MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, June 30, 2010

Assistive technology for Cognitive Rehabilitation

ชื่องานวิจัย/บทความ
Assistive technology for Cognitive Rehabilitation
ที่มา www.neuropsychologycentral.com
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของอุปกรณ์ AT กับผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้การเข้าใจเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อทดแทนความสามารถที่ขาดไป โดยที่มีปัจจัยหลากหลายที่มีผลต่อการใช้อุปกรณ์ และการเลือกใช้ให้เหมาะ โดยสรุปจากการอ้างถึงหลากหลายงานวิจัยที่ได้ทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มผู้มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ไม่จำกัดเพศ อายุ หรือโรคประจำตัว ไม่ระบุจำนวน
ขั้นตอน
สรุปจากงานวิจัยหลายๆ งาน
ผลการวิจัย
การเลือกอุปกรณ์ช่วยให้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้คือ
ต้องมีการเรียนรู้
- มีความรู้ความเข้าใจในอุปกรณ์
การเข้าใจในคอมพิวเตอร์
- เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ลดข้อจำกัดในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์
อายุของผู้ใช้
- เป็นปัจจัยในการอุปกรณ์ เช่น ข้อเสื่อม การมองเห็น และความสามารถในการได้ยินที่ลดลง ซึ่งมีผลต่อสัญญาณการเตือนของสัญญาณ
ระดับความรู้
การสนับสนุนจากครอบครัว
ราคาของอุปกรณ์
รูปแบบของอุปกรณ์
- มีหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่สามารถมองเห็นได้
- ปุ่มกดขนาดใหญ่ เพื่อความชัดเจนในการมองเห็น
- สัญญาณเตือนต้องมีทั้งการสั่นสะเทือนและเสียงเตือนที่มากพอที่ใช้เจริงในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
- ความจุของความจำต้องเพียงพอ อย่างน้อย 32 k bytes
- สามารถย้ายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
- อุปกรณ์เสริมสามารถใช้งานได้นานเพียงพอ
ประโยชน์ที่ได้รับ
สามารถเลือกอุปกรณ์ AT ให้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ความเข้าใจได้อย่างเหมาะสม
วิเคราะห์งานวิจัย
ขาดการวัดผลที่ชัดเจนระหว่างการรับรู้การเข้าใจในอุปกรณ์เสริมที่ได้นำมาให้กับผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ใช้

