MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Saturday, July 31, 2010

การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้

ชื่องานวิจัย/บทความ
การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้
The Operation of Provincial Special Education Centers in Southern Region

แหล่งอ้างอิง
ชื่อผู้วิจัย นายวิรัช กล้าหาญ
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Mr. Wirach Klaharn
การศึกษามหาบัณฑิต เอกการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล 133 หมู่ 2 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
ปี พ.ศ. 2549
http://www.thaiedresearch.org

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้
2.เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ
3.เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด

กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติงานในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ และผู้ปกครองเด็กพิการ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 337 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 15 คน ครู จำนวน 72 คน และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 250 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน

ขั้นตอนการวิจัย

สมมุติฐาน
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการการศึกษาแก่เด็กพิการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการมีการดำเนินงานทุกด้าน แตกต่างกัน

กรอบแนวคิด
กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดการบริหารการจัดการเรียนร่วมของ เบญจา ชลธาร์นนท์ (2546 : 3–6) ซึ่งจำแนกรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนร่วมไว้ 4 ด้าน ได้แก่
1.ด้านนักเรียน (S–Students)
2.ด้านสภาพแวดล้อม (E- Environment)
3.ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A- Activities)
4.ด้านเครื่องมือ (T- Tools)
โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดดังกล่าวมาบูรณาการกับบทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2543: 4)

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูที่ปฏิบัติงานในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 2,197 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 24 คน ครู จำนวน 96 คน และผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 2,077 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ลักษณะของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำแนกเป็น
1.ศูนย์ที่จัดบริการการศึกษาครบทุกประเภทความพิการ และ
2.ศูนย์ที่จัดบริการการศึกษาไม่ครบทุกประเภทความพิการ
ตัวแปรตาม ได้แก่ การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำแนกเป็น 4 ด้านได้แก่
2.1 ด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการ
2.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ
2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ และ
2.4 ด้านการจัดให้มีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ

เครื่องมือ ( tool )
เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .97

การรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ ในระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 แบบสอบถามส่งไปจำนวน 337 ฉบับ ได้รับคืนมา จำนวน 337 ฉบับ แบบสอบถามได้คืน คิดเป็นร้อยละ 100

การวิเคราะห์
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้การหาค่าร้อยละ
2.การดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.เปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ โดยใช้การทดสอบค่าที
4.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่

ผลการวิจัย
1.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้มีการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่จัดบริการครบกับไม่ครบทุกประเภทความพิการ มีการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการช่วยเหลือนักเรียนพิการ และด้านการจัดให้มีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ส่วนด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการมีการดำเนินการไม่แตกต่างกัน
3.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ ควรจัดหาครูสอนเด็กพิการเฉพาะด้านให้เพียงพอ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ ครูกายภาพบำบัด ครูกิจกรรมบำบัด เป็นต้น ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทำตารางกิจกรรมการฟื้นฟูเด็กพิการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองสามารถนำเด็กพิการเข้ารับการฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่อง และควรจัดหาสื่อ อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับเด็กพิการแต่ละประเภทให้เพียงพอ ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยซึ่งพบว่าศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดในภาคใต้มีการดำเนินงานการจัดบริการการศึกษาสำหรับเด็กพิการทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา ค่าเฉลี่ยแต่ละด้าน ปรากฏว่าด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่นๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1ข้อเสนอแนะสำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการ โดยเน้นในเรื่องในการจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งโทรศัพท์ภายในอาคารให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท การจัดทำทางลาดเพื่อให้คนพิการทางร่างกายสามารถนำเก้าอี้ล้อเลื่อนเข้าสู่อาคาร หรือห้องเรียนได้ การจัดทำประตูที่เหมาะสมกับความพิการ การจัดทำทางเดิน ทางเชื่อม และกำหนดจุดจอดรถรับส่งคนพิการใกล้กับทางเข้าออกตัวอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการ ซึ่งรายการเหล่านี้ปรากฏว่าศูนย์มีการดำเนินการอยู่ในระดับต่ำกว่ารายการอื่นๆ
1.2ข้อเสนอแนะสำหรับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนำไปพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดให้สอดคล้องกับลักษณะและประเภทความพิการมากยิ่งขึ้น

การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

ชื่องานวิจัย/บทความ
การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
The Study of Attitudes of Instruction and Students Towards the Hearing Impairment Students and The Mainstrering Projects At Thanalongkorn Center, Rajabhat Institute Suan Dusit.

แหล่งอ้างอิง
ชื่อผู้วิจัย นายไพรวัลย์ แสงสุนทร
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Mr. Paiwan Saengsoonthon
ปริญาญาโท สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
http://www.thaiedresearch.org

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
2. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกาณ์ สถาบัน ราชภัฏสวนดุสิต

กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในศูนย์ธนาลงกาณ์และนักศึกษาภาคปกติซึ่งเรียนอยู่ศูนย์ธนาลงกรณ์ ปีการศึกษา 2543 รวมทั้งสิ้น 264 คน

ขั้นตอนการวิจัย
ความเป็นมา
แนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะจัดการศึกษาในลักษณะของการเรียนร่วม โดยจัดให้บุคลที่มีความบกพร่องเข้าเรียนร่วมในห้องเรียนเดียวกันกับเด็กปกติ และพยายามมุ่งจัดในลักษณะการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) คือ การจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนได้ศึกษาในระบบเดียวกัน โดยไม่แยกว่าเด็กพิการต้องไปอยู่ในสถานศึกษาเฉพาะ รวมทั้งเด็กนั้นต้องได้รับการสนับสนุนทุกด้าน ทั้งด้านการแพทย์ กึ่งแพทย์ วิชาการ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2543 : 2)
การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการจะสำเร็จหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะเจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งเป็นการจัดเรียนร่วมในระดับอุดมศึกษา


คำนิยาม
1. เจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนร่วม หมายถึง ท่าที ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการของบุคคลที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเต็มเวลา ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมีทั้งด้านบวก ได้แก่ อยากสนับสนุน อยากช่วยเหลือ ตระหนักในความจำเป็น และความสำคัญในการให้การศึกษาแก่คนเหล่านี้ ความเชื่อในการพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพของคนเหล่านี้ ควรตระหนักในความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนปกติ ความรู้สึกในด้านลบ คือ ตรงข้ามกับด้านบวกและความรู้สึกเฉย คือ ไม่สนใจ ไม่คัดค้าน

กรอบแนวคิด
1.ศูนย์การศึกษานอกสถาบันศูนย์ธนาลงกรณ์2.การศึกษาพิเศษ3. การเรียนร่วม

แนวทางการวิจัยวิจัยเชิงบรรยาย
ตัวแปร 1.ตัวแปรต้นได้แก่สถานภาพของอาจารย์และนักศึกษา2.ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเจตคติที่มีต่อการจัดเรียนร่วม

เครื่องมือ ( tool )
แบบสอบถาม

การรวบรวมข้อมูล
1.ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้อาจารย์และนักศึกษาภาคปกติโปรแกรมวิชาศิลปกรรมและวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถามและรับคืนภายใน4สัปดาห์2. ผู้วิจัยตรวจแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

การวิเคราะห์ และข้อสรุป
สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย S.D. และ T-test
1.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์อยู่ในระดับดี
2.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 2.1อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ข้อเสนอแนะ
1.ควรทำวิจัยในลักษณะของการจัดบริการความช่วยเหลือที่จำเป็นทางการศึกษารวมที่สอดคล้องกับนักศึกษาผู้ปกครองและครู2.ควรทำวิจัยในลักษณะของการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาเทคนิคและวิธีการสอนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษาตามสาขาที่เปิดให้มีนักศึกษาที่บกพร่องทางการได้ยินเรียนร่วม

Wednesday, July 28, 2010

Racing Wheelchair เก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อการแข่งขัน)

ชื่องานวิจัย/บทความ
Racing Wheelchair เก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อการแข่งขัน)

แหล่งอ้างอิง
Inventors: Johnson, John W. (4239 W. Lawrence La., Phoenix, AZ, 85051)
United States Patent 5028064
http://www.freepatentsonline.com/5028064.html

วัตถุประสงค์
1. เพื่อวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ ให้คนพิการได้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน ที่มีความมั่นคงและแข็งแรง
2. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขันของนักกีฬาที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นคงของเก้าอี้ ในขณะเดียวกันมีการปรับปรุงระบบการเข็นด้วยมือด้วย
3. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน มีตำแหน่งท่านั่งของนักกีฬา ในเก้าอี้ในระดับที่ต่ำ
4. เพื่อให้ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน ที่มีระบบบังคับเลี้ยวจากการควบคุมตำแหน่งของล้อด้านหลัง
5. เพื่อให้ตัวแปรแรก ที่ระบบบังคับเลี้ยวที่มีผลผ่านมาจากระบบสายเคเบิล ภายใต้การควบคุมของตำแหน่งด้านข้างของที่นั่ง ที่ขยับได้ตามแนวขวาง
6. เพื่อให้ตัวแปรที่สองที่ระบบบังคับเลี้ยว มีผลผ่านระบบเคเบิล ภายใต้การควบคุมของตำแหน่งของปลอกแขนเทียม ที่ใส่ในแขนนักกีฬาผู้พิการ

กลุ่มตัวอย่าง
การประดิษฐ์นี้ เกี่ยวข้องกับศิลปะการออกแบบของเก้าอี้ล้อเลื่อน ในการพัฒนาเพื่อการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งเก้าอี้ล้อเลื่อน ที่รวมระบบบังคับเลี้ยว ให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของนักกีฬา เป็นการออกแบบเฉพาะเพื่อใช้ในการแข่งขัน สำหรับนักกีฬาคนพิการ

ขั้นตอนการวิจัย
1.การออกแบบให้โครงสร้างสามารถปรับยืดออก และปรับลดขนาดลงได้ด้วยการปรับสลักสำหรับยึดโครงด้านข้าง ในตำแหน่งโครงหมายเลข 57
2.กำหนดล้อขับเคลื่อนเป็นล้อคู่ด้านหน้า มีขนาดใหญ่ และมีห่วงสำหรับใช้มือผลักดันให้ขับเคลื่อนไปด้านหน้า
3.ให้ล้อด้านหลังสามารถบัลคับเลี้ยวได้ ด้วยกลไกการออกแบบพ่วงสายเคเบิลส่งกำลังมาจากปลอกรัดบนแขนของนักกีฬา และมือโยก ในตำแหน่งตรงกลางของล้อหน้า ติดกับหัวเข่าของนักกีฬา
4.จัดท่านั่งของนักกีฬาให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อความมีเสถียรภาพ และมีระดับหัวเข่าอยู่สูงกว่าเบาะนั่ง
5.ที่พักเท้าด้านหน้าสามารถปรับขึ้นลงได้ ด้วยการเปลี่ยนจุดยึดของสลัก








ผลการวิจัย
ภาพรวมของเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับการแข่งขัน มีล้อขนาดใหญ่คู่หน้า รองรับด้วยโครงสร้าง มีจุดเด่นคือสามารถบังคับเลี้ยวได้ด้วยล้อหลัง ที่นั่งสำหรับนักกีฬาถูกล๊อคไว้ที่ตำแหน่งตรงกลางของโครง และการกำหนดตำแหน่งต่างๆที่ให้ตำแหน่งท่านั่งของนักกีฬา อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำมาก สวนทางกับระดับเข่าของคนขับ ที่ถูกรองรับไว้ด้วยพื้นที่ที่จัดไว้เหนือเพลาล้อ โดยมีระนาบสัมผัสด้านแนวตั้งกับขอบตัวนำ และด้านขอบท้ายของวงแหวนสำหรับขับเคลื่อน เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพในการใช้งาน ของผู้นั่งเก้าอี้ล้อเลื่อนสำหรับแข่งขัน อย่างเต็มที่ เช่นการที่พลังแขนของนักกีฬาจะไปหมุนห่วงสำหรับผลักดันที่ติดตั้งอยู่บนล้อคู่หน้า บวกกับการที่มีระบบบังคับเลี้ยวอยู่ที่ตำแหน่งล้อหลัง อาจจะทำได้ในรูปแบบต่างๆ หนึ่งในนั้น อีกอย่างหนึ่งก็คือ การส่งถ่ายกำลังผ่านสายเคเบิล ไปที่ข้อมือของนักกีฬา ซึ่งมีลักษณะการบิดกลับที่เป็นไปโดยธรรมชาติแปลงเป็นพลังงานไปสู่การบังคับเลี้ยวที่ล้อหลัง อีกจุดหนึ่งก็คือการใช้สายเคเบิลต่อกับปลอกรัดที่แขนอีกต่อหนึ่งกับนักกีฬาเพื่อให้สายส่งกำลัง ที่กำลังแนบกับไหล่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงตามความต้องการ หรือตามความสามารถของนักกีฬา อีกจุดหนึ่งที่ต้องการ ให้มือของนักกีฬาใช้ผลักดันมือโยก ให้เคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าและหลัง เพื่อให้สายเคเบิลทั้งคู่ผ่านไปยังล้อด้านท้ายที่สามารถหักเลี้ยวได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
ในขณะที่หลักการของการประดิษฐ์นี้ได้รับตอนนี้ ชัดเจนว่าในศูนย์รวมต่างๆของตัวอย่างจะมีความชัดเจนในทันที เพื่อความเชี่ยวชาญในศิลปะการปรับเปลี่ยนที่หลากหลายในโครงสร้าง การจัดสัดส่วนการจัดองค์ประกอบของวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติ
เป็นการประดิษฐ์ที่ดัดแปลงโดยเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมต่างๆ และความต้องการเฉพาะการของนักกีฬา ซึ่งดำเนินงานได้โดยไม่ต้องออกจากหลักการเหล่านั้นที่จำเป็น

