งแรงอายุ 5.2 to 7.9 ปี จำนวนหญิง 6 คน ชาย 4 คน
-น้ำหนัก 15.6 – 25 กิโลกรัม
-สูง 108 – 127 เซ็นติเมตร

ขั้นตอนงานวิจัย
1.ติดอุปกรณ์ electrodes ขนาก 4 มิลลิเมตร ที่ 4 มัดกล้ามเนื้อที่ต้องการศึกษา
2.ดูเครื่อง Vanguard Motion Analyzer
3.และติดLandmark ตรงบริเวณ
1.greater trochanter
2. femur ห่างจาก greater trochanter 5 เซ็นติเมตร
3. มุมในการหมุนข้อเข่า
4. มุมข้อเท้าด้านนอก
5. นิ้วเท้านิ้วที่ 5 ของฝาเท้า
6. มุมระหว่าง ASIS และ PSIS
7. Crest of the ilium
8. กึ่งกลางระหว่าง รักแร้กับ Crest of the ilium
9. ไหล่ข้างเดียวกันกับขาที่จะตรวจ
10. หูด้านหน้า
4.ส่งเสียงเป็นสัญญาณเตือน
1. พร้อมยืนค่ะ คือเด็กตั้งขาขึ้น
2. ลุกยืนค่ะ คือเด็กลุกสู่ท่ายืน
5.นำผลที่ได้มาคำนวณและแปรค่า

ผลการทดลอง





1.จากท่านั่งพื้นสู่ท่ายืนนั้นกล้ามเนื้อที่ทำคือ กล้ามเนื้อ tibialis anterior และกล้ามเนื้อ biceps femoris เป็นกล้ามเนื้อหลักที่ทำงานตลอดช่วงการเคลื่อนไหว ส่วนกล้ามเนื้อ gastrocnemius และ rectus femoris muscles ทำแค่บางช่วงของการเคลื่อนไหว
2.ความสัมพันธ์ในการทำงานของมุม สะโพก เข่า และข้อเท้า ของแต่ละช่วงการเคลื่อนไหว


วิเคราะห์งานวิจัย
1.มีการคัดกรองกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ดี
2.มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้วัดได้อย่างเหมาะสม
3.มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยค่อนข้างน้อย

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ความสัมพันธ์ของมุมของข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเคลื่อนไหวต่างๆ
2.ทราบการทำงานของกล้ามเนื้อขาที่ใช้ในการลุกขึ้นจากพื้นสู่ท่ายืนของเด็กปกติ อายุ 5-7 ปี
3.ประยุกต์ใช้ในการทำงานการทำงานของกล้ามเนื้อขา ในลักษณะนั่งพื้นไปยืน
4.สามารถนำมาพัฒนาออกแบบอุปกรณ์ช่วยยืนได้

Saturday, July 31, 2010

การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้

ชื่องานวิจัย/บทความ
การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้
The Operation of Provincial Special Education Centers in Southern Region

แหล่งอ้างอิง
ชื่อผู้วิจัย นายวิรัช กล้าหาญ
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Mr. Wirach Klaharn
การศึกษามหาบัณฑิต เอกการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล 133 หมู่ 2 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
ปี พ.ศ. 2549
http://www.thaiedresearch.org

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้
2.เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ
3.เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด

กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติงานในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ และผู้ปกครองเด็กพิการ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 337 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 15 คน ครู จำนวน 72 คน และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 250 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน

ขั้นตอนการวิจัย

สมมุติฐาน
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการการศึกษาแก่เด็กพิการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการมีการดำเนินงานทุกด้าน แตกต่างกัน

กรอบแนวคิด
กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดการบริหารการจัดการเรียนร่วมของ เบญจา ชลธาร์นนท์ (2546 : 3–6) ซึ่งจำแนกรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนร่วมไว้ 4 ด้าน ได้แก่
1.ด้านนักเรียน (S–Students)
2.ด้านสภาพแวดล้อม (E- Environment)
3.ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A- Activities)
4.ด้านเครื่องมือ (T- Tools)
โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดดังกล่าวมาบูรณาการกับบทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2543: 4)

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูที่ปฏิบัติงานในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 2,197 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 24 คน ครู จำนวน 96 คน และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 2,077 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำแนกเป็น
1.ศูนย์ที่จัดบริการการศึกษาครบทุกประเภทความพิการ และ
2.ศูนย์ที่จัดบริการการศึกษาไม่ครบทุกประเภทความพิการ
ตัวแปรตาม ได้แก่ การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำแนกเป็น 4 ด้านได้แก่
2.1 ด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการ
2.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ
2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ และ
2.4 ด้านการจัดให้มีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ

