MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, June 30, 2010

Decrease of hypertonia after continuous passive motion treatment in individuals with spinal cord injury

ชื่องานวิจัย
Decrease of hypertonia after continuous passive motion treatment in individuals with spinal cord injury
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลของการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ (reflex)รวมถึงภาวะเกร็งต้านของกล้ามเนื้อน่อง ในเฉพาะกลุ่มผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ไม่มีความพิการ โดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า(Continous passive motion)
กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังชนิดที่มีไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)และเป็นมาแล้วมากกว่า 6 เดือน จำนวน 8 คน
2. ผู้ที่ไม่มีความพิการ 8 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. ในแต่ละกลุ่มจะได้การขยับข้อเท้าโดยเครื่อง Continous passive motion (CPM) เป็นเวลา 60 นาที
2. วัด H–reflex หรือ stretch–reflex ของกล้ามเนื้อน่อง (soleus muscle) ซึ่งควบคุมด้วยเส้นประสาท tibia ก่อนใช้เครื่อง Continous passive motion, หลังใช้ทันทีและหลังจากใช้ เครื่อง Continous passive motionไปแล้ว 10 นาที โดยใช้ modified Ashworth scale เป็นค่าบ่งชี้ความรุนแรงของการเกร็งต้านกล้ามเนื้อ
ผลการวิจัย
หลังจากใช้เครื่อง continuous passive motion ขยับข้อเท้า 60 นาที ในผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง ให้ผลดังนี้
1. ก่อนใช้เครื่อง Continous passive motion กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่องลดลง เป็น 77.46 ± 32.64%, P = 0.047
2. หลังใช้เครื่อง Continous passive motion ทันที กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่องลดลง เป็น 51.76 ± 26.74%, P<0.0001
3. หลังจากใช้ เครื่อง Continous passive motionไปแล้ว 10 นาที กราฟ H-reflex ของกล้ามเนื้อน่อง ก็ยังคงลดลงอยู่
4. หลังจากใช้เครื่อง continuous passive motion ขยับข้อเท้า 60 นาที ค่า modified Ashworth scale ลดลงจาก 2 เป็น 1.25
5. ผลการลดลงของการเกร็งกล้ามเนื้อนานกว่าผลการลดลงของ H-reflex ในกล้ามเนื้อน่อง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า( Continous passive motion) ในการลดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex) รวมถึงภาวะเกร็งต้านของกล้ามเนื้อน่อง ในเฉพาะกลุ่มผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง ชนิดที่มีไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)
2. ทราบระยะการตอบสนองของผลของการลดภาวะเกร็งต้านโดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) กรณีหลังการขยับข้อเท้าแล้วยังคงมีผลช่วยลดภาวะเกร็งต้านกล้ามเนื้อ
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี แสดงค่าความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients, ICCs) ของการวัดผลก่อนและหลังการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือและในกลุ่มตัวอย่างมีการเปรียบเทียบผลระหว่างผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังกับผู้ไม่มีความพิการ งานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัยมากขึ้น และน่าจะมีการทำงานวิจัยดูผลต่อเนื่องของระยะเวลาการตอบสนองต่อการลดภาวะเกร็งต้านโดยการใช้เครื่องช่วยขยับข้อเท้า (Continous passive motion) ว่ายังคงช่วยลดภาวะเกร็งต้านกล้ามเนื้อและลดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex) ได้นานเท่าไร

No comments:

Post a Comment