วิเคราะห์และวิจารณ์
ข้อดี
ในแง่ของการใช้งาน เป็นการออกแบบเพื่อให้การใช้งานในการแข่งขันมีความเสถียรภาพในการใช้งาน เพราะออกแบบให้ท่านั่งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้จังหวะการเคลื่อนที่ของ เก้าอี้ล้อเลื่อนมีความมั่นคง โครงสร้างสร้าง แบบง่ายๆ และไม่ยุ่งยากในการผลิต มีการปรับเปลี่ยนความยาวของโครงได้ เพื่อความเหมาะสมกับนักกีฬาที่มีขนาดรูปร่างต่างกัน
ข้อเสีย
การออกแบบ และการผลิตชิ้นส่วนเพื่อจะนำมาประกอบเป็นตัวรถ ต้องมีความเที่ยงตรง และแม่นยำพอสมควร มิเช่นนั้นอาจจะทำให้การควบคุมและการบังคับเลี้ยวผิดพลาดไปจากเป้าหมายได้
ในแง่ ของการใช้งาน ต้องใช้เทคนิคสูงในการควบคุมตัวรถ และตัวนักกีฬาต้องมีการเรียนรู้ในการใช้งานให้เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงจะสามารถบังคับรถให้มีประสิทธิภาพได้

การออกแบบเบ้าขาเทียม

ชื่องานวิจัย/บทความ
การออกแบบเบ้าขาเทียม

แหล่งอ้างอิง
ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai//index.php?option=com_content&task=view&id=647&Itemid=142

วัตถุประสงค์
1.เพื่อมุ่งศึกษาและพัฒนาการนำเทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD/CAE/CAM) มาประยุกต์ใช้ในการ ออกแบบ วิเคราะห์ และผลิตเบ้าขาเทียมให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
2.นำองค์ความรู้ด้านไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element) มาใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรง/โมเมนต์ กับคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุ
3.เพื่อให้ได้คุณภาพเบ้าขาเทียมที่ผลิตจากองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะมีความสะดวกในการสวมใส่รวมถึงความสบายในการสวมใส่เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งาน

กลุ่มตัวอย่าง
หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โรงพยาบาล อนามัย สถานศึกษา และหน่วยงานวิจัย

ขั้นตอนการวิจัย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานเทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์ และผลิต (CAD/CAE/CAM) เพื่อผลิตเบ้าขาเทียมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยลดเวลาในขั้นตอนการผลิตเบ้าขาเทียมได้โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์โมเดลเบ้าขาเทียมที่ออกแบบบนคอมพิวเตอร์ก่อน ทำให้ผู้ออกแบบสามารถปรับเปลี่ยนโมเดลจนกว่าจะได้ผลการวิเคราะห์ที่พอใจก่อนการผลิตชิ้นงานจริง ทดแทนวงเวียนการวิเคราะห์ผลและการปรับโมเดลด้วยการผลิต Prototype และทดลองในผู้ป่วย
แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักดังนี้
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบเบ้าขาเทียม(CAD)
a. พัฒนาองค์ความรู้ด้าน Medical Image Processing เพื่อสร้างโมเดลตอขาสามมิติจากภาพถ่าย X-Ray, MRI, CT Scan หรืออื่นๆ เนื่องจากโมเดลตอขานี้จะถูกใช้ในการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ จึงจำเป็นต้องสร้างโมเดลกระดูกและโครงสร้างภายในของตอขาด้วย ภาพถ่ายทางการแพทย์ ทั้งภาพ X-Ray, MRI และ CT Scan สามารถให้รายละเอียดโครงสร้างภายในที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างโมเดลสามมิติได้
b. พัฒนาระบบเพื่อช่วยในการออกแบบเบ้าขาเทียม โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบเฉพาะทางจากนักกายภาพ (Prosthetist) ในการปรับแต่งลักษณะพื้นผิวของเบ้าขาเทียม เพื่อออกแบบให้น้ำหนักของผู้ป่วยกดลงในจุดที่สามารถรับแรงได้มากกว่าจุดอื่นๆ(Rectification)
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม(CAE)
a. การใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม โดยศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อสุขภาพและความสบายในการสวมใส่ของผู้ป่วยในอิริยาบถต่างๆ
3. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตเบ้าขาเทียม(CAM)
a. ผลิตเบ้าขาเทียมด้วยเทคโนโลยีRapidPrototyping
b. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการผลิต



ภาพขั้นตอน การสร้างโมเดลตอขาสามมิติจากภาพถ่าย X-Ray





ภาพแสดงการใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม
โดยศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ


ภาพ การผลิตเบ้าขาเทียมด้วยเทคโนโลยี Rapid Prototyping

ผลการวิจัยและประโยชน์ที่ได้รับ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ของฟีโบ้ คือเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อคนสูงวัย ทั้งนี้เป็นการสร้างประโยชน์โดยตรงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยซึ่งด้อยโอกาส ให้เป็นผู้ได้รับโอกาส และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีศักยภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังส่งผลลัพท์ไปถึงการเพิ่มความเข้มแข็งด้านความสามารถทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของประเทศไทยในเวทีโลกอีกด้วย ภาครัฐและเอกชนใดที่ต้องการร่วมงานและใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ ตลอดจนบุคคล/นิติบุคคล ที่ต้องการสนับสนุนทุนวิจัย
แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
1.เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2.เขียนเอกสารเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการระดับประเทศ
3.จัดแสดงผลงานในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง
4.นำผลงานวิจัยไปทดลองให้กับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิงานใช้งานและเก็บบันทึกผลการทดลอง

วิเคราะห์และวิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่อวัยวะส่วนขาขาดหายไป ซึ่งสามารถทำได้โดยการผลิตเข้าขาเทียมขึ้นมาทดแทนได้ แต่ในปัจจุบันการหล่อเบ้าขาเทียมจะใช้วิธีการหล่อจากต้น แบบขาจริงขิงผู้พิการซึ่งให้ความแม่นยำในสัดส่วน ระดับหนึ่งเท่านั้น การนำเทคโนโลยีระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์แบบเบ้าขาเทียม จะช่วยให้การวะเคราะห็ในส่วนต่างๆของโครงสร้างตอขาที่เหลืออยู่ของผู้พิการนั้น มีความแม่นยำ ถกต้องเที่ยงตรงมากขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญ เช่น การศึกษาลักษณะของตัวแปรต่างๆ เช่น แรงดันสัมผัส การกระจายแรง ความเครียด และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อสุขภาพและความสบายในการสวมใส่ของผู้ป่วยในอิริยาบถต่างๆ

Elderly People Sit to Stand Transfer Experimental Analysis

ชื่องานวิจัย/บทความ
Elderly People Sit to Stand Transfer Experimental Analysis

ผู้เขียน
P. M´ed´eric, V. Pasqui, F. Plumet and P. Bidaud
Laboratoire de Robotique de Paris (LRP)
CNRS FRE 2507 - Universit´e Pierre et Marie Curie, Paris 6
18, route du Panorama, BP 61, 92265 Fontenay-aux-Roses, France

แหล่งที่มา ไม่ระบุ

วัตถุประสงค์งานวิจัย
เพื่อศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ช่วยลุกขึ้นยืน (walker) ที่เหมาะสมโดยดูจากแรงกดที่กระทำขณะมีการเปลี่ยนท่าจาก นั่งขึ้นยืน

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
ผู้ป่วยสูงอายุจำนวน 19 คนในโรงพยาบาล Charles-Foix

ขั้นตอนงานวิจัย
1. มีการวัดแรงกดจากการเปลี่ยนท่าทางจาก นั่งไปยืน โดยใช้ สัญญาณรับอยู่ที่มือจับทั้งสองข้าง
2. นำมาทดลองโดยให้ผู้ป่วยสูงอายุ จำนวน19 คนในโรงพยาบาล Charles-Foix มาลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง พบว่า 2 คนไม่สามารถลุกขึ้นได้ โดยจำนวน 2 คนนั้นเป็น acute hemiplegia ซึ่งไม่สามารถลุกขึ้นได้เองโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ช่วย
3. นำทิศทางและค่าแรงกดที่ได้มาออกมาวิเคราะห์

ผลการทดลอง
1. พบว่าผู้ป่วยออกแรงกดที่ ไม้ 2 ข้าง เก้าอี้ และพื้นเพิ่มขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนท่าจากนั่งไปยืน
2. พบว่ามีการโน้มมาด้านหน้าของขาและลำตัวด้วยแรงเฉื่อย

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย
1. ทราบถึงการตรวจที่เหมาะสมเสมือนจริงก่อนออกแบอุปกรณ์ได้
2. ทราบถึงการถ่ายน้ำหนักจากการลุกขึ้นยืน

วิเคราะห์งานวิจัย
1. เป็นการประเมิณผู้ใช้ที่ดี โดยให้ผู้ใช้มาทดสอบการใช้ และบันทึกค่าไว้ เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้อย่างแท้จริง
2. แต่ควรมีการเข้าใจถึงพยาธิสภาพและอาการความรุนแรงของผู้ใช้เพื่อให้ออกแบได้เหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วย acute hemiplegia นั่นไม่สารถใช้ walker ที่มีมือจับ 2 ข้างได้
3. ไม่มีการแจ้งถึง โรค ความรุนแรง เพศ อายุ และโรคประจำตัวของผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลสืบเนื่องในการทรงตัวจากการลุกนั่งได้

Clinical gait and stepping performance measures in older adults

ชื่องานวิจัย/บทความ
Clinical gait and stepping performance measures in older adults

ผู้เขียน N. B. Alexander & A. Goldberg

แหล่งที่มา Eur Rev Aging Phys Act (2006) 3:20–28

วัตถุประสงค์งานวิจัย
เพื่อรวบรวมการทดสอบสมรรถภาพในการวัดความสามารถยืน เดิน ของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถนำมาใช้ตรวจประเมิณในการยืนเดินได้จริง โดยตรวจประเมินได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถนำมาประเมินประเมิณผู้สูงอายุกับการป้องกันการล้มในการดำเนินชีวิตประจำวัน

กลุ่มผู้เข้ารวมงานวิจัย
ผู้สูงอายุ

ขั้นตอนและผลงานวิจัยรวบรวมงานวิจัย
การทดสอบด้านความเร็วในการเดิน
- Usual and maximal gait speed ผู้สูงอายุมากกว่า75 ปี ให้ทดสอบด้วยความเร็วในการเดินปกติ ภายในระยะทางสั้นๆ ประมาณ 5 เมตร ส่วนผู้สูงอายุ 65-74 ปี สามารถใช้การทดสอบด้วยความเร็วสูงสุดได้
- Maximum walking speed ใช้การเดิน 30 ฟุต แล้วเดินกลับ ผลของความเร็วคือ สุขภาพสมบูรณ์ ความเร็ว > 1.3 เมตร
ปกติ ความเร็ว > 0.6 เมตร แต่< 1.0 เมตร
- การประเมิณซ้ำในผู้ป่วย stroke และ OA knee ในระยะแรกกับระยะฟื้นตัวพบว่ามีความเร็วที่แตกต่างกัน โดยความเร็วดีขึ้นจากเดิม
- Six minute walk test ใช้ทดสอบความทนทานของระบบหัวใจและปอด ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่อยู่ในโรงพยาบาล และมีเครื่องคอยแสดงผลการทำงานของหัวใจและปอด โดยเดินบน treadmill ทั่วไป
- Long distance corridor walk เดินในความที่มากกว่า 20 เมตร โดยภายใน 2 นาที ต้องได้ความเร็วที่มากกว่า 400เมตร

การตั้งอุปกรณ์ที่แตกต่าง
- Dynamic gait index ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการเดินรวมถึงการเปลี่ยนความเร็ว การหันศรีษะ หันลำตัว การขึ้นบันได โดยเทียบการทดสอบจากปกติ แสดงผลว่ามีความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกับการทรงตัวอย่างมีนัยสำคัญ
- Emory functional ambulation profile วัดความแตกต่างใน 5 สภาพแวล้อมที่เปลี่ยนไป คือ 1.) เดินบนพื้นแข็ง 5 เมตร 2.) เดินบนพรม 5 เมตร 3.) เดินจับเวลา 4.) ก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง 5.) เดินขึ้นบันได 4 ขั้น แล้วหมุนตัวกลับลงมาที่เดิม
- Short physical performance battery จับเวลาในการลุกจากเก้าอี้ และเดินต่อ 8 เมตร
- Functional ambulation classification โดยวัดจากการเดินในระยะที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่นระดับ ความสูง เป็นต้น
- Functional obstacle course เดินในรอบๆบ้าน โดยเดิน 100 เมตรบนพื้นที่มีความต่างกัน การลงทางลาด การลงบันได และการเดินเป็นวงกลม โดยดูจากเวลา และคุณภาพที่ได้
- Gait abnormality rating scale เป็นการใช้กล้อง จักตาดูการเคลื่อนไหวของแขน ขา และลำตัว ตลอดแต่ละขั้นตอนการเดิน
- Performance-oriented mobility assessment เป็นที่นิยมใช้ ทดสอบกันได้ง่าย โดยใช้ปัจจัยในการมองและสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ลุกจากเก้าอี้ ปิดตา หมุนตัว เป็นต้น
- Timed up and go test โดยการลุกจากเก้าอี้ เดินต่อเนื่อง 3 เมตร หมุนตัว และกลับมานั่งที่เก้าอี้

การเดินที่แตกต่างกัน
- Stops walking while talking test เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องในการเดินในสถานที่ต่างๆ
- Timed up and go test ร่วมกับการถือแก้วน้ำโดยเทน้ำให้เหลือน้ำห่างจากปากแก้ว 5 เซนติเมตร

การทดสอบการเริ่มต้นในการก้าวเดิน
โดยดูจากการวางเท้า การก้าวเดิน การตอบสนองกบแสงสว่าง
- Maximal step length โดยนำค่าการก้าวขาที่มากที่สุดมาประเมิณ การทรงตัว การเสี่ยงต่อการล้ม การทนทานของการเคลื่อนไหว และการทรงตัวที่มีปัญหา
- Rapid step test โดยการก้าว 24 ก้าวในการใน 3 ทิศทาง โดยก้าวขาข้างเดียวตามคำสั่ง
- Four square step test คือด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย
- ทราบถึงความเหมาะสมในการเลือกการทดสอบให้เหมาะกับผู้เข้าร่วมการทดลอง
- ทราบถึงการหลากหลายของการทดสอบสมรรถภาพในการทรงตัวในผู้สูงอายุสามารถเลือกนำมาคัดกรองเบื้องต้นในการรักษา หรือในการทำการวิจัยต่อไปได้

วิเคราะห์งานวิจัย
มีการเปรียบเทียบของการทดสอบสมรรถภาพในการประเมิณกลุ่มเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการแตกต่างในขั้นตอนงานวิจัย ทำให้ผู้ใช้สามรถเลือกนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

The spasticity paradox: movement disorder or disorder of resting limbs?