เครื่องมือ ( tool )
เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .97

การรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ ในระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 แบบสอบถามส่งไปจำนวน 337 ฉบับ ได้รับคืนมา จำนวน 337 ฉบับ แบบสอบถามได้คืน คิดเป็นร้อยละ 100

การวิเคราะห์
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้การหาค่าร้อยละ
2.การดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.เปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ โดยใช้การทดสอบค่าที
4.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่

ผลการวิจัย
1.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้มีการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ มีการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการ และด้านการจัดให้มีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ส่วนด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการมีการดำเนินการไม่แตกต่างกัน
3.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ ควรจัดหาครูสอนเด็กพิการเฉพาะด้านให้เพียงพอ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ ครูกายภาพบำบัด ครูกิจกรรมบำบัด เป็นต้น ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทำตารางกิจกรรมการฟื้นฟูเด็กพิการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองสามารถนำเด็กพิการเข้ารับการฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่อง และควรจัดหาสื่อ อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับเด็กพิการแต่ละประเภทให้เพียงพอ ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยซึ่งพบว่าศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้มีการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา ค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน ปรากฏว่าด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่นๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1ข้อเสนอแนะสำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ โดยเน้นในเรื่องในการจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งโทรศัพท์ภายในอาคารให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท การจัดทำทางลาดเพื่อให้คนพิการทางร่างกายสามารถนำเก้าอี้ล้อเลื่อนเข้าสู่อาคาร หรือห้องเรียนได้ การจัดทำประตูที่เหมาะสมกับความพิการ การจัดทำทางเดิน ทางเชื่อม และกำหนดจุดจอดรถรับส่งคนพิการใกล้กับทางเข้าออกตัวอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการ ซึ่งรายการเหล่านี้ปรากฏว่าศูนย์มีการดำเนินการอยู่ในระดับต่ำกว่ารายการอื่นๆ
1.2ข้อเสนอแนะสำหรับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนำไปพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดให้สอดคล้องกับลักษณะและประเภทความพิการมากยิ่งขึ้น

การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

ชื่องานวิจัย/บทความ
การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
The Study of Attitudes of Instruction and Students Towards the Hearing Impairment Students and The Mainstrering Projects At Thanalongkorn Center, Rajabhat Institute Suan Dusit.

แหล่งอ้างอิง
ชื่อผู้วิจัย นายไพรวัลย์ แสงสุนทร
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Mr. Paiwan Saengsoonthon
ปริญาญาโท สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
http://www.thaiedresearch.org

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
2. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกาณ์ สถาบัน ราชภัฏสวนดุสิต

กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในศูนย์ธนาลงกาณ์และนักศึกษาภาคปกติซึ่งเรียนอยู่ศูนย์ธนาลงกรณ์ ปีการศึกษา 2543 รวมทั้งสิ้น 264 คน

ขั้นตอนการวิจัย
ความเป็นมา
แนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะจัดการศึกษาในลักษณะของการเรียนร่วม โดยจัดให้บุคลที่มีความบกพร่องเข้าเรียนร่วมในห้องเรียนเดียวกันกับเด็กปกติ และพยายามมุ่งจัดในลักษณะการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) คือ การจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนได้ศึกษาในระบบเดียวกัน โดยไม่แยกว่าเด็กพิการต้องไปอยู่ในสถานศึกษาเฉพาะ รวมทั้งเด็กนั้นต้องได้รับการสนับสนุนทุกด้าน ทั้งด้านการแพทย์ กึ่งแพทย์ วิชาการ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2543 : 2)
การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการจะสำเร็จหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะเจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งเป็นการจัดเรียนร่วมในระดับอุดมศึกษา


คำนิยาม
1. เจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนร่วม หมายถึง ท่าที ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการของบุคคลที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเต็มเวลา ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมีทั้งด้านบวก ได้แก่ อยากสนับสนุน อยากช่วยเหลือ ตระหนักในความจำเป็น และความสำคัญในการให้การศึกษาแก่คนเหล่านี้ ความเชื่อในการพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพของคนเหล่านี้ ควรตระหนักในความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนปกติ ความรู้สึกในด้านลบ คือ ตรงข้ามกับด้านบวกและความรู้สึกเฉย คือ ไม่สนใจ ไม่คัดค้าน