Assistive technology in elderly care

ชื่องานวิจัย/บทความ
Assistive technology in elderly care
ที่มา http://ageing.oxfordjournals.org/cgi/reprint/30/6/455.pdf
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของอุปกรณ์ AT กับความปลอดภัยของผู้สูงอายุ และการพัฒนาของอุปกรณ์ช่วยต่างๆ โดยค่าใช้จ่ายไม่มากได้แก่อุปกรณ์ Community alarm, Video-monitoring, Health monitors, Fall detectors, hip protectors, pressure mats, Door alerts, Dawn/dusk lights, Smoke alarms, Fire alarms, Cooker controls และ Electronic calendars/ specking clocksซึ่งใช้กับผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ประโยชน์ในการใช้งานของผู้สูงอายุและผู้ดูแล
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้สูงอายุ ไม่ได้จำกัดเพศ อายุ หรือโรคประจำตัว ไม่ระบุจำนวน
ขั้นตอน
การใช้งานของแต่ละอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1. Community alarm คือ การปลุกเตือนที่ใช้โดยทั่วไป ซึ่งใช้งานมาอย่างแพร่หลายใน 40 ปีก่อน เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่เข้าถึงการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ลำบาก โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทาง audio box 20 ปีต่อมา สามารถตั้งเวลาเตือนได้ เมื่อผู้ดูแลไม่อยู่บ้าน ปัจจุบัน สามารถเป็นการสื่อสารแบบ two-way speech connectionได้ในกรณีที่ผู้ดูแลไม่ว่าง
สามารถตั้งเวลาปลุกให้สามารถติดติ่ทางโทรศัพท์ได้ โดยสื่อสารผ่านทาง remote call –handling ได้ โดยพัฒนาเป็นจี้ หรือสร้อยข้อมือ โดยส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ในกรณีฉุกเฉินสามารถขอความช่วยเหลือจากทีมช่วยเหลือที่ดูแลผู้ป่วยตามบ้านได้ แต่บริการนี้จะได้ผลเมื่อได้ตกลงกับทีมฉุกเฉินไว้ก่อน และตัวผู้ใช้เองยังรู้สติพอที่จะกดปุ่มส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้
เครื่อง Community alarm นี้สามารถลดความกังวลและเพิ่มความอิสระในการให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพังได้ ในอนาคตเครื่องนี้จะพัฒนาไปถึงขั้น telecare systemต่อไป
2. Video-monitoring คือเครื่องที่พัฒนาของ การสื่อสาร video และ audio สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้ทาง Ordinary telephone line ซึ่งพัฒนาเป็นการใช้กล้อง สามารถใช้ remote เลือกมุมที่ต้องการได้ ปรับมุมกว้าง มุมขึ้นลง และZoom ได้
3. Health monitors มีขนาดเล็ก พกพาง่ายใช้สำหรับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และการเคลื่อนไหว ลักษณะคล้ายนาฬิกาทั่วไป ใช้บันทึกขณะ ล้มเจ็บ อ่อนแรง หน้ามืด หรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดยการเตือนผ่านสัญญาณวิทยุเป็น multi-link(ประมาณ 45 cm.) เพื่อติดต่อกับ community centreและยังสามารถประยุกต์ใช้เป็น Fall monitor และยังใช้ alerting mechanism ในผู้ป่วยหนักเช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
4. Fall detectors มีขนาดเล็กติดรอบเอวหรือรอบทรวงอกใช้บันทึกความเร่งและความสูงที่เปลี่ยนไป เพื่อลดจำนวนครังที่ล้มโดยมี3 ชนิด คือ 1. Tunstall 2. Tele-alarm และ 3.Technology in healthcare ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้ วัดความเร่ง และความสูงที่ต่างกัน แต่ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์เตือนป้องกันการล้มเหมือนกัน แต่มีข้อจำกัดในผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยิน จะไม่ได้ยินเสียงเตือนป้องกันการล้ม
5. Hip protectors ออกแบบมาเป็นกางเกงชั้นใน อยู่บริเวณรอบ greater trochanter เพื่อป้องกันการกระดูกหัก ซึ่งผลิดมาสำหรับเพศและขนาดที่แตกต่าง ปัญหาที่พบคือความไม่สบายในการสวมใส่ และผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถใช้งานได้นาน 6 เดือน
6. Pressure mats เพื่อลดแรงกดทับจากเตียงหรือเก้าอี้ สามารถควบคุมด้วยเสียงและการได้ยิน โดยออกแบบให้เหมาะกับแตกต่างด้านน้ำหนัก อายุ และชนิดที่นอนที่ต่างกัน เหมาะกับผู้ที่อยู่คนเดียว หรือพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืนและยังช่วยป้องกันการล้มจากเปลี่ยนท่าทางอีกด้วย
7. Door alerts โดยมีสัญญาณติดที่บริเวณประตู เพื่อป้องกันผู้ป่วยเข้าออกเวลากลางคืน สามารถมีเสียงเตือนเวลามีคนเข้าออกโดยผ่านการมองจาก video-monitoring สามารถดูได้ไม่ว่าจะที่ตำแหน่งใดก็ตาม
8. Movement detectors ใช้รังสี infra-red เหมาะกับผู้ที่สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงในการล้ม ซึ่งระบบจะเชื่อมต่อกับระบบแสงสว่าง โดยแสงจสว่างขึ้นเมื่อมีคนเข้าหรือออกจากพื้นที่ดังกล่าว
9. Dawn/dusk lights เหมาะกับผู้ที่ลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ซึ่งระดับแสงสว่างจะช่วยป้องกันการล้ม
10. Smoke alarms โดยเครื่องจะจับสัณญาณจากสิ่งที่มองเห็น และมองไม่เห็นโดยจะจับสัญญาณไปจากควัน
11. Fire alarms จับจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป เหมาะกับพื้นที่ที่เสี่ยงไฟไหม้ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ทำอาหาร
12. Cooker controls สามารถควบคุมแก๊สหุงต้มเมื่อเกิดอุณหภูมิที่สูงชึ้น และจะส่งข้อความอัตโนมัติไปยังศูนย์ควบคุม
13. Electronic calendars/ specking clocks ใช้บันทึกวันเวลา เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของวัน เวลา
ผลการวิจัย
เป็นลักษณะ review โดยผู้จัดทำได้แบ่ง AT ที่ได้อ้างถึงนี้เป็น 3 ที่แตกต่างกัน
1. the retro-fit เครื่องมือแบบเดิม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร การส่งข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ปรับปรุงให้ใช้ที่บ้าน เพื่อตรวจร่างกายและ ซักถามอาการ
2. unobtrusive sensors สัณญาณที่ติดตั้งที่บ้าน เพื่อปรับให้เหมาะกับพฤติกรรมที่แตกต่างกับของแต่ละบุคคล
3. smart homes เป็นการทำงานร่วมกันของสัญญาณจำนวนมาก สามารถตัดหรือเริ่มสัญญาณ ได้ตามการควบคุมของสภาพแวดล้อม ความสว่าง ความร้อน และการสั่นสะเทือน
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงอุปกรณ์ ที่ช่วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรณี อยู่โดยลำพัง การใช้งานอย่างคร่าวๆ และการพัฒนาของอุปกรณ์ เพื่อให้ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
วิเคราะห์งานวิจัย
อุปกรณ์ที่ได้ประดิษฐ์นั้นได้ช่วยเหลือการทำกิจกรรมบางอย่าง แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้กับผู้สูงอายุทีมีข้อจำกัดที่ต่างกัน เช่นปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยิน หรือการเข้าใจ ซึ่งเป็นข้อจำกัดพื้นฐานของผู้สูงอายุ ดังนั้น การออกแบบงานวิจัยนั้น อาจต้องทดสอบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดกลุ่มเดียวกัน แล้วทดสอบถึงการเข้าถึงอุปกรณ์ ได้จริงของอุปกรณ์นั้นๆ