ชื่องานวิจัย/บทความ
The spasticity paradox: movement disorder or disorder of resting limbs?

แหล่งที่มา
www.ncbi.mlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th ค้นหาคำว่า spasticity,movement disorder

วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบทิศทางของ reflex และแรงต้านของข้อต่อ (resistive torque )ในรยางค์ที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งต้าน (spastic) และรยางค์ปกติ

กลุ่มตัวอย่าง
1. คนปกติ 13 คน อายุ 20 - 70 ปี ไม่มีความผิดปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อและระบบประสาท
2. ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 8 คน มีเงื่อนไขดังนี้
2.1 เป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
2.2 มีภาวะเกร็งต้านในระดับ ค่า Ashworth score ไม่ต่ำกว่า 1
2.3 ไม่มีปัญหาความบกพร่องทางการรับความรู้สึก (sensory impairment)
2.4 ไม่ทานยาลดเกร็ง
2.5 ไม่มีการผิดรูปมาจากกล้ามเนื้อหดสั้น (Contracture)
ขั้นตอนการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างนั่งเก้าอี้ ในคนปกติทดสอบแขนขวาส่วนกลุ่มอัมพาตครึ่งซีกทดสอบแขนข้างที่มีปัญหา โดยให้กางไหล่ 90 องศาและงอข้อศอก 90 องศา ปลายแขนกึ่งคว่ำ วางบนที่รองแขน มีคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุม DC torque-servo motor วัดการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง EMG ที่กล้ามเนื้อ biceps brachii และ ที่จุดเกาะด้านนอกของ triceps
2. วัดค่า มุมของข้อศอก แรงต้านเกร็ง ( resistive torque ) การทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง EMG ขณะงอและเหยียดข้อศอก โดยวัดค่าการทำงานของกล้ามเนื้อขณะงอและเหยียดข้อศอกมากที่สุด ( maximum voluntary contraction (MVC)) ก่อนทำการทดสอบ
3. ในกลุ่มปกติให้งอข้อศอกช้า ๆ ด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ 2.5 %, 5 %, 7.5 %, 10 %, 12.5 %, และ15% ของ MVC ค้างไว้อย่างละ 60 วินาที ส่วนในกลุ่มอัมพาตครึ่งซีกให้งอข้อศอกที่ 15 % ของ MVC ทำ 6 ครั้ง

ผลการวิจัย
1. ในขณะพักมีการทำงานของกล้ามเนื้อวัดด้วยเครื่อง EMG โดยเฉพาะกล้ามเนื้องอข้อศอก และมีแรงต้านเกร็งของข้อต่อเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง
2. ระดับของค่าแรงเกร็งต้าน (torque) ของทั้งกล้ามเนื้องอและเหยียดข้อศอกไม่แตกต่างกัน โดยค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% ของ MVC ขณะพัก และในกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่าแรงเกร็งต้าน (torque) ของทั้งกล้ามเนื้องอและเหยียดข้อศอกเป็น 25%ของกลุ่มปกติ
3. ในทั้งสองกลุ่มตัวอย่างกราฟของทิศทางของ reflex เป็นลักษณะกราฟเส้นตรง (p , 0.0001; linear regression) ที่มีความชันเพิ่มขึ้นแต่ค่าความชันไม่มีนัยสำคัญ
4. กลุ่มอัมพาตครึ่งซีกมีช่วงของค่า reflex เปลี่ยนแปลงน้อยกว่ากลุ่มปกติ เพราะมีการลดลงของค่าสูงสุดของระดับการหดตัวจากกล้ามเนื้อจากการอ่อนแรง และมีการเพิ่มขึ้นของการหดตัวในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงทิศทางของ reflex และแรงต้านของข้อต่อ (resistive torque )ในรยางค์ที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งต้าน (spastic) และรยางค์ปกติ
2. ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดีกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการวิจัย รวมถึงอธิบายผลที่ได้ไว้อย่างละเอียด แสดงค่าความน่าเชื่อถือในงานวิจัยในแต่ละหัวข้ออย่างชัดเจน

Virtual Reality-based System for Ankle Rehabilitation Post Stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
Virtual Reality-based System for Ankle Rehabilitation Post Stroke

แหล่งที่มา
http://scholar.google.co.th
สืบค้นคำ telerehabilitation, force feedback, ankle rehabilitation, Rutgers Ankle, virtual reality

วัตถุประสงค์
ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้า (Virtual Reality-based System)เพื่อใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและนำมาทดลองใช้จริง

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3 คน ซึ่งเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 1- 8 ปี

ขั้นตอนการวิจัย
1. ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยนำข้อเท้าแบบหุ่นยนต์ชนิด Rutgers 2 ชิ้น มาควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (PC) และระบบหน้าจอแสดงผล ซึ่งข้อเท้าแบบหุ่นยนต์ ประกอบไปด้วย แผ่นรองเท้าชนิด Stewart ออกแบบให้สามารถยึดกับข้อเท้าผู้ใช้และมี 6DOF เป็นตัววัดค่าแรง (force)และแรงเกร็งต้าน (torque) ซึ่งข้อเท้าแบบหุ่นยนต์จะติดกับตัวรองรับที่พื้น มีการควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าและแรงอัด และใช้ระบบ low – level servo control software เป็นระบบควบคุม โดยออกแบบการฝึกโดยใช้เกมส์ ใช้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วยในการฟื้นฟูซ้ำ ๆ เช่น การบังคับการบินของเครื่องบินและการขับเรือ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายของผู้ถูกฝึก ผู้ฝึกสามารถปรับระดับความยาก เพื่อให้เหมาะสมกับตัวผู้ถูกฝึกได้ เช่น การปรับสภาวะอากาศ ปลอดโปร่ง ฝนตก มีหมอก อากาศแปรปรวนและมีการมองทัศวิสัยลดลง 50 % เป็นต้น โดยผู้ถูกฝึกสามารถควบคุมเกมส์ที่หน้าจอโดยใช้เท้า (foot joystick) และเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวข้อเท้าไว้ในคอมพิวเตอร์และแปลผล
2. ทดสอบผลการใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดให้มีการฝึก ครั้งละ 1 ชั่วโมง ฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ดังนี้
2.1 กลุ่มตัวอย่างนั่งบนเก้าอี้ที่ปรับระดับได้ วางเท้าไว้บนแผ่นรองเท้า ดูการกระตุ้นการฝึกที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การบังคับการบินของเครื่องบินและการขับเรือ และควบคุมโดยใช้เท้า (foot joystick) มี 2 คน ใช้การการฝึกโดยใช้เกมส์เครื่องบิน และมี 1 คนที่ใช้การการฝึกโดยใช้เกมส์เรือ
2.2 ข้อมูลที่ได้จากแผ่นรองเท้าจะบอกค่า 3 ค่า ได้แก่ ค่ามุมของข้อเท้าซึ่งได้จากการเปลี่ยนตำแหน่งของเส้น 6 เส้นตรงที่ขนานกับตำแหน่งข้อเท้า ค่าแรงและค่าแรงต้านเกร็งวัดได้จาก 6DOF ซึ่งมีตัวจับสัญญาณเมื่อแผ่นรองเท้าเคลื่อนที่

ผลการวิจัย
1. เวลาที่ใช้ในการทำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่นาทีที่ 20 ในครั้งแรก และเวลาที่ใช้ในการทำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่นาทีที่ 50 ในสัปดาห์ที่ 4
2. 2 ใน 3 คนสามารถควบคุมการฝึกได้ดี โดยไม่ต้องการให้มีการจำกัด
3. ทั้ง 3 คนมีแรงเพิ่มขึ้นในทุกการเคลื่อนไหว มีผลทำให้เดินได้เร็วขึ้น
4. 1 ใน 3 คนมีความทนทานในการเดินมากขึ้น เดินได้นานขึ้น จากการวัดค่า six – minute walk test จากระยะทาง 995 ฟุต เป็น 1085 ฟุต และมีแรงเพิ่มขึ้นทั้งในการเคลื่อนที่แนว vertical และ horizontal

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงวิธีการพัฒนาออกแบบรวมถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้า Virtual Reality-based System ในการใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
2. ทราบถึงผลการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าโดยใช้ Virtual Reality-based System เพื่อใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการอธิบายการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเท้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างละเอียด แต่ในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยทำให้ผลการวิจัยดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ในวิธีการวิจัยได้กล่าวถึงการวัดแรงเกร็งต้าน และมุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า แต่ในผลการวิจัยไม่ได้กล่าวถึงค่านี้เลย และในงานวิจัยนี้ไม่มีการแสดงค่าความน่าเชื่อถือของการวัดค่าต่าง ๆ

Friday, July 23, 2010

Biomechanical changes at the ankle joint after stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
Biomechanical changes at the ankle joint after stroke

แหล่งที่มา
www.ejournal.mahidol.ac.th สืบค้นคำว่า ankle ,stroke,passive movementr

วัตถุประสงค์
1.ศึกษาหาการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะข้อเท้าติดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและคนปกติที่มีความผิดปกติของระบบโครงร่างของเท้า

กลุ่มตัวอย่าง
1.ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 15 คน มีเงื่อนไขดังนี้
1.1 มีปัญหาสมองขาดเลือด (ischemic stroke) จากเส้นเลือด middle cerebral artery ข้างใดข้างหนึ่ง เป็นมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
1.2 ไม่ได้รับยาต้านเกร็ง
1.3 มีโปรแกรมทำกายภาพบำบัดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
1.4 มีประวัติการรักษาที่ชัดเจน
2.กลุ่มคนปกติ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม มีเงื่อนไขดังนี้
2.1 กลุ่มที่ 1 มี 10 คน ประวัติไม่มีปัญหาทางระบบประสาทและกระดูก
2.2 กลุ่มที่ 2 มี 5 คน มีปัญหาทางกระดูกของเท้า ซึ่งมักเกิดจากความหลากหลายของรูปทรงกระดูก เช่น เท้าแบน เท้าโก่ง แต่ไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ เดินได้ปกติ ไม่ปวด สามารถนั่งยอง ๆ ด้วยส้นเท้าได้

ขั้นตอนการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างนั่งบนเก้าอี้ในลักษณะผ่อนคลาย วางขาที่จะทดสอบที่อุปกรณ์ดังรูป งอเข่า 105 องศาและยึดติดไว้ วางเท้าที่แผ่นรองน้ำหนักเท้าและยึดติด ซึ่งแกนโครงสร้างของข้อเท้าอยู่ในแนวแกนของแผ่นรองน้ำหนักเท้า ซึ่งมีแกนเหล็กตรงติดเชื่อมอยู่ แรงต้านจะส่งมาที่แผ่นรองน้ำหนักเท้าซึ่งสามารถเคลื่อนขยับแบบคานได้ การขยับของแกนหมุนจะสามารถบอกมุมของข้อเท้าได้ การวัดค่าแรงเกร็งต้านแสดงค่าโดยใช้ piezo – element ติดตั้งที่แกนเหล็กตรง วัดค่าบอกตำแหน่ง โดย potentiometer ติดตั้งที่แกนหมุนข้อเท้า



2.ก่อนวัดมุมข้อเท้าอยู่ในมุมเริ่มต้น 90 องศา มุมระหว่าง anterior margin of tibia กับ หลังเท้า (sole of foot) โดยแรงและตำแหน่งเริ่มที่ตำแหน่งนี้
3.ขยับข้อเท้าช้า ๆ จากกระดกข้อเท้าขึ้นและลง ในความเร็ว 5-8 องศาต่อวินาที (1 รอบใช้เวลา 75 วินาที) วัดค่า การทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้ EMG ที่กล้ามเนื้อ tibialis anterior (TA) และ tricepa surae (TS)