กรอบแนวคิด
1.ศูนย์การศึกษานอกสถาบันศูนย์ธนาลงกรณ์2.การศึกษาพิเศษ3. การเรียนร่วม

แนวทางการวิจัยวิจัยเชิงบรรยาย
ตัวแปร 1.ตัวแปรต้นได้แก่สถานภาพของอาจารย์และนักศึกษา2.ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเจตคติที่มีต่อการจัดเรียนร่วม

เครื่องมือ ( tool )
แบบสอบถาม

การรวบรวมข้อมูล
1.ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้อาจารย์และนักศึกษาภาคปกติโปรแกรมวิชาศิลปกรรมและวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถามและรับคืนภายใน4สัปดาห์2. ผู้วิจัยตรวจแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

การวิเคราะห์ และข้อสรุป
สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย S.D. และ T-test
1.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์อยู่ในระดับดี
2.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 2.1อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ข้อเสนอแนะ
1.ควรทำวิจัยในลักษณะของการจัดบริการความช่วยเหลือที่จำเป็นทางการศึกษารวมที่สอดคล้องกับนักศึกษาผู้ปกครองและครู2.ควรทำวิจัยในลักษณะของการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาเทคนิคและวิธีการสอนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษาตามสาขาที่เปิดให้มีนักศึกษาที่บกพร่องทางการได้ยินเรียนร่วม

Wednesday, July 28, 2010

Racing Wheelchair เก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อการแข่งขัน)

ชื่องานวิจัย/บทความ
Racing Wheelchair เก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อการแข่งขัน)

แหล่งอ้างอิง
Inventors: Johnson, John W. (4239 W. Lawrence La., Phoenix, AZ, 85051)
United States Patent 5028064
http://www.freepatentsonline.com/5028064.html

วัตถุประสงค์
1. เพื่อวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ ให้คนพิการได้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน ที่มีความมั่นคงและแข็งแรง
2. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขันของนักกีฬาที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นคงของเก้าอี้ ในขณะเดียวกันมีการปรับปรุงระบบการเข็นด้วยมือด้วย
3. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน มีตำแหน่งท่านั่งของนักกีฬา ในเก้าอี้ในระดับที่ต่ำ
4. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน ที่มีระบบบังคับเลี้ยวจากการควบคุมตำแหน่งของล้อด้านหลัง
5. เพื่อให้ตัวแปรแรก ที่ระบบบังคับเลี้ยวที่มีผลผ่านมาจากระบบสายเคเบิล ภายใต้การควบคุมของตำแหน่งด้านข้างของที่นั่ง ที่ขยับได้ตามแนวขวาง
6. เพื่อให้ตัวแปรที่สองที่ระบบบังคับเลี้ยว มีผลผ่านระบบเคเบิล ภายใต้การควบคุมของตำแหน่งของปลอกแขนเทียม ที่ใส่ในแขนนักกีฬาผู้พิการ

กลุ่มตัวอย่าง
การประดิษฐ์นี้ เกี่ยวข้องกับศิลปะการออกแบบของเก้าอี้ล้อเลื่อน ในการพัฒนาเพื่อการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งเก้าอี้ล้อเลื่อน ที่รวมระบบบังคับเลี้ยว ให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของนักกีฬา เป็นการออกแบบเฉพาะเพื่อใช้ในการแข่งขัน สำหรับนักกีฬาคนพิการ

ขั้นตอนการวิจัย
1.การออกแบบให้โครงสร้างสามารถปรับยืดออก และปรับลดขนาดลงได้ด้วยการปรับสลักสำหรับยึดโครงด้านข้าง ในตำแหน่งโครงหมายเลข 57
2.กำหนดล้อขับเคลื่อนเป็นล้อคู่ด้านหน้า มีขนาดใหญ่ และมีห่วงสำหรับใช้มือผลักดันให้ขับเคลื่อนไปด้านหน้า
3.ให้ล้อด้านหลังสามารถบัลคับเลี้ยวได้ ด้วยกลไกการออกแบบพ่วงสายเคเบิลส่งกำลังมาจากปลอกรัดบนแขนของนักกีฬา และมือโยก ในตำแหน่งตรงกลางของล้อหน้า ติดกับหัวเข่าของนักกีฬา
4.จัดท่านั่งของนักกีฬาให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อความมีเสถียรภาพ และมีระดับหัวเข่าอยู่สูงกว่าเบาะนั่ง
5.ที่พักเท้าด้านหน้าสามารถปรับขึ้นลงได้ ด้วยการเปลี่ยนจุดยึดของสลัก