Decrease of hypertonia after continuous passive motion treatment in individuals with spinal cord injury

ชื่องานวิจัย
Decrease of hypertonia after continuous passive motion treatment in individuals with spinal cord injury
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลของการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ (reflex)รวมถึงภาวะเกร็งต้านของกล้ามเนื้อน่อง ในเฉพาะกลุ่มผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ไม่มีความพิการ โดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า(Continous passive motion)
กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังชนิดที่มีไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)และเป็นมาแล้วมากกว่า 6 เดือน จำนวน 8 คน
2. ผู้ที่ไม่มีความพิการ 8 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. ในแต่ละกลุ่มจะได้การขยับข้อเท้าโดยเครื่อง Continous passive motion (CPM) เป็นเวลา 60 นาที
2. วัด H–reflex หรือ stretch–reflex ของกล้ามเนื้อน่อง (soleus muscle) ซึ่งควบคุมด้วยเส้นประสาท tibia ก่อนใช้เครื่อง Continous passive motion, หลังใช้ทันทีและหลังจากใช้ เครื่อง Continous passive motionไปแล้ว 10 นาที โดยใช้ modified Ashworth scale เป็นค่าบ่งชี้ความรุนแรงของการเกร็งต้านกล้ามเนื้อ
ผลการวิจัย
หลังจากใช้เครื่อง continuous passive motion ขยับข้อเท้า 60 นาที ในผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง ให้ผลดังนี้
1. ก่อนใช้เครื่อง Continous passive motion กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่องลดลง เป็น 77.46 ± 32.64%, P = 0.047
2. หลังใช้เครื่อง Continous passive motion ทันที กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่องลดลง เป็น 51.76 ± 26.74%, P<0.0001
3. หลังจากใช้ เครื่อง Continous passive motionไปแล้ว 10 นาที กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่อง ก็ยังคงลดลงอยู่
4. หลังจากใช้เครื่อง continuous passive motion ขยับข้อเท้า 60 นาที ค่า modified Ashworth scale ลดลงจาก 2 เป็น 1.25
5. ผลการลดลงของการเกร็งกล้ามเนื้อนานกว่าผลการลดลงของ H-reflex ในกล้ามเนื้อน่อง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า( Continous passive motion) ในการลดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex) รวมถึงภาวะเกร็งต้านของกล้ามเนื้อน่อง ในเฉพาะกลุ่มผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง ชนิดที่มีไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)
2. ทราบระยะการตอบสนองของผลของการลดภาวะเกร็งต้านโดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) กรณีหลังการขยับข้อเท้าแล้วยังคงมีผลช่วยลดภาวะเกร็งต้านกล้ามเนื้อ
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี แสดงค่าความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients, ICCs) ของการวัดผลก่อนและหลังการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือและในกลุ่มตัวอย่างมีการเปรียบเทียบผลระหว่างผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังกับผู้ไม่มีความพิการ งานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัยมากขึ้น และน่าจะมีการทำงานวิจัยดูผลต่อเนื่องของระยะเวลาการตอบสนองต่อการลดภาวะเกร็งต้านโดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) ว่ายังคงช่วยลดภาวะเกร็งต้านกล้ามเนื้อและลดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex) ได้นานเท่าไร