ผลการวิจัย
1.พบแรงต้านเล็กน้อยของการกระดกข้อเท้าขึ้นในช่วงที่กว้าง ที่มุม 90 องศาและ 110 องศา โดยเริ่มมีแรงต้านช้า ๆ ที่ 70 องศา และเพิ่มอย่างรวดเร็วในมุมที่ต่ำกว่า 60 องศา การกระดกข้อเท้าลงเริ่มมีแรงต้านที่ 110 องศา และจำกัดการเคลื่อนไหวในมุม 130 องศา
2.ลักษณะกราฟแรงต้านของทั้งสองข้างข้อเท้าไม่แตกต่างกัน แรงต้านขณะกระดกข้อเท้าขึ้นและลงที่มุมระหว่าง 95 องศาถึง 110 องศาไม่แตกต่างกัน
3.ข้อเท้าด้านตรงข้ามกับสมองที่มีปัญหามีข้อเท้าติด ที่มุม 90 องศา และ 70 องศา

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะข้อเท้าติดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและคนปกติที่มีความผิดปกติของระบบโครงร่างของเท้า

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้อย่างละเอียด ในกลุ่มคนปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ไม่ได้รายงานผลความแตกต่างทางชีวกลศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงของ 2 กลุ่มนี้ อธิบายวิธีการวิจัยไว้ค่อนข้างสับสน มุมการวัดการเคลื่อนไหวข้อเท้ากำหนดให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากค่าปกติของการขยับข้อเท้าอยู่ที่กระดกข้อเท้าขึ้นได้ 20 องศา ส่วนกระดกข้อเท้าลง 50 องศา แต่ในงานวิจัยกำหนดให้มุมที่ขนานทำกับแนว anterior margin of tibia เป็น 0 องศา และกำหนดมุมปกติของข้อเท้าเป็น 90 องศา ทำให้เกิดมุมที่ข้อเท้าไม่สามารถขยับถึงได้ เช่น มุมที่เกิน 110 ขึ้นไป และมุมที่ต่ำกว่า 40 องศา แต่ในงานวิจัยนี้มีค่าในตำแหน่งของมุมที่ 130 องศาด้วย

Biomechanic Changes in Passive Properties of Hemiplegic Ankles With Spastic Hypertonia

ชื่องานวิจัย/บทความ
Biomechanic Changes in Passive Properties of Hemiplegic Ankles With Spastic Hypertonia

แหล่งที่มา
http://www.ejournal.mahidol.ac.th/
สืบค้นคำว่า Ankle, Contracture, Hemiplegia, Muscle, Spasticity, Rehabilitation

วัตถุประสงค์
ศึกษาหาการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ทั้งกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantarflexor) และกระดกข้อเท้าขึ้น (dorsiflexor) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก โดยใช้ Well-control device ดูผลแรงเกร็งต้านของข้อเท้าขณะขยับข้อเท้าให้ (passive resistance torque), มุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า (Rance of motion), แรงต้านจากข้อติด (quasistatic stiffness), พลังงานที่สูญเสียไป (dorsiflexion energy loss) รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณสมบัติข้างต้นกับการวัดค่าภาวะเกร็งต้านโดยใช้ Modified Ashworth Scale (MAS)

กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 24 คน เป็นผู้ชาย 15 คน ผู้หญิง 9 คน มีเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 ปี
2. มีปัญหาข้อเท้าเกร็ง (spastic hypertonia) วัดค่าภาวะเกร็งต้านโดยใช้ Modified Ashworth Scale (MAS) วัดขณะเข่างอ 60 องศา โดยค่าต้องไม่ต่ำกว่า 3
3. ไม่มีภาวะบาดเจ็บที่ข้อเท้า ไม่เคยผ่าตัด ไม่เคยฉีดยาทำลายประสาท
2. คนสุขภาพแข็งแรง 32 คน เป็นผู้ชาย 17 คน ผู้หญิง 15 คน ไม่มีภาวะบาดเจ็บและไม่เคยผ่าตัดข้อเท้าและเท้า กำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม

ขั้นตอนการวิจัย
1. ติดตั้งอุปกรณ์ custom-designed joint driving device ซึ่งสามารถควบคุมความเร็วได้และจะช้าลงเมื่อมีแรงเกร็งต้านเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อต่อและกล้ามเนื้อจะขยับภายใต้การควบคุมแรง ซึ่งมีผลกระตุ้นรีเฟล็กซ์น้อยมาก
2. กลุ่มตัวอย่างนั่งบนเก้าอี้รัดต้นขาและลำตัวติดกับเก้าอี้ ข้อเข่างอ 60 องศา เท้าวางบนแผ่นรองเท้าและรัดไว้ มีตัวเซ็นเซอร์วัดค่า 6 แกน โดยใช้วัดแรงเกร็งต้านที่ข้อเท้า (passive resistance torque), วัดค่า แรงต้านจากข้อติด (quasistatic stiffness) และค่าพลังงานที่สูญสียไป (dorsiflexion energy loss)




3. ติดแผ่นสื่อไฟฟ้า (electrode) ที่กล้ามเนื้อ tibialis anterior,medial และ lateral, gastrocnemius และ soleus เพื่อวัดการทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้ electromyographic ขณะทำการขยับข้อเท้าให้ (passive movement)
4. กำหนดให้ให้ค่ามุมปกติของข้อเท้าเป็น 90 องศา โดยวัดทำมุมกับแกนความยาวของขา วัดแรงเกร็งต้านที่ข้อเท้า (passive resistance torque) ก่อนขยับโดยเครื่อง ขยับข้อเท้าให้ทั้งกระดกข้อเท้าขึ้นลงโดยใช้ custom-designed joint driving device โดยขยับ 90 ครั้งต่อวินาที ซึ่งสามารถควบคุมการจัดท่า ความเร็วและแรงเกร็งต้าน (passive resistance torque) โดยกำหนดให้มีแรงเกร็งต้านเพิ่มขึ้นขณะขยับข้อเท้าได้ที่ 10 Nm
5. วัดมุมข้อเท้า(range of motion) จากการวัดมือ

ผลการวิจัย
1. ผลของการเปรียบเทียบการกระดกข้อเท้าขึ้น (dorsiflexion)ในกลุ่มหลอดเลือดสมองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มหลอดเลือดสมองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โดยกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่า 3 ค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมได้แก่ ค่า passive resistance torque (9.51_4.79Nm vs 6.21_3.64Nm, P_.016) ซึ่งเริ่มพบแรงต้านที่มุมกระดกข้อเท้าขึ้น 10 องศา, ค่า quasistatic stiffness (.54_.19Nm/deg vs .35_.20Nm/deg, P_.001) ที่มุม 10 องศาและค่า dorsiflexion energy loss (.06_.04J/deg vs .04_.02J/deg, P_.037) แต่ค่า range of motion (10.77°_8.69° vs 20.02°_11.67°, P_.014) ซึ่งกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่ามุมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
2. ผลของการเปรียบเทียบการกระดกข้อเท้าลง (plantarflexor)ในกลุ่มหลอดเลือดสมองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มหลอดเลือดสมองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่า 3 ค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมได้แก่ ค่า passive resistance torque (_1.90_1.84Nm vs _.58_1.92Nm, P_.038) , ค่า quasistatic stiffness (.20_.14Nm/deg vs .11_.09Nm/deg,P_.001) ที่มุมกระดกข้อเท้าลง 30 องศาและค่า dorsiflexion energy loss (.03_.01J/deg in stroke vs .02_.01J/deg in controls) ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่า range of motion (36.23°_7.63° vs_46.01°_9.65°,P_.002) ซึ่งเป็นมุมขณะมีแรงเกร็งต้าน 3 Nm ซึ่งกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่ามุมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
3. ผลเปรียบเทียบแรงเกร็งต้านขณะทำการขยับข้อเท้าให้ทุก ๆ มุม1 องศา ในทั้งสองกลุ่ม ดังนี้ ในกลุ่มหลอดเลือดสมองมีแรงต้านเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงมุมกระดกข้อเท้าขึ้น 4 องศาและพบมีแรงต้านเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงมุมกระดกข้อเท้าลง 28 องศา มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ส่วนค่า ค่า quasistatic stiffness ในกลุ่มหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ทั้งการกระดกข้อเท้าขึ้นและลง
4. MAS score ของค่าแรงเกร็งต้านกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลงมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติหลังขยับข้อเท้าให้ทุกข้อ ยกเว้น พลังงานที่สูญเสียไป เมื่อวัดค่าความสัมพันธ์โดย Kendall T ระหว่าง the MAS and the passive resistance torque ที่ 10° ของมุมกระดกข้อเท้า (T =.255), มุมกระดกข้อเท้าขึ้นที่แรงต้าน 10Nm (T =.323) และ quasistatic stiffness ที่ 10° ของมุมกระดกข้อเท้า (T =.312) มีความสัมพันธ์ต่ำ และใช้ค่า Paerson r ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติหลังขยับข้อเท้าให้ในทุก ๆข้อ พบมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ทั้งกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantarflexor) และกระดกข้อเท้าขึ้น (dorsiflexor) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2. ทราบถึงความสัมพันธ์ของคุณสมบัติข้างต้นกับการวัดค่าภาวะเกร็งต้านโดยใช้ Modified Ashworth Scale (MAS)

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดีมีการกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างไว้ชัดเจน แต่ระบุแค่ต้องการคนที่มีปัญหาข้อเท้าเกร็ง (spastic hypertonia) วัดค่าภาวะเกร็งต้านโดยใช้ Modified Ashworth Scale (MAS) โดยค่าต้องไม่ต่ำกว่า 3 แต่ไม่ได้กล่าวถึงการระบุปัญหาทางด้าน muscle length ซึ่งน่าจะมีผลต่อการทดลองนี้ เนื่องจากถ้ามีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น (contracture) ก็จะไม่สามารถขยับและทำการวิจัยได้ และในคนที่มี muscle length ต่างกันย่อมให้ผลต่อแรงต้านต่างกัน ควรมีการวิจัยต่อยอดในเรื่องของผลของการขยับข้อต่อให้ในกลุ่มอาการอื่น ๆ หรือตำแหน่งอื่น ๆ

Tuesday, July 20, 2010

การศึกษาสภาพและความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนักศึกษาพิการในสำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวน ดุสิต

ชื่องานวิจัย/บทความ
การศึกษาสภาพและความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนักศึกษาพิการในสำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวน ดุสิต
แหล่งที่มา ไม่ระบุ
วัตถุประสงค์
1) สภาพปัจจุบันในการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวกและบริการสำหรับนักศึกษาพิการในสำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
2) ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของนักศึกษาพิการใน สำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
3) ปัญหา อุปสรรค การรับบริการของนักศึกษาพิการใน สำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริการห้องสมุด จำนวน 38 คน และนักศึกษาพิการที่ใช้บริการห้องสมุด จำนวน 83 คน
ขั้นตอนการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดประชากร
2.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
3.กำหนดเครื่องมือ
4.การสร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ
5.การหาคุณภาพของเครื่องมือ
6.การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
จากการทำวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1. สภาพการจัดบริการบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการใน สำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต แบ่งการจัดบริการออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านบุคลากร สิ่งที่มีให้บริการได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักศึกษาฝึกงานในสำนักวิทยบริการ
2) ด้านอาคารสถานที่สำหรับผู้รับบริการที่เป็นคนพิการทางการเห็น การแสดงสัญลักษณ์อำนวย ความสะดวกในการบอกทิศทางบริเวณอาคารห้องสมุดสำหรับนักศึกษาพิการทางการเห็น เฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักวิทยบริการเหมาะสมกับนักศึกษาพิการทางการเห็น ลิฟท์ภายใน อาคารสำนักวิทยบริการมีอักษร เบรล์ลให้กดเลือกชั้น ด้านอาคารสถานที่สำหรับผู้รับบริการพิการ ทางการได้ยิน มีสัญลักษณ์บอกทิศทางอย่างชัดเจน ด้านอาคารสถานที่สำหรับผู้รับบริการพิการทาง กายหรือการเคลื่อนไหว การจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาดขึ้นลง ราวจับที่ทาง ลาด ประตูทางเข้าที่ได้ขนาดเหมาะสมกับคนใช้รถเข็น ลิฟท์ ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
3) ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับบริการที่เป็นคนพิการ เทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกที่เอื้อต่อผู้รับบริการที่เป็นนักศึกษาพิการโดยเฉพาะ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่อง CCTV
4) ด้านทรัพยากรสารนิเทศ การตรวจสอบทรัพยากรสารนิเทศให้มีสภาพที่พร้อมให้ บริการอย่างสม่ำเสมอ เนื้อหาของสิ่งพิมพ์หรือสิ่งไม่ตีพิมพ์ตรงกับความต้องการของคนพิการ หนังสือ/วารสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนพิการและ ทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ ที่จัดทำในรูปสื่อที่คน พิการใช้ได้
5) ด้านการให้บริการ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบริการของห้องสมุดในรูป สื่อที่นักศึกษาพิการเข้าถึงได้ง่าย
2. ความต้องการในการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการจาก ผู้ให้บริการในสำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏสวนดุสิตอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ระดับความ ต้องการที่มากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยีสำหรับคนพิการต้องการให้มีคุณภาพของเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกที่ให้บริการ
3. ความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในสำนักวิทยบริการ สำหรับนักศึกษาพิการทางการเห็นศึกษา ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ด้านเทคโนโลยี สำหรับคนพิการทางการเห็น ด้านโปรแกรมอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการเห็น ด้านทรัพยากรสารนิเทศ และด้านบริการพบว่ามีความต้องการระดับมากในทุกด้าน ปัญหาอุปสรรค ที่พบคือการจัดบริการที่บางครั้งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทางการเห็นได้ดี ไม่มีหนังสืออักษรเบรลล์ การเข้าไปใช้บริการในสำนักวิทยก็ไม่สามารถใช้บริการคอมพิวเตอร์ได้ สะดวกเนื่องจากไม่มีโปรแกรมในการอำนวยความสะดวก
4. ความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนักศึกษาพิการทาง การได้ยินได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ด้านเทคโนโลยีสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ด้านทรัพยากรสารนิเทศ และด้านบริการพบว่ามีความต้องการระดับมากในทุกด้าน ประเด็นที่มี ความต้องการมากที่สุดคือต้องการบริการให้ยืมวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา พิการ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ด้านบุคลากรที่ขาดล่ามภาษามือคอยให้บริการ และเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ ทำงานในสำนักวิทยบริการไม่รู้ภาษามือ ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสาร ด้านทรัพยากรสารนิเทศที่ไม่ตีพิมพ์ไม่มีคำบรรยายที่เป็นภาษามือ
5. ความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนักศึกษาพิการทาง กายหรือการเคลื่อนไหวได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ด้านเทคโนโลยีสำหรับคนพิการทาง กายหรือการเคลื่อนไหว ด้านทรัพยากรสารนิเทศ และด้านบริการพบว่ามีความต้องการระดับมากที่สุดในด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ผู้ให้บริการในห้องสมุดไม่ทราบถึง วิธีการให้บริการ ด้านอาคารสถานที่ไม่สามารถเข้าใช้บริการในส่วนที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.คนพิการสามารถใช้บริการและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศที่ต้องการได้มากที่สุด
2.คนพิการได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้พิการ เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ทางสำนักวิทยบริการได้จัดขึ้นมีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับผู้รับบริการที่เป็นคนพิการเพียงใด
3.ส่งเสริมให้ผู้รับบริการที่เป็นคนพิการรับรู้ถึงการบริการของสำนักวิทยบริการ และให้เข้ามาใช้บริการในสำนักวิทยบริการให้มาก ๆ เพื่อจะได้ใช้เทคโนโลยีที่มีในสำนักวิทยบริการ และนำสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนระดับต่าง ๆ
วิเคราะห์วิจารณ์
1.ควรทำการศึกษาทัศนคติในการใช้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
ประเภทต่าง ๆ สำหรับคนพิการในสำนักวิทยบริการ เช่น การศึกษาทัศนคติของคนพิการทางการ
เห็นหรือคนพิการทางการได้ยินในการใช้บริการคอมพิวเตอร์
2.ควรศึกษาปัจจัยอื่นที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้บริการในแหล่งสารสนเทศ
โดยสามารถใช้วิธีการวิจัยแบบอื่น เช่น การใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น
สามารถเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้รับบริการที่เป็นคนพิการรายบุคคล เพื่อจะทำให้เข้าใจสาเหตุ
และปัจจัยต่าง ๆ ได้