ผลการวิจัย
ภาพรวมของเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับการแข่งขัน มีล้อขนาดใหญ่คู่หน้า รองรับด้วยโครงสร้าง มีจุดเด่นคือสามารถบังคับเลี้ยวได้ด้วยล้อหลัง ที่นั่งสำหรับนักกีฬาถูกล๊อคไว้ที่ตำแหน่งตรงกลางของโครง และการกำหนดตำแหน่งต่างๆที่ให้ตำแหน่งท่านั่งของนักกีฬา อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำมาก สวนทางกับระดับเข่าของคนขับ ที่ถูกรองรับไว้ด้วยพื้นที่ที่จัดไว้เหนือเพลาล้อ โดยมีระนาบสัมผัสด้านแนวตั้งกับขอบตัวนำ และด้านขอบท้ายของวงแหวนสำหรับขับเคลื่อน เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพในการใช้งาน ของผู้นั่งเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน อย่างเต็มที่ เช่นการที่พลังแขนของนักกีฬาจะไปหมุนห่วงสำหรับผลักดันที่ติดตั้งอยู่บนล้อคู่หน้า บวกกับการที่มีระบบบังคับเลี้ยวอยู่ที่ตำแหน่งล้อหลัง อาจจะทำได้ในรูปแบบต่างๆ หนึ่งในนั้น อีกอย่างหนึ่งก็คือ การส่งถ่ายกำลังผ่านสายเคเบิล ไปที่ข้อมือของนักกีฬา ซึ่งมีลักษณะการบิดกลับที่เป็นไปโดยธรรมชาติแปลงเป็นพลังงานไปสู่การบังคับเลี้ยวที่ล้อหลัง อีกจุดหนึ่งก็คือการใช้สายเคเบิลต่อกับปลอกรัดที่แขนอีกต่อหนึ่งกับนักกีฬาเพื่อให้สายส่งกำลัง ที่กำลังแนบกับไหล่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงตามความต้องการ หรือตามความสามารถของนักกีฬา อีกจุดหนึ่งที่ต้องการ ให้มือของนักกีฬาใช้ผลักดันมือโยก ให้เคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าและหลัง เพื่อให้สายเคเบิลทั้งคู่ผ่านไปยังล้อด้านท้ายที่สามารถหักเลี้ยวได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
ในขณะที่หลักการของการประดิษฐ์นี้ได้รับตอนนี้ ชัดเจนว่าในศูนย์รวมต่างๆของตัวอย่างจะมีความชัดเจนในทันที เพื่อความเชี่ยวชาญในศิลปะการปรับเปลี่ยนที่หลากหลายในโครงสร้าง การจัดสัดส่วนการจัดองค์ประกอบของวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติ
เป็นการประดิษฐ์ที่ดัดแปลงโดยเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมต่างๆ และความต้องการเฉพาะการของนักกีฬา ซึ่งดำเนินงานได้โดยไม่ต้องออกจากหลักการเหล่านั้นที่จำเป็น

วิเคราะห์และวิจารณ์
ข้อดี
ในแง่ของการใช้งาน เป็นการออกแบบเพื่อให้การใช้งานในการแข่งขันมีความเสถียรภาพในการใช้งาน เพราะออกแบบให้ท่านั่งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้จังหวะการเคลื่อนที่ของ เก้าอี้ล้อเลื่อนมีความมั่นคง โครงสร้างสร้าง แบบง่ายๆ และไม่ยุ่งยากในการผลิต มีการปรับเปลี่ยนความยาวของโครงได้ เพื่อความเหมาะสมกับนักกีฬาที่มีขนาดรูปร่างต่างกัน
ข้อเสีย
การออกแบบ และการผลิตชิ้นส่วนเพื่อจะนำมาประกอบเป็นตัวรถ ต้องมีความเที่ยงตรง และแม่นยำพอสมควร มิเช่นนั้นอาจจะทำให้การควบคุมและการบังคับเลี้ยวผิดพลาดไปจากเป้าหมายได้
ในแง่ ของการใช้งาน ต้องใช้เทคนิคสูงในการควบคุมตัวรถ และตัวนักกีฬาต้องมีการเรียนรู้ในการใช้งานให้เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงจะสามารถบังคับรถให้มีประสิทธิภาพได้

การออกแบบเบ้าขาเทียม

ชื่องานวิจัย/บทความ
การออกแบบเบ้าขาเทียม

แหล่งอ้างอิง
ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai//index.php?option=com_content&task=view&id=647&Itemid=142

วัตถุประสงค์
1.เพื่อมุ่งศึกษาและพัฒนาการนำเทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD/CAE/CAM) มาประยุกต์ใช้ในการ ออกแบบ วิเคราะห์ และผลิตเบ้าขาเทียมให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
2.นำองค์ความรู้ด้านไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element) มาใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรง/โมเมนต์ กับคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุ
3.เพื่อให้ได้คุณภาพเบ้าขาเทียมที่ผลิตจากองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะมีความสะดวกในการสวมใส่รวมถึงความสบายในการสวมใส่เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งาน