Evaluation of Reflex-and Nonreflex-Induced Muscle Resistance to Stretch in Adults With Spinal Cord Injury Using Hand-held and Isokinetic Dynamometry

ชื่องานวิจัย
Evaluation of Reflex-and Nonreflex-Induced Muscle Resistance to Stretch in Adults With Spinal Cord Injury Using Hand-held and Isokinetic Dynamometry
แหล่งที่มา http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบระหว่างความน่าเชื่อถือของการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Hand-held และ Isokinetic Dynamometry
2. ศึกษาผลของ Hand-held Dynamometry ต่อการประเมิน ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง(spastic)ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ (reflex)และการเคลื่อนไหวของร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ (nonreflex) จากการยืดกล้ามเนื้อ
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้พิการที่จากการได้รับบาดเจ็บไขสันหลังจำนวน 9 คน (หญิง 3 คน, ชาย 6 คน) ได้รับบาดเจ็บในช่วง 1-5 ปี อายุ 21-54 ปี มีทั้งไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)และไขสันหลังตัดขาดบางส่วน (incomplete)เกิดจากอุบัติเหตุ 8 คน หลอดเลือดแตก 1 คน
เงื่อนไขในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. ทุกคนมีปัญหาจากแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อขณะทำการขยับข้อต่อให้แล้วค้าง (passive stretch) ของกลุ่มกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง
2. วัดค่า modified Ashworth scale (เป็นค่าบ่งชี้ความรุนแรงของการเกร็งกล้ามเนื้อ) ได้มากกว่า 1
3. ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น
4. ไม่มีประวัติกระดูกหัก
5. ไม่มีโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (thrombophlebitis)
ขั้นตอนการวิจัย
1. ยืดกล้ามเนื้อกลุ่มกระดกข้อเท้าลงด้วยความเร็วต่ำสุด(LV)5 องศา/วินาที และสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาที โดย Isokinetic Dynamometry และ Hand-held Dynamometry โดยวัดแรงต้านเกร็งกล้ามเนื้อที่มุมต่าง ๆ
2. EMG วัดทางทำงานของกล้ามเนื้อ soleus และ tibialis anterior