Determination of Sit-to-Stand Transfer Duration Using Bed and Floor Press Sequences

ชื่องานวิจัย/บทความ
Determination of Sit-to-Stand Transfer Duration Using Bed and Floor Press Sequences
ผู้เขียน Amaya Arcelus และคณะ
แหล่งที่มา
IEEE TRANSACTIONS ON BIOMEDICAL ENGINEERING, VOL. 56, NO. 10, OCTOBER 2009
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาช่วงระยะเวลาในการลุกขึ้นยืน ซึ่งแสดงถึงคุณภาพในการเคลื่อนไหว
กลุ่มตัวอย่าง
- ช่วงอายุ 18 – 39 ปี จำนวน 10 คน
- ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
- ผู้ป่วยหลัง stroke อายุ มากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
- ผู้ป่วยหลัง hip fracture อายุ มากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
ซึ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยสามารถลุกขึ้นยืนได้เอง
ขั้นตอนงานวิจัย
วาง pressure sensitive bed mats ไว้บนฟูกเตียง และวาง High Density Floor Plate Sensor ไว้ที่พื้นข้างเตียง และตั้งกล้องถ่ายทางด้านหน้า และด้านข้างขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยเคลื่อนไหว และติด marker สีเขียวขณะที่ลุกยืน เพื่อแสดงถึงขั้นตอนการเคลื่อนไหว ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าการเคลื่อนไหวลุกขึ้นยืนจะมีแรงกดลงบนเตียงลดลงและต่อมามีการเพิ่มขึ้นของแรงกดบนพื้น
ผลการวิจัย
ผลที่แสดงการกดลงบนแผ่นวัดแรงกดแสดงให้เห็นเวลาที่เริ่มต้นการเคลื่อนไหวลุกยืนจากเตียง โดยปกติน้ำหนักที่กดลงบนเตียงจะลดลงจนต่ำกว่า 0.1 และแรงกดที่พื้นจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.8 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้า จากเตียงไปสู่พื้น และจากแรงที่กดลงบนบนพื้นจะแสดงถึงการสิ้นสุดการเคลื่อนไหวลุกยืน
ในการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี และผู้สูงอายุที่มีการลดลงของ mobility skill ซึ่งจากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาแรงกดที่เกิดขึ้นบนแผ่นวัดแรงกดที่เตียงและที่พื้น พบว่าในผู้มีสุขภาพดี อยู่ระหว่าง 0.5-2วินาที ในผู้สูงอายุที่มีการลดลงของ mobility skill ใช้เวลาอยู่ระหว่าง 1-5 วินาที ซึ่งไม่เห็นความแตกต่างระหว่างช่วงอายุ 18 – 39 ปี กับผู้สูงอายุที่สุขภาพดี
ประโยชน์ที่ได้รับ
นำความรู้ด้านการถ่ายน้ำหนักมาใช้ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องมือ และเป็นพื้นฐานในการประยุกต์กลไกการป้องกันการล้อมจากท่านั่งไปยื่น
วิเคราะห์งานวิจัย
- ในครั้งต่อไปอาจมีการเปรียบเทียบในการเคลื่อนไหวลุกยืนแบบใช้เครื่องช่วย
- อาจเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวลุกยืนที่มีลำดับขั้นตอนที่แตกต่างออกไป เช่น อาจใช้มือยันช่วยในการลุกยืน
- มีการวัดปริมาณความมั่นคงในการยืน

Towards an Intelligent Service to Elders Mobility Using the i-Walker

ชื่องานวิจัย/บทความ
Towards an Intelligent Service to Elders Mobility Using the i-Walker
ผู้เขียน U.Cortes, et al.
แหล่งที่มา ไม่ระบุ
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาการใช้ walker ช่วยในการยืนเดินและยังสามารถนำทางกลับบ้าน และยังปลอดภัย สามารถป้องกันการล้มในขณะเลี้ยวได้
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหลากหลายช่วงอายุ ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง
- การมองเห็น หรือสายตาเรือนราง
- กล้ามเนื้อเกร็งระตุก
- อาการสั่น
- หรือปัญหาเรื่องการรับรู้
ขั้นตอนการวิจัย
- สำรวจพื้นที่ภูมิประเทศ ลักษณะเส้นทางการเดินของแต่ละท้องถิ่น
- เก็บรวบรวมข้อมูล
- บันทีกและออกแบบโปรแกรมเพื่อจ้าทางให้ถูกต้อง
- ทดลองในห้องปฎิบัติการโดยมี
1. พื้นที่ กว้าง * ยาว 5*5 เมตร
2. มีความชันที่มุม 16 องศา
3. เส้นรอบวง 2.5 เมตร
- วัดแรงกดที่มือขณะใช้ ดังนี้
1. เดินที่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง
2. เดินขึ้น ลง ทางชัน
3. เดินเป็นวงกลม
4. เปลี่ยนสถานที่ทดสอบ
ผลการวิจัย
- สามารถช่วยในการเดินได้ แต่ต้องมีการเพื่มปรับเบรกเพื่อชะลอความเร็ว
- ความร่วมมือกันระหว่างผู้ใช้และผู้ดูแล
- ประยุกต์ปรับความหนืดให้เหมาะกับความปลอดภัยในการใช้ที่หลากหลาย
- พบว่ามีแรงกดที่มือจับของ walker ที่มือข้างหนึ่งของด้านตรงข้ามของทิศทางที่จะหมุนไป
- ส่วนด้านหน้าหลังนั้น มีการกดที่มือจับของ walker เท่ากันทั้งสองข้าง
ประโยชน์ที่ได้รับ
- รู้จัก walker ที่สามารถบกทางได้
- นำมาประยุกต์ออกแบบ walker ให้มีความปลอดภัยโดยคำนึงถึงความสูงของ walker ความหนืดของล้อ การลงน้ำหนักที่มือ คำนึงถึงจุดหมุนและแรงเหวี่ยง
- ลำดับขั้นตอนงานวิจัย ที่ให้ทดลองในห้องปฎิบัติงานก่อน
วิเคราะห์งานวิจัย
- ยังไม่มีจำนวนผู้ทดสอบที่สามารถระบุได้
- มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ดี
- เป็นการศึกษาด้านความปลอดภัยในการเดินโดยใช้ walker มากกว่าการใช้ในการบอกทาง
- ควรมีการทดลองในสถานที่จริงเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมจริง

Friday, July 16, 2010

SHADE: A Shape-Memory-Activated Device Promoting Ankle Dorsiflexion

ชื่องานวิจัย/บทความ
SHADE: A Shape-Memory-Activated Device Promoting Ankle Dorsiflexion
แหล่งที่มา www.li.mahidol.ac.th
วัตถุประสงค์
1.สร้างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
2.นำเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นในทดลองใช้ในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองดูผลการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้าและแรงที่ใช้ขยับข้อเท้าเอง
กลุ่มตัวอย่าง
1.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 6 คน
2.เงื่อนไข
1.มีภาวะอ่อนแรงและมีภาวะกล้ามเนื้อต้านเร็งเล็กน้อยของข้อเท้า วัดค่า Ashworth scale ≤ 1
2.ไม่มีปัญหาโรคผิวหนังและโรคข้อต่อ
3.ไม่มีปัญหาการรับรู้ (cognitive impairment) ที่รุนแรง สามารถตอบคำถามได้
ขั้นตอนการวิจัย
1.สร้างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โดยให้มีน้ำหนักเบา ระบายความร้อนดี ขนาดเล็ก สวมง่าย โดยพัฒนาระบบต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ออกแบบอุปกรณ์ดาม
1.2 ออกแบบระบบกระตุ้น
1.3 ออกแบบ ระบบ Shape Memory Material
1.4 คำนวณระบบไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้น





2.แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม
2.1 กลุ่มที่ 1 ทดสอบโดยใช้ SHADE เพียงครั้งเดียว ดูผลระยะสั้น 3 คน วัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Range of motion) หาค่าเฉลี่ยของการวัดจากกล้องถ่ายรูปที่ความถี่ 100 Hz เขียนตำแหน่ง ดังรูป มุมข้อเท้าที่วัดเป็นมุมที่ทำระหว่างแนวกลางของหน้าแข้งและเท้า วัดค่า D และ L ถ่วงน้ำหนักที่ 7.85, 8.83, 9.81, และ 10.79 N วัดความแตกต่างระหว่างแรงที่ใช้ในการกระดกข้อเท้าและวัดมุมข้อเท้าโดยใช้เครื่อง electrogoniometer







2.2 กลุ่มที่ 2 ขยับข้อเท้า 30 นาที 5 วัน ใช้การวัดทางกายภาพ โดยใช้การสังเกตและสัมภาษณ์
ผลการวิจัย
1.ในแต่ละน้ำหนักที่ถ่วงไม่มีผลต่อช่วงเวลาการกระดกขึ้นและลง แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อมุมกระดกข้อเท้าขึ้น
2.เมื่อน้ำหนักถ่วงมากขึ้นต้องใช้แรงทำงานของกล้ามเนื้อมากขึ้น (11.7 N) แต่มีค่ามุมสูงสุดที่น้ำหนักถ่วง 8.83






3.ในกลุ่มที่ 2 ทุกคนพอใจในอุปกรณ์ SHADE และไม่มีใครบ่นเรื่องปวด และทุกคนอยากใช้ อุปกรณ์ SHADE ต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
2. ทราบถึงผลการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้าและแรงที่ใช้ขยับข้อเท้าเองหลังใช้อุปกรณ์ SHADE ในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี อธิบายกลุ่มตัวอย่างไว้ละเอียด และมีการสัมภาษณ์ถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ แต่ในงานวิจัยนี้มีการนำน้ำหนักถ่วงที่ปลายเท้าขนาดแตกต่างกัน สูงสุดที่ 1.2 kg ซึ่งในกลุ่มที่มีความตึงตัวกล้ามเนื้อในระดับต่ำ ๆ ไม่สามารถออกแรงกระดกข้อเท้าได้ จึงไม่สามารถต้านแรงน้ำหนักที่ถ่วงได้ จึงน่าจะมีการกำหนดระดับของกำลังกล้ามเนื้อของกลุ่มตัวอย่างด้วย ในงานวิจัยน่าจะมีการวัดมุมของข้อเท้าก่อนทำการทดสอบด้วย เนื่องจากอาจมีผลของความยาวกล้ามเนื้อร่วมด้วย การเขียนตำแหน่งเนื่องจากตำแหน่งมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดได้ ในงานวิจัยไม่ได้กล่าวถึง ค่าความเที่ยงตรงในการวัดและค่าความน่าเชื่อถือเลย ทำให้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ

Thursday, July 15, 2010

อุปกรณ์ช่วยเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกายหรือสุขภาพ

หัวข้องานวิจัย/บทความ
อุปกรณ์ช่วยเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกายหรือสุขภาพ
แหล่งที่มา คุณอลิสา สุวรรณรัตน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการ เขียน
2.เพื่อให้มีอุปกรณ์การเขียนเพื่อช่วยเหลือทดแทนอวัยวะที่ขาดหายไป
3.เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถนักเรียนพิการในการเขียนและการใช้อุปกรณ์
กลุ่มตัวอย่าง
อุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids)
ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพที่มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อแขนและมือ หรือไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือทั้งสองข้างได้ เนื่องจากมีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีกระดูกผิดรูปหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว แขนและมือขาดหายไป เป็นต้น จะทำให้มีความยากลำบากหรือไม่สามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนด้วยวิธีปกติ เช่น การจับดินสอเขียนบนกระดาษ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน ดังนี้

ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

- กระดานอักษร/กระดานคำศัพท์
เรือ ก้อนเมฆ กระเป๋าผู้เรียนที่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ สามารถใช้การเลือกตัวอักษรหรือคำศัพท์จากกระดานอักษรหรือกระดานคำศัพท์แทนการเขียน โดยมีผู้บันทึกคำตอบหรือจดข้อความลงไปให้แทน

- กระดานและตัวอักษรแม่เหล็ก
ผู้เรียนที่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ สามารถใช้การหยิบตัวอักษรแม่เหล็กมาเรียงเป็นคำหรือข้อความบนกระดานแม่เหล็กแทนการเขียนด้วยมือ

- การตัดกระดาษ-ทากาวแทนการเขียน
การเขียนคำศัพท์ลงไปในกระดาษ และตัดคำศัพท์ทากาวแปะคำลงไปในกระดาษหรือสมุด หรือแบบฝึกหัดแทนการเขียนด้วยมือ

- กระดาษที่ปรับให้เขียนได้ง่าย (Alternative Paper)
การปรับกระดาษที่ใช้เขียนให้แสดงผลของเส้นบรรทัดง่ายต่อการควบคุมการเขียนด้วยมือ จะช่วยให้ผู้เรียนที่มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมือในการจับดินสอเขียนหนังสือ สามารถควบคุมการเขียนตัวอักษรลงบนกระดาษได้ดีขึ้น ดังนี้

- การทำเส้นบรรทัดเป็นแถบสี

- การตีเส้นบรรทัดให้หนาและใหญ่ขึ้น

- การทำเส้นบรรทัดให้นูนขึ้น
การทำเส้นบรรทัดให้นูนขึ้น (Raised lines) จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมขอบเขตในการเขียนตัวอักษรลงบนช่องบรรทัดที่กำหนดได้ง่ายขึ้น

- การใช้กระดาษกราฟ/กระดาษตีเป็นตาราง
กระดาษกราฟหรือกระดาษที่ตีเป็นตาราง จะช่วยให้ผู้เรียนที่มีความยากลำบากในการเขียนด้วยมือสามารถกำหนดขอบเขตของการเขียนตัวอักษรแต่ละตัวลงไปในช่องว่างแต่ละช่องที่ปรากฏบนกระดาษกราฟหรือกระดาษที่ตีเป็นตารางได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสามารถเรียนรู้การควบคุมการเว้นช่องว่างระหว่างตัวอักษรที่ต้องเขียนลงไป นอกจากนี้ถ้าผู้เรียนมีปัญหาในการควบคุมการเขียนในช่องขนาดเล็ก สามารถนำไปถ่ายเอกสารขยายใหญ่เพื่อช่วยให้ควบคุมการเขียนตัวอักษรลงไปในช่องตารางได้ง่ายขึ้น

- การพูดบอกข้อมูลแทนการเขียน
ผู้เรียนที่สามารถพูดได้ปกติแต่ไม่สามารถเขียนหนังสือด้วยมือได้นั้น สามารถใช้การพูดเพื่อตอบคำถามหรือบอกข้อมูลให้ผู้อื่นจดบันทึกแทนการเขียนได้

- กรอบสำหรับเขียนข้อความ
กรอบบรรทัดที่นำแผ่นพลาสติกหรือกระดาษขนาดเท่ากับกระดาษที่ใช้ในการเขียน เช่น กระดาษ A4 มาเจาะช่องตามแนวบรรทัดที่ใช้เขียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเขียนให้อยู่ในบรรทัดที่กำหนดได้ง่ายและสะดวกขึ้น

วิเคราะห์และวิจารณ์
เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่พิการทางการเคลื่อนไหว ในการหยิบจับปากกาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน ในการสื่อสารถึงข้อความที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มีราคาไม่แพงเพราะใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก สามารถหาวัสดุ และอุปกรณ์ในประเทศมาใช้ได้ไม่ยากนัก แต่ประโยชน์ที่ได้รับมีมาก และเป็นประโยชน์มากต่อนักเรียน หรือเด็กพิการที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวมือ หรือ แขน

Mid – wheel drive power wheelchair

หัวข้องานวิจัย/บทความ
Mid – wheel drive power wheelchair (เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าแบบมีล้อขับเคลื่อนตรงกลาง)
แหล่งอ้างอิง
http://www.freepatentsonline.com/6640916.html
ชื่อผู้ประดิษฐ์
Schaffner, Walter E. (Shavertown, PA)
Mulhern, James P. (Hunlock Creek, PA)
Antonishak, Stephen J. (Alden, PA)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดหา เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่มีโครงที่นั่งที่ถูกค้ำยันโดยโครงล้อขับเคลื่อนคู่หนึ่งที่เชื่อมกับโครงและสามารถหมุนได้ตามแนวขวาง ด้านล่างตำแหน่งกลางของที่นั่ง กับแกนล้อขับเคลื่อนและตำแหน่งที่นั่ง เพื่อให้แกนล้อขับเคลื่อนไปด้านหน้า
2. เพื่อจัดหาเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่มีที่นั่งเพื่อให้แกนล้อขับเคลื่อนอยู่ด้านล่างและค่อนไปทางตำแหน่งศูนย์กลางของด้านล้อยาง
3. เพื่อจัดหาเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่แกนล้อขับเคลื่อนอยู่ในตำแหน่งอยู่ที่ตำแหน่งทางด้านยาวของตำแหน่งศูนย์กลางเมื่อผู้ใช้อยู่บนเก้าอี้ล้อเลื่อน
4. เพื่อจัดหาเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่แกนล้อขับเคลื่อนอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของสายตาของผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนเมื่อผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนนั่งบนที่นั่ง
กลุ่มตัวอย่าง
การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับรถเข็นที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับคนพิการและผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหว
ขั้นตอนการวิจัย
การประดิษฐ์นี้ คือการทำเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าแบบมีล้อขับเคลื่อนตรงกลาง เป็นเก้าอี้ล้อเลื่อน ที่มีล้อคู่บนตัวโครง ค้ำอยู่ใต้ที่นั่ง มีล้อ castor อยู่ในตำแหน่งด้านหลังของล้อขับเคลื่อน และด้านหลังของที่นั่ง ทั้งมีล้อ anti-tip idler อยู่คู่หนึ่งอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของล้อขับเคลื่อน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับโครง ล้อ anti-tip โดยปกติจะไม่แตะพื้น เมื่อล้อขับเคลื่อนและล้อ castor อยู่ในตำแหน่งปกติบนพื้น ล้อ anti-tip มีตัวเชื่อมติดที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งประกอบด้วยแขนค้ำ ที่ติดกับด้านหลังของโครงรถ ล้อ anti-tip ตัวหน้าสามารถเคลื่อนที่ไปทางด้านบนได้ซึ่งติดกับแขนค้ำ






ผลการวิจัย
การประดิษฐ์นี้จะเห็นว่าเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้ามีโครงที่นั่งรองรับโดยโครงคู่ของล้อขับเคลื่อน ที่เชื่อมต่อกับโครงและ สามารถหมุนได้ตามแนวแกน โดยยึดไว้กับแกนตามขวางด้านล่างของตำแหน่งศูนย์กลางของที่นั่งกับชุดขับเคลื่อนและแกนล้อ ที่นั่งตำแหน่งเพื่อให้แกนล้อขับ ถูกส่งศูนย์กลางของผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้า ในอีกด้านของสิ่งประดิษฐ์ให้นั่งเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่นั่งตำแหน่งเพื่อให้แกนล้อขับอยู่ภายใต้และอาจจะเพียงเล็กน้อยตามยาวก่อนศูนย์กลาง ของผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้า
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่ประกอบด้วย
1.โครงสำหรับรองรับ
2.ที่นั่งติดกับโครงรองรับ มีส่วนที่นั่งสำหรับรองรับบุคคลและก้นและส่วนหลังเพื่อรองรับเมื่อนั่งในที่นั่ง
3.คู่ของล้อขับเคลื่อนที่แตะอยู่กับพื้น และยึดอยู่กับโครงรองรับ ล้อขับในตำแหน่งนี้ดังกล่าวจะตรงกับส่วนที่นั่งค่อนไปด้านหน้า
4.มีมอเตอร์สำหรับ ขับเคลื่อนล้อเพื่อให้การเคลื่อนไหว และการขับเคลื่อนของของเก้าอี้ล้อเลื่อน โดยมอเตอร์ถูกยึดไว้กับโครง
5.มีแบตเตอรี่ ที่ยึดไว้ในโครงเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์
6.มีล้ออิสระ 2 ล้อ ยึดอยู่กับโครง และอยู่ด้านหลังของล้อขับเคลื่อน
7.มีล้อ anti - tip ซึ่งเป็นล้อไม่อิสระ อยู่ในตำแหน่งข้างหน้าของล้อขับและที่นั่ง
วิเคราะห์และวิจารณ์
การพิจารณาของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ดังที่อธิบาย และที่แสดงไว้ แสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์นั้น ให้การก่อสร้างทำได้ง่ายและราคาไม่แพงนักสำหรับ โครงด้านล่าง ช่วงกลางของเก้าอี้ล้อเลื่อนแบบ ขับล้อตรงกลางซึ่งมีลักษณะ ทำให้ท่านั่งมีความเสถียรภาพ และคล่องแคล่วขึ้นอย่างมากมาย และ สำหรับ เพื่อความมีเสถียรภาพที่เพิ่มขึ้นของล้อทั้งหมด โดยมีคู่ล้อที่เหลืออยู่ในการติดต่อคงกับพื้นดินโดยคำนึงถึงความไม่เรียบ ความเสถียรภาพและความสมดุลของเก้าอี้ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเดินทางลง หรือ ขึ้น พื้นที่ต่างระดับ หรือในกรณีที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน แล้วหยุดในทันทีทันใด

Monday, July 12, 2010

Ankle Stiffness and Tissue Compliance in Stroke Survivors: A Validation of Myotonometer Measurements

ชื่องานวิจัย/บทความ
Ankle Stiffness and Tissue Compliance in Stroke Survivors: A Validation of Myotonometer Measurements
แหล่งที่มา http://www.archives-pmr.org
วัตถุประสงค์
วัดความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ( Myotonometer) วัดภาวะเกร็งของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) 23 คน ที่มีภาวะข้อเท้าติดในข้างที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 6 เดือน
2. อาสาสมัครคนสุขภาพดี 24 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างนั่งห้อยขาอิสระ วัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าขณะขยับข้อให้ (passive movement) โดยใช้ The Modified Ashworth Scale (MAS) อยู่ในระดับ 0 (ไม่มีแรงเกร็งต้าน) ถึง 4 (มีแรงต้านจนแข็ง)
2. กลุ่มตัวอย่างนั่งแอนไปด้านหลังเล็กน้อย ทดสอบขาโดยให้สะโพกงอ 90 องศา เข่างอ 45 องศา ให้ lateral malleolus อยู่ในแนวแกนหมุนของแผ่นรองเท้า (footplate) ซึ่งติดอยู่กับ potentiometer ที่ใช้วัดมุมข้อเท้า ตำแหน่งเริ่มต้น (Neutral) 0 องศา ตัววัดมุมติดอยู่ที่แผ่นรองเท้า
3. แผ่นรองเท้าอยู่ในตำแหน่งมุมกระดกข้อเท้าลง 17 องศา กลุ่มตัวอย่างออกแรงดันลง 3 ครั้ง ค้าง 5 วินาที วัดค่าแรงต้าน เรียกว่า plantarflexor maximal voluntary contraction (MVC)
4. ขยับข้อเท้าให้ passive ROM (PROM) ช้า ๆ ระหว่างกระดกข้อเท้าขึ้นและกระดกข้อเท้าลง วัดมุมช่วงสุดท้ายของทั้งสองโดยกำหนดแรงต้านไว้ที่ 10 นิวตัน ทำ 3 ครั้งพร้อมทั้งบันทึกผล และวัดมุมของข้อเท้า(นั่งห้อยขา)ขณะพักหลังทำด้วย
5. Muscle stiffness testing เริ่มวัดในมุมเริ่มต้นที่มุมกระดกข้อเท้า 17 องศาโดยวางเท้าที่แผ่นรองเท้า วัดแรงเกร็งต้านในขณะกลุ่มตัวอย่างผ่อนคลาย ขยับข้อเท้ากระดกข้อเท้าขึ้น 5 องศาด้วยความเร็ว 100 องศาต่อวินาที 1 – 2 ครั้ง จนมีมีแรงเกร็งต้าน วัดแรงเกร็งต้านใน 3 ลักษณะ พัก ขยับโดยคำสั่งตนเอง และขยับโดยผู้อื่นทำให้
6. Muscle compliance testing ใช้ handheld electronic device ในห้องปฎิบัติการ วัดการทำงานของกล้ามเนื้อน่อง (gastrocnemius) ใน 3 ลักษณะ
ผลการวิจัย
1. ค่าของ The Modified Ashworth Scale (MAS) อยู่ในระดับ 0 (ไม่มีแรงเกร็งต้าน) ในกลุ่มอาสาสมัครคนสุขภาพดี และสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (P <.02) ซึ่งเพิ่มขึ้นตามแรงต้านขณะขยับข้อให้ (P <.03) 2. การวัดค่าความตึงติดของกล้ามเนื้อ (Muscle stiffness) ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น และการหดหัวของกล้ามเนื้อ (10% of MVC) มีค่าแตกต่างกับก่อนให้ในกลุ่มอาสาสมัครคนสุขภาพดี 4.6%_3.0% และกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 6.5%_3.9% ไม่มีกลุ่มไหนเกิน 10 % 3. ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance) ลดลงตามการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะลดลงในอาสาสมัครสุขภาพดีขณะทำกระดกข้อเท้าลง (P <.04) เท่านั้น 4. การวัดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance) ระหว่างช่วงพักและช่วงสั่งงานหดตัวของกล้ามเนื้อ ไม่มีความแตกต่างในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ปัจจัยที่มีผลต่อความตึงติดของกล้ามเนื้อ (Muscle stiffness) และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance)
2. วัดความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ( Myotonometer) วัดภาวะเกร็งของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี อธิบายวิธีการวิจัยได้ละเอียด แต่ในการหาค่า plantarflexor maximal voluntary contraction (MVC)ในวิธีการวิจัยที่ให้ออกแรงถีบแผ่นรองเท้า ไม่สามารถทำได้ในคนที่มีภาวะข้อติดแต่ไม่มีแรงกล้ามเนื้อข้อเท้าเลย ซึ่งในงานวิจัยนี้น่าจะมีการระบุกำหนดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังกล้ามเนื้อด้วย และควรระบุถึงช่วงมุมข้อเท้าที่ติด เพราะน่าจะให้ผลของแรงต้านที่แตกต่างกัน หรืออาจจะมีงานวิจัยต่อดูผลของมุมข้อติดของข้อเท้าว่ามีผลต่อแรงต้านหรือไม่