กลุ่มตัวอย่าง
หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โรงพยาบาล อนามัย สถานศึกษา และหน่วยงานวิจัย

ขั้นตอนการวิจัย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานเทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์ และผลิต (CAD/CAE/CAM) เพื่อผลิตเบ้าขาเทียมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยลดเวลาในขั้นตอนการผลิตเบ้าขาเทียมได้โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์โมเดลเบ้าขาเทียมที่ออกแบบบนคอมพิวเตอร์ก่อน ทำให้ผู้ออกแบบสามารถปรับเปลี่ยนโมเดลจนกว่าจะได้ผลการวิเคราะห์ที่พอใจก่อนการผลิตชิ้นงานจริง ทดแทนวงเวียนการวิเคราะห์ผลและการปรับโมเดลด้วยการผลิต Prototype และทดลองในผู้ป่วย
แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักดังนี้
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบเบ้าขาเทียม(CAD)
a. พัฒนาองค์ความรู้ด้าน Medical Image Processing เพื่อสร้างโมเดลตอขาสามมิติจากภาพถ่าย X-Ray, MRI, CT Scan หรืออื่นๆ เนื่องจากโมเดลตอขานี้จะถูกใช้ในการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ จึงจำเป็นต้องสร้างโมเดลกระดูกและโครงสร้างภายในของตอขาด้วย ภาพถ่ายทางการแพทย์ ทั้งภาพ X-Ray, MRI และ CT Scan สามารถให้รายละเอียดโครงสร้างภายในที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างโมเดลสามมิติได้
b. พัฒนาระบบเพื่อช่วยในการออกแบบเบ้าขาเทียม โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบเฉพาะทางจากนักกายภาพ (Prosthetist) ในการปรับแต่งลักษณะพื้นผิวของเบ้าขาเทียม เพื่อออกแบบให้น้ำหนักของผู้ป่วยกดลงในจุดที่สามารถรับแรงได้มากกว่าจุดอื่นๆ(Rectification)
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม(CAE)
a. การใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม โดยศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อสุขภาพและความสบายในการสวมใส่ของผู้ป่วยในอิริยาบถต่างๆ
3. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตเบ้าขาเทียม(CAM)
a. ผลิตเบ้าขาเทียมด้วยเทคโนโลยีRapidPrototyping
b. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการผลิต



ภาพขั้นตอน การสร้างโมเดลตอขาสามมิติจากภาพถ่าย X-Ray





ภาพแสดงการใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม
โดยศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ


ภาพ การผลิตเบ้าขาเทียมด้วยเทคโนโลยี Rapid Prototyping

ผลการวิจัยและประโยชน์ที่ได้รับ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ของฟีโบ้ คือเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อคนสูงวัย ทั้งนี้เป็นการสร้างประโยชน์โดยตรงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยซึ่งด้อยโอกาส ให้เป็นผู้ได้รับโอกาส และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีศักยภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังส่งผลลัพท์ไปถึงการเพิ่มความเข้มแข็งด้านความสามารถทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของประเทศไทยในเวทีโลกอีกด้วย ภาครัฐและเอกชนใดที่ต้องการร่วมงานและใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ ตลอดจนบุคคล/นิติบุคคล ที่ต้องการสนับสนุนทุนวิจัย
แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
1.เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2.เขียนเอกสารเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการระดับประเทศ
3.จัดแสดงผลงานในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง
4.นำผลงานวิจัยไปทดลองให้กับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิงานใช้งานและเก็บบันทึกผลการทดลอง

วิเคราะห์และวิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่อวัยวะส่วนขาขาดหายไป ซึ่งสามารถทำได้โดยการผลิตเข้าขาเทียมขึ้นมาทดแทนได้ แต่ในปัจจุบันการหล่อเบ้าขาเทียมจะใช้วิธีการหล่อจากต้น แบบขาจริงขิงผู้พิการซึ่งให้ความแม่นยำในสัดส่วน ระดับหนึ่งเท่านั้น การนำเทคโนโลยีระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม จะช่วยให้การวะเคราะห็ในส่วนต่างๆของโครงสร้างตอขาที่เหลืออยู่ของผู้พิการนั้น มีความแม่นยำ ถกต้องเที่ยงตรงมากขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญ เช่น การศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อสุขภาพและความสบายในการสวมใส่ของผู้ป่วยในอิริยาบถต่างๆ