Hand-held Dynamometry

ผลการวิจัย
1. ความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients, ICCs) ของทั้ง 2 อุปกรณ์ ดังนี้
hand-held dynamometer ความเร็วต่ำสุด (LV) และสูงสุด (HV) เท่ากับ ICC=.93 and .84
isokinetic dynamometer ความเร็วต่ำสุด (LV)และสูงสุด (HV) เท่ากับ ICC=.99 and .93
ทั้ง 2 อุปกรณ์มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ดี
2. เมื่อพิจารณาที่มุมกระดกข้อเท้า -5 หรือมุมต่ำกว่ามุมปกติ (Neutal)5 องศา พบว่า Hand-held Dynamometry ที่ความเร็วต่ำสุด (LV)และสูงสุด (HV) มีแรงต้าน 0.8 N.m และ 1.2 N.m ซึ่งมีแรงต้านน้อยกว่า Isokinetic Dynamometry
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบผลความน่าเชื่อถือของการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Hand-held Dynamometry โดยเปรียบเทียบกับ Isokinetic Dynamometry สามารถนำอุปกรณ์ หลักการและวิธีการวัดมาใช้ในการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อในงานวิจัยอื่นได้
2. ทราบถึงผลของ Hand-held Dynamometry สามารถลดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง(spastic)ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex)และการเคลื่อนไหวของร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ (nonreflex)ในคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังได้
วิเคราะห์วิจารณ์
จากผลงานวิจัยเรื่องความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients,ICCs) ของ hand-held dynamometer ที่ความเร็วสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาทีเป็นการควบคุมได้ยาก ทำให้ผลความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients,ICCs) มีค่าต่ำที่สุดดูน่าเชื่อถือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการวัดอื่น จึงควรมีการศึกษาในเรื่องการควบคุมผลการวัด hand-held dynamometer ที่ความเร็วสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาทีต่อไป งานวิจัยชิ้นนี้ให้รายละเอียดของการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ละเอียด แต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้นควรมีปริมาณที่มากขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย และน่าจะมีการทำงานวิจัยต่อเนื่องดูผลการใช้ hand-held dynamometer แยกระหว่างผู้พิการที่จากการได้รับบาดเจ็บไขสันหลังที่มีทั้งไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete) และไขสันหลังตัดขาดบางส่วน (incomplete)

Friday, June 25, 2010

The effect of prolonged static and cyclic stretching on ankle joint stiffness, torque relaxation, and gait in people with stroke