หุ่นยนต์แขนกลสำหรับป้อนอาหารผู้พิการโดยอาศัยการทำงานของระบบวิชวลเซอร์โว

ชื่องานวิจัย/บทความ
หุ่นยนต์แขนกลสำหรับป้อนอาหารผู้พิการโดยอาศัยการทำงานของระบบวิชวลเซอร์โว
แหล่งที่มา ไม่ระบุ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและทำการออกแบบต้นแบบของหุ่นยนต์แขนกลที่สามารถช่วยเหลือผู้พิการทางแขน
ในการรับประทานอาหาร
2. เพื่อทำกาศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมโดยใช้ภาพเป็นสัญญาณป้อนกลับ (Visual Servo System)
มาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์แขนกลต้นแบบนี้
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้พิการทางแขน
ขั้นตอนการวิจัย
1. ศึกษาการทำงานของระบบ Visual Servo ซึ่งจะมีการประยุกต์ในแบบต่างๆและข้อดีข้อเสียใน
การนำระบบ Visual Servo มาใช้งานเพื่อทำการเลือกวิธีการที่ดีที่สุดมาใช้งานโดยผลที่ได้คือ
วิธีการแบบการดึงคุณลักษณะภาพมาใช้เป็นข้อมูลในการควบคุม
2. ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของหุ่นยนต์และทำการออกแบบจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลอง
การทำงานของหุ่นยนต์
3. ศึกษาและออกแบบวิธีการประมวลผลภาพเพื่อทำการประมวลผลเพื่อหาค่าของคุณลักษณะของ
ภาพที่ต้องการเพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้แก่ระบบ Visual Servo
4. ทำการออกแบบระบบและทำการสร้างระบบโดยการนำส่วนประมวลผลภาพและส่วนของ
หุ่นยนต์มาทำการรวมกันและทดสอบกับคนจริง
5. วิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัย
6. จัดทำเอกสารวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย
วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการออกแบบต้นแบบของหุ่นยนต์แขนกลเพื่อใช้สำหรับป้อนข้าวผู้พิการโดยที่ไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมได้โดยตนเองซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและยังสามารที่จะสร้างความรู้สึกและความสะดวกของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานนั้นจะอาศัยหลักการทำงานของระบบ Visual Servo System ซึ่งจะหลักการของ Features-Based Visual Servo System เข้ามาใช้ในการออกแบบการทำงานให้แก่ระบบ โดยที่อยู่ในความสำคัญที่ว่าจะทำการออกแบบระบบของหุ่นยนต์
โดยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจากการใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างที่น้อยที่สุดเพื่อที่จะเป็นอีกทางเลือกที่
ให้ผู้พิการส่วนมากสามารถที่จะนำมาใช้ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
เพื่อทำการช่วยเหลือผู้พิการทางแขนในการรับประทานอาหารโดยที่จะทำการตักอาหารจากภาชนะและการทำป้อนอาหารให้สามารถที่จะทดแทนการขาดหายไปของแขนผู้ป่วยได้อย่างดีทำให้ผู้ป่วยสามรถที่จะมีความสะดวกในการรับประทานอาหารมากขึ้นและผลที่ตามมาทำให้ผู้ป่วยนั้นจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นตามมาเนื่องจากว่าสามารถทำกิจกรรมได้เหมือนกับบุคคลปกติทั่วไป
วิเคราะห์วิจารณ์
จากผลลัพธ์การจำลองผลและข้อสรุปข้างต้นสามารถทำการออกแบบระบบการทำงานของหุ่นยนต์ซึ่งอาศัยหลักการของระบบ Visual Servo Control นั้นสามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อในด้านของการใช้งานต่างๆ ที่นอกเหนือจากการออกแบบการทำงานดังที่ได้เสนอมาข้างต้นซึ่งจะทำการนำเสนอการพัฒนาและการเลือกใช้ส่วนต่างๆให้เหมาะสมกับระบบที่มากขึ้นดังหัวข้อต่อไปนี้ห้องสมุดที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงเข้าไปใช้บริการควรมีจัดการบริการที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวตั้งแต่บุคคลากรที่ให้บริการในห้องสมุดซึ่งต้องมีความเข้าใจในความต้องการ อุปสรรค สถานที่

Saturday, July 10, 2010

ULTRASONIC TIME OF FLIGHT ESTIMATION IN ASSISTIVE MOBILITY: IMPROVEMENT OF THE MODEL-ECHO FITTING

ชื่องานวิจัย/บทความ
ULTRASONIC TIME OF FLIGHT ESTIMATION IN ASSISTIVE MOBILITY: IMPROVEMENT OF THE MODEL-ECHO FITTING
แหล่งที่มา
http://digital.csic.es/bitstream/10261/13676/1/eurosensors-XXII.pdf
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) ให้จับสัญญาณเพื่อดูลักษณะการวางเท้าโดยไม่ต้องมอง หรือกังวลเรื่องสายเชื่อมสัญญาณ
กลุ่มตัวอย่าง
ไม่ระบุเพศ จำนวน อายุ และข้อจำกัดต่างๆของผู้เข้าร่วมการทดลอง
ขั้นตอนการทดลอง
1. มีการรวบรวมความรู้การทำงานสัมพันธ์ของ แขน ขา และผู้ใช้ walker
2. ศึกษาการออกแบบเพื่อดูระยะการก้าว ลักษณะของเท้า
3. ศึกษาคลื่น ultrasonic ในการส่งสัญญาณขณะที่มีการเปลี่ยนท่าทางของเท้า โดยสัญญาณที่ส่งคืนในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
4. ทดลองนำไปใช้และนำคลื่นที่ได้มาวิเคราะห์
5. ปรับลดข้อผิดพลาดในการส่งสัญญาณกลับของคลื่น ultrasonic
ผลการวิจัย
การใช้คลื่น ultrasonic ยังมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวที่แตกต่างกัน ทำให้มีการผิดพลาดในการคำนวณ
ประโยชน์ที่ได้รับ
มีการประยุกต์ใช้คลื่นเพื่อช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวัน ได้ เป็นไปอย่างอิสระ
วิจารณ์งานวิจัย
1. การทดลองนี้ใช้ทดลองกับผู้เข้าร่วมการทดลองแค่คนกลุ่มเดียวที่ไม่ระบุจำนวน
2. คำนึงแต่การคำนวณที่ผิดพลาด แต่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้ว่าสามารถเข้าใจและทำตามที่แปลค่ามาได้หรือไม่

Determinants of the Sit-to-Stand Movement: Review

ชื่องานวิจัย/บทความ
Determinants of the Sit-to-Stand Movement: Review
แหล่งที่มา http://ptjournal.apta.org/cgi/content/full/82/9/866
วัตถุประสงค์งานวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับการลุกขึ้นยืน
กลุ่มตัวอย่าง
บทความนี้เป็นการทบทวนงานวิจัย
ขั้นตอนงานวิจัย
ค้นหาข้อมูลใน MEDLINE (1980-2001) และ Science Citation Index Expanded ของสถาบันสำหรับ Scientific Information (1988-2001) โดยใช้ key words “chair” “mobility” “rising” “sit-to-stand” และ “standing” อ้างอิงจาก textbook และรายงานที่ครอบคลุม หลังจากที่ผู้วิจัยรวบรวมและศึกษางานวิจัยแล้ว จึงได้แบ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน เป็น ปัจจัยจากเก้าอี้เช่น ความสูงของเก้าอี้ ปัจจัยจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย เช่น อายุ กำลังกล้ามเนื้อ ปัจจัยจากวิธีการ เช่น ความเร็ว ข้อจำกัดที่ไม่รุนแรง โดยผู้วิจัยเลือกศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้เช่น ใช้ force plates, optoelectronic devices หรือ gonometers ศึกษาจำนวนของการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ศึกษาปัจจัยที่มีผล เช่น เก้าอี้ วิธีการ ผู้เข้าร่วมงานวิจัย และตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัย
จากงานวิจัย 160 งาน ผู้วิจัยพบงานวิจัยที่กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน 39 งาน
• ปัจจัยด้านเก้าอี้ หลายงานวิจัยเจาะจงศึกษาที่ความสูงของเก้าอี้ มีส่วนน้อยที่ศึกษาอิทธิพลของตำแหน่งของที่พักแขน การใช้ที่พักแขน หรือประเภทของเก้าอี้ในการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน
• ความสูงของเก้าอี้ ความสูงที่น้อยที่สุดที่จะทำให้ผู้สูงอายุประสบควาสำเร็จในการลุกยืนอยู่ที่ 120% ของความยาวของขาท่อนล่าง ในเก้าอี้เตี้ยทำให้มีการเพิ่มมุมของข้อสะโพกมากขึ้นขณะลุกยืน และมี repositioning ของเท้ามากขึ้น ในผู้เข้าร่วมงานวิจัยอายุ 25-36 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติ ลุกยืนจากเก้าอี้ที่มีความสูง 115%-65% ของเข่า มีผลทำให้มีมุม trunk flexion มากขึ้นขณะยืน ในเก้าอี้เตี้ยพบว่ามีการเคลื่อนที่ของมุม ลำตัว เข่า ข้อเท้า มากขึ้น ในการเปลี่ยนระดับความสูงของเก้าอี้ข้อสะโพกและข้อเข่าจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลของ biomechanical
• ปัจจัยจากที่พักแขน เก้าอี้ที่มีที่พักแขนจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ข้อเข่า และข้อสะโพกน้อย ที่สะโพกลดลง 50% ของ extension movement ที่จำเป็นต้องใช้ในการลุกยืน แต่การใช้แขนไม่มีอิทธิพลต่อมุมของผู้เข้าร่วมวิจัยที่ปกติอายุ 25-41 ปี ในการศึกษาในผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ปกติอายุ 19-31 ปี ลุกยืนโดยเกาะราวด้านหน้า ไม่พบการแตกต่างการหมุนลำตัว แต่พบความแตกต่างในผู้มีอายุ 63-86 ปี
• ปัจจัยจากประเภทของเก้าอี้ เก้าอี้ที่ลาดเอียงไปทางด้านหลังมีอิทธิพลทำให้ CM เคลื่อนไปทางด้านหลัง ทำให้ลุกยืนได้ยาก
• พนักพิงหลัง: ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพนักพิงหลังมีผลต่อการลุกยืน
• ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง:
- ความเร็ว : ความเร็วในการลุกขึ้นยืนเพิ่มขึ้น และทำมุมงอสะโพก เหยียดเข่า และกระดกข้อเท้าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งช่วง flexion และ momentum-transfer สั้นลงด้วย
- ตำแหน่งการวางเท้า : การวางเท้าไปทางด้านหลังจะทำให้เวลาในการลุกขึ้นยืนสั้นลง ในทางตรงข้าม การวางเท้าไปด้านหน้าเพิ่มช่วง pre-extension ซึ่งส่งผลให้เวลาในการลุกขึ้นยืนนานกว่า
- ตำแหน่ง/ การเคลื่อนไหวของลำตัว : ระยะเวลาในช่วง extension จะยาวขึ้นมากหากเริ่มในท่าก้มตัว และ momentum transfer จะเริ่มจากลำตัวช่วงบนขณะ extension
- การเคลื่อนไหวของแขน : การวางมือไว้หน้าขา ข้างลำตัว หัวเข่า หรือกอดอก ตำแหน่งของแขนมีผลต่อการลุก เกี่ยวเนื่องจาก central of mass ที่เคลื่อนมาด้านหน้า
- Terminal constraint : การใช้ชีจิตประจำวันไม่ได้มีเพียงแต่การหยุดยืน แต่ยังไม่มีการศึกษาต่อจากลุกยืนไปเดิน
- ความมืดกับความสว่าง : อายุ 20-25 ปีความสว่างไม่มีผลต่อความเร็วในการลุก แต่ช่วงอายุ 71-82 ปี การมองเห็นมีผลต่อความสามารถในการลุก
- Fixed joint: ในผู้ที่งอเข่าได้ น้อยกว่า 100 องศา มีผลต่อความเร็วเชิงมุมของการก้มตัวมาด้านหน้า ทำให้ระยะเวลาการลุกยืนนานกว่าคนที่งอเข่าได้มากกกว่า 100 องศา
- ตำแหน่งข้อเข่า เข่าอยู่ตำแหน่งเหยียดมากกว่าปกติทำให้มุมการเหยียดของข้อสะโพกมากขึ้น การวางเท้าไปด้านหน้าทำให้ความสามารถในการลุกลดลง
- ความสนใจ : ยังไม่มีการศึกษาว่าความมสสนใจมีผลต่อการลุก
- การฝึกฝน : การลุกขึนยืนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกใช้เวลา 4 สัปดาห์ในการฝึกลงน้ำหนักและการเคลื่อนของลำตัวที่ดีขึ้น
วิเคราะห์งานวิจัย
1. ภาพรวมงานวิจัย น่าเชื่อถือดี สามารถนำข้อมูลมาอ้างอิงหาเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง จากนั่งไปยืน โดยมีตัวแปลต่างๆเช่น อายุ กำลังกล้ามเนื้อ และความสามารถในการเคลื่อนไหว โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้สูงอายุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ กำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือการควบคุมการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ความมีเหตุผลของงานวิจัย ในการทบทวนงานวิจัยครั้งนี้พบว่าปัจจัยภายในมีผลต่อการลุกยืนในผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยภายนอกเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่การใช้ชีวิตประจำวันเช่นการยืนแล้วเดินหยิบของ
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการแปรปรวนของข้อมูล ปัจจัยภายในและปัจจัยระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย ค่าปรวนแปรอาจเกิดทางเทคนิค การทดลองการลุกยืนที่น้อยเกินไป เนื่อจากไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน การอธิบายปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการแปรปรวน คือการเรียนรู้ การล้าจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ความถี่ในการลุกยืน และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
สรุปงานวิจัย
- จากงานวิจัยทั้งหมดพบว่า มีงานวิจัย 27 จาก39 มีการวัดแรงร่วมกับงานวิเคราะห์ระบบการเคลื่อนไหว ในการสังเกตุจากการลุกยืน
- มี 10 จาก 39 งานวิจัยที่ใช้ EMG ในการวิเคราะห์
- งานวิจัยทั้งหมดพบว่ามีการกำหนดจำนวนการลุกยืน ในผู้เข้าร่วมงานวิจัย 1 คนอยู่ในช่วง 1-15 ครั้ง
- จากงานวิจัยทั้งหมดพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีจำนวน 2-51 คน
- คณะผู้ทำงานวิจัยพบว่า ความสูงของเก้าอี้ พนักพิงหลัง และตำแหน่งการวางเท้ามีปัจจัยต่อการลุกโดย เก้าอี้สูงมีผลต่อการลดมุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก (60%) และข้อเข่า (50%)
- เนื่องจากไม่ได้จำกัดความยาวขา จึงเปรียบเทียบผลยาก
- ที่พักแขนทำให้มีการเคลื่อนไหวเข่าลดลง 50%
- การวางเท้ามีผลต่อการการทำงานข้อเข้าและข้อสะโพกลดลง
- พนักพิงมีผลต่อการลุกยืน พบว่าตำแหน่งของลำตัว มีผลต่อการยืน