ชื่องานวิจัย
The effect of prolonged static and cyclic stretching on ankle joint stiffness, torque relaxation, and gait in people with stroke
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/bubmed
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลระยะสั้นที่เกิดจากการยืดกล้ามเนื้อน่องค้างและการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะเปรียบเทียบผลในการขยับข้อต่อผู้ที่มีภาวะข้อเท้าติด การลดการเกร็งและแรงต้าน และการเดินในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก
กลุ่มตัวอย่าง
อาสาสมัครผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจากโรคเส้นเลือดในสมองแตกที่สามารถสื่อสารได้ 10 คน (ผู้ชาย 9 คนและผู้หญิง 1 คน) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ไม่ได้รับประทานยาลดเกร็ง
2. ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น
3. มีภาวะทางอารมณ์ปกติ
4. เดินได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือไม่ใช้ก็ได้
5. เป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกมาอย่างน้อย 3 เดือน
6. ไม่ได้รับโปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการวิจัย
1. วัดค่าทางกายภาพตามเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและวัดมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
2. แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบในเวลาเดียวกันโดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องไม่ได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อตลอดระยะการทดสอบ เริ่มทดสอบโดยยืดกล้ามเนื้อน่องค้างไว้จากมุมกระดกข้อเท้าลง 10 องศา จนถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุดด้วยความเร็ว 5องศา/วินาที แล้วกลับสู่มุมเริ่มต้น ทำซ้ำ 30 นาที และยืดความเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะโดยใช้เครื่อง Continuous Passive Motion ความเร็วที่ใช้ 5 องศา/วินาที จากมุมเริ่มต้นถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุด 30 นาที โดยไม่ได้ค้าง จากนั้น ให้เดินเป็นระยะทาง 10 เมตรดูเวลาที่ใช้ โดยใช้เครื่อง Kin–Com dynamometer เป็นเครื่องวัดแรงและมุม ก่อนและหลังทำการยืดทั้ง 2 แบบ
3. ใช้เครื่อง EMG วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ
4. การทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร ก่อนและหลังการยืด
ผลการวิจัย
1. วัดภาวะข้อเท้าติด ผลของการยืดค้างกับผลของการยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ ผลของการยืดค้าง มีข้อเท้าติดลดลง 35% และยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ 30 นาที ข้อเท้าติดลดลง 30%
2. วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ ผลของการยืดค้าง มีแรงต้านลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการยืดแบบช่วงจังหวะเป็น 53%
3. ผลที่ได้จาการทดสอบเวลาที่ใช้ในเดิน 10 เมตร ผลที่ได้ไม่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงประโยชน์และผลที่ได้รับจากการยืดกล้ามเนื้อน่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
2. ทราบถึงวิธีการยืดกล้ามเนื้อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
วิเคราะห์วิจารณ์
ในงานวิจัยไม่ได้ระบุถึงความแตกต่างในการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างและแบบช่วงจังหวะอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการให้ยืดค้างไม่ได้บอกว่าต้องค้างนานเท่าไร ในงานวิจัยทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร แต่ในผลการวิจัยกลับไม่พูดถึงเรื่องนี้ เพียงสรุปว่าไม่แตกต่างกัน และไม่ได้กล่าวถึง สถานที่ สภาพพื้นผิวที่ใช้ในการเดิน ในงานวิจัยไม่ได้วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อก่อนทำการยืด ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าหลังยืดแล้วแรงต้านลดลงหรือไม่ งานวิจัยกล่าวถึงค่า significantly ในการวัดการก่อนยืด และการยืดแบบค้างแต่ไม่ได้ระบุถึงค่าตัวอื่นๆ ทำให้ไม่ทราบถึงความน่าเชื่อถือของการวัดค่าอื่นๆ งานวิจัยนี้ผลที่ได้ค่อนข้างแตกต่างกับงานวิจัยที่ทำมาก่อนแล้ว แต่งานวิจัยก่อนหน้านี้ทำในกลุ่มคนปกติ เพื่อให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้นจำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้น่าจะมีจำนวนมากกว่านี้

การออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมขาเทียมเหนือเข่าแบบฟัซซี่อัลกอลิทึม

ชื่องานวิจัย การออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมขาเทียมเหนือเข่าแบบฟัซซี่อัลกอลิทึม
แหล่งที่มา http://tdc.thailis.or.th/ ค้นหาคำว่า "ขาเทียม"

วัตถุประสงค์
1. เพื่อออกแบบชิ้นส่วนขาเทียมโดยเน้นส่วนข้อเข่าเทียมชนิดแกนเดียว โดยออกแบบจุดหมุนข้อเข่าให้ทำงานร่วมกับกระบอกไฮดรอนิวเมติกส์
2. เพื่อประยุกต์ใช้หลักการควบคุมแบบฟัซซี่ในการออกแบบโปรแกรมควบคุมระบบ
3. เพื่อออกแบบระบบควบคุมขาเทียมโดยใช้ต้นทุนต่ำ
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้พิการตัดขาระดับเหนือเข่า ไม่ได้กล่าวถึงจำนวน จากงานวิจัยเป็นการออกแบบขาเทียมต้นแบบ 1 ชิ้น เบ้าสวมขาทำขึ้นเฉพาะสำหรับผู้พิการ 1 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. ออกแบบจุดหมุนข้อเข่าเทียมให้ทำงานร่วมกับกระบอกไฮดรอนิวเมติกส์ งอสูงสุด 90 องศา เหยียดออก 180 องศาและมีบ่าล็อกข้อเข่า
2. ออกแบบสร้างวาล์วแบบสกรูควบคุมการปรับหมุนด้วยสเต็ปเปอร์มอเตอร์สามารถปรับต้านการไหลของอากาศและน้ำมันในกระบอกได้
3. ออกแบบสร้างแบบเบ้าขาเทียมอลูมิเนียมและติดตั้งอุปกรณ์วัดแรงกระทำที่เป้าสวมขา
4. ติดตั้งอุปกรณ์วัดการทำมุมของของข้อเข่าเทียม โดยใช้อุปกรณ์วัดความเข้มสนามแม่เหล็ก
5. ออกแบบตัวควบคุมแบบฟัซซี่ให้ประมวลผลบนไมโครคอนโทรลเลอร์โดยวัดจากแรงเครียดบนเบ้าขา
6. เชื่อมโยงระบบให้รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์รับแรงกดและเซ็นเซอร์ตรวจวัดแรงสวิงข้อเข่ามาประมวลผล
7. ทดสอบระบบควบคุมโดยเครื่องจำลองสัญญาณแทนสัญญาณจริงใน 6 สถานการณ์
7.1 เดินปกติ
7.2 เดินเร็ว
7.3 เดินเฉียงไปซ้าย
7.4 เดินเฉียงไปขวา
7.5 ถอยหลัง
7.6 การนั่งไปยืน และการยืนไปนั่ง
ผลการวิจัย
ข้อมูลที่เก็บจากผู้พิการ 6 สถานการณ์ และบันทึกผลการตอบสนองด้วยเครื่องบันทึกจำนวน 10 ครั้ง เพื่อหาความถูกต้องแม่นยำขณะเดียวกันในการควมคุมตำแหน่งวาล์วจะสามารถให้ความถูกต้องของการควบคุมตำแหน่ง เป็น 80% และใช้ช่วงเวลาการตอบสนองด้วยเครื่องบันทึกจำนวน 10 ครั้ง เมื่อเทียบกับการคำนวณ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เพื่อใช้หลักการควบคุมแบบฟัซซี่ออกแบบโปรแกรมควบคุมขาเทียม
2. เพื่อนำไมโครคอนโทรลเลอร์มาใช้ในการควบคุมข้อเข่าเทียมให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบเครื่องมือเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์ชนิดอื่นๆ ได้
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นวิทยานิพนธ์ที่ดีและมีประโยชน์ โดยออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมขาเทียมเหนือเข่าแบบฟัซซี่อัลกอลิทึมจากขาเทียมแบบเดิม ซึ่งจะมีข้อจำกัดและขีดความสามารถที่ต่างกัน โดยคงเอาส่วนดีของแต่ละรูปแบบและนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไข จนกลายเป็นขาเทียมต้นแบบที่ทำจากวัสดุในประเทศไทย ราคาต้นทุนต่ำ และใช้การทดสอบโดยจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน 6 สถานการณ์ เช่น นั่งไป ยืน เดิน เดินเร็วและเดินถอยหลัง ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นกับผู้พิการ จึงควรมีงานวิจัยต่อยอดเพื่อการพัฒนาขาเทียมให้ดียิ่งขึ้น ในเรื่องของ
1. น้ำหนักของขาเทียม เนื่องจากวัสดุที่ใช้เป็นอลูมิเนียมทำให้ยังคงมีน้ำหนักที่มาก
2. การลดการสึกหรอของจุดหมุน ตลอดจน วิธีการใช้และดูแลรักษาเพื่อลดการสึกหรอ และการซ่อมแซมหรือการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่สึกหรอให้ง่ายยิ่งขึ้น
3. ด้านต้นทุน ถึงแม้ว่า อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นขาเทียมทั้งหมดนี้จะราคา 600 บาท แต่เมื่อดูค่าที่จะต้องเสียไปจากกระบวนการผลิตแล้ว เป็นต้นทุนการผลิตที่สูง
4. ความสวยงาม และความพึงพอใจของผู้ใช้
5. นำมาทดสอบในกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น เนื่องจากผู้พิการมีปัญหาและขีดความสามารถที่ไม่เหมือนกัน และทดสอบใช้ในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น การขึ้นบันไดและการขึ้นลงทางลาด
6. พัฒนาระบบควบคุม เพื่อให้ตำแหน่งวาล์วตอบสนองได้ไวขึ้น