Wednesday, July 7, 2010

Device for Handling a Wheelchair (อุปกรณ์สำหรับการจับยึดเก้าอี้ล้อเลื่อน)

ชื่องานวิจัย/บทความ
Device for Handling a Wheelchair (อุปกรณ์สำหรับการจับยึดเก้าอี้ล้อเลื่อน)
แหล่งที่มา Sylvia J. McConnell United State Patent Continuation-in–part of ser No.869983 Jun 3 1986 Pat No. 4726730
วัตถุประสงค์
1. อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้มี platform สามารถยกและเอียงเก้าอี้ล้อเลื่อนได้ ด้วยวิธีการยึด platform เข้ากับ wheelchair ด้วยตัวจับอย่างปลอดภัยบน platform เพื่อให้การบริการแก่ผู้ใช้ เก้าอี้ล้อเลื่อน โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องลุกออกจาก เก้าอี้ล้อเลื่อน
2. สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นอุปกรณ์ใช้ยึดเก้าอี้ล้อเลื่อน ซึ่งสามารถยก เก้าอี้ล้อเลื่อน และเอียงกลับหลังทำมุมได้ 45-90 องศาเพื่อให้ผู้ใช้ ใช้บริการต่างๆได้เลยบน เก้าอี้ล้อเลื่อน
3. สิ่งประดิษฐ์นี้ยังมี platform ยกและเอียงตัว เก้าอี้ล้อเลื่อน ตัว platform มีกลไกลซึ่งใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งประดิษฐ์นี้ยังถูกปรับแต่งให้ใช้งานง่ายและรวดเร็วโดยการควบคุมด้วยมือและเท้าอย่างสะดวก
4. นอกจากนี้สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นอุปกรณ์จัดการเก้าอี้ล้อเลื่อน ที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ที่ใช้ผู้ปฏิบัติงานคนเดียว เพื่อการใช้การยก การเอียง และหมุนกลับหลังได้อย่างปลอดภัย
กลุ่มตัวอย่าง
สำหรับให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนมีความสะดวกในการทำการ เกี่ยวการบริการบางอย่างเช่นในงาน ทันต กรรม หรือในร้านเสริมสวยซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เอง
ขั้นตอนการวิจัย
อุปกรณ์นี้ประกอบด้วย housing เป็น ตัวรองรับ เก้าอี้ล้อเลื่อน ที่พักหลัง ล้อ กล่องควบคุมการใช้ด้วยเท้า ซึ่งมีปุ่มรองรับเท้าแบบคู่เพิ่อปรับระดับตัว housing และปุ่มรองรับเท้าคู่เพื่อเอียงตัวรองรับไปด้านหน้าและด้านหลัง ปุ่มใช้จัดการระบบยกมอเตอร์ขับเคลื่อนซึ่งประกอบด้วยแจ๊คกรรไกรแบบคู่ และ worm gear แนวตั้ง ขับเคลื่อนโดยโซ่ด้วยมอเตอร์กลับไปมาได้ ปุ่มที่ใช้ในระบบเอียงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากลับได้ใช้ขับเคลื่อน worm gear และตัวตาม worm gear ติดกับส่วนสำคัญกับตัวรองรับ wheelchair และยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆประกอบด้วย อ่างล้างหน้า ที่ค้ำยันอ่างล้างหน้า พร้อมตัวค้ำยึดติดกับพนักพิงหลัง






ผลการวิจัย
สิ่งประดิษฐ์นี้ประกอบด้วย ฐาน (base) , platform , frame ค้ำยันที่ติดอยู่ระหว่างฐานกับ platform วิธีการแนบระหว่าง base กับ frame ค้ำยันนั้นใช้สำหรับการยก จะเรียก ว่า support frame และแนบระหว่าง frame ค้ำยันและ platform ใช้สำหรับการเอียง จะเรียกว่า platform วิธีการเพื่อความปลอดภัยของ wheelchair และผู้อยู่บน wheelchair
ศูนย์รวมของสิ่งประดิษฐ์ประกอบด้วย housing เป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ใช้สำหรับค้ำจุน ตัวรองรับ wheelchair ที่เชื่อมแบบหมุนได้กับตัว housing การเชื่อมต่อ housing เพื่อการยกขึ้นหรือการลดระดับ ในแนวตั้ง การเชื่อมต่อทั้งตัว housing และ ตัวรองรับ wheelchair ใช้เพื่อการเอียงไปหน้ากลับหลัง และการยึดติดกันอย่างปลอดภัยของตัว wheelchair และผู้ใช้เราเรียกว่า ตัวรองรับ wheelchair เรียกว่า platform
ประโยชน์ที่ได้รับ
สิ่งประดิษฐ์นี้คือ อุปกรณ์สำหรับยกและเอียงคนที่นั่งบนเก้าอี้ล้อเลื่อน มันสามารถจัดการ เก้าอี้ล้อเลื่อน ที่อยู่บน platform ของอุปกรณ์ และยังยกและเอียง เก้าอี้ล้อเลื่อน พร้อมกับตัวผู้ใช้ด้วย ดังนั้นหน้าที่ของอุปกรณ์นี้ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ให้บริการเช่นการ การสระผม การทำฟัน สำหรับผู้อยู่บน เก้าอี้ล้อเลื่อน ช่วยปรับให้ ผู้ที่อยู่บน เก้าอี้ล้อเลื่อน มีความผ่อนคลาย และสะดวกมากขึ้น
วิเคราะห์และวิจารณ์
ข้อดี
ลักษณะของโครงงานจะใช้ ชุด มอเตอร์ และสกรู เป็นกลไกในการควบคุมการเคลื่อนที่ ของการยกเอียง พร้อมทั้ง ปรับขึ้นลงในระยะสั้นๆได้ ในระดับหนึ่ง เป็นการดีกับการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะกับรูปร่าง ของหมอ หรือช่างทำผม ที่ทำหน้าที่บริการ ซึ่งอาจจะมีรูปร่าง สูงต่ำ ไม่เท่ากัน
ข้อเสีย
ต้องใช้เทคนิคสูงในการออกแบบในส่วนของชิ้นส่วนทางกล รวมทั้งต้องมีความเชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรมคำสั่งที่ดี พอสมควร รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบเป็นชิ้นงานนั้น อาจจะมีราคาแพง และหาซื้อไม่ได้ทั่วไปในท้องตลาด ต้องมีการสั่งทำขึ้นมาเป็นการเฉพาะงานนั้นๆ

ชุดเชื่อมต่อควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าด้วยศีรษะ

ชื่องานวิจัย/บทความ
ชุดเชื่อมต่อควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าด้วยศีรษะ
แหล่งที่มา
เป็นอนุสิทธิบัตร ที่กำลังรอพิจารณาจากคณะกรรมการ โดย นายประพนธ์ จิตรกรียาน หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการขับเคลื่อนและระบบอัติโนมัติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้สำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถใช้มือในการควบคุมการเคลื่อนที่ของเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าได้
2. เพื่อให้การควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าจะเป็นแบบต่อเนื่องและความเร็วในการเคลื่อนที่จะสัมพันธ์โดยตรงกับการกดสวิตช์นั้นๆ สมรรถนะในการเคลื่อนที่ของเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าจะราบเรียบ
3. เพื่อไม่ให้เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้ามีการกระชากตัวมากในขณะเริ่มเคลื่อนที่ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับเรื่องของความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
4. เพื่อทำให้ต้นทุนของระบบดังกล่าวมีราคาที่ต่ำลง รวมทั้งการจะออกแบบให้เฉพาะเจาะจงสำหรับเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าและผู้ใช้งานแต่ละคนเป็นการเฉพาะ สามารถทำได้โดยง่าย
กลุ่มตัวอย่าง
สำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่มีความพิการตั้งแต่ช่วงคอลงไป ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขน ขา หรืออวัยวะใดๆได้ นอกจากศรีษะของผู้พิการเท่านั้น หรือ สำหรับคนไข้อัมพาตหรืออัมพฤกษ์ที่มีปัญหาจากการเจ็บป่วยของไขสันหลังและระบบประสาท หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอวัยวะที่ต่ำกว่าคอลงมา ไม่สามารถที่จะใช้มือในการควบคุม Joy stick เพื่อให้เคลื่อนที่อย่างละเอียดตามที่ต้องการได้
ขั้นตอนการวิจัย
ในการประดิษฐ์นี้นำเสนอชุดเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมด้วยศีรษะหรือทางคาง หรือด้วยการเป่าก็แล้วแต่ ที่เป็นแบบ Non-proportional Input Device แบบง่ายๆ กับชุดควบคุมของเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ด้วย Joy stick โดยชุดเชื่อมต่อที่นำเสนอมีความยืดหยุ่นที่สามารถใช้ได้กับเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่มีจำหน่ายอย่างหลากหลายในท้องตลาดได้โดยง่าย โดยยังสามารถคงสมรรถนะในการควบคุมของชุดควบคุมเดิมๆที่ติดตั้งมากับเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าอย่างเต็มสมรรถนะ และเพิ่มเติมในเรื่องของความปลอดภัยโดยติดตั้งตัวตรวจจับวัตถุเพื่อช่วยในการตรวจสอบสิ่งกีดขวางเพื่อบอกวงจรควบคุมให้ทำการลดความเร็วโดยอัตโนมัติ เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานอีกทางหนึ่ง
คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ
รูปที่ 1 โครงสร้างของระบบโดยรวม
รูปที่ 2 โครงสร้างของชุดสวิตช์ควบคุมด้วยศีรษะ
รูปที่ 3 ชุดกลไกของชุดเชื่อมต่อควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าด้วยศีรษะ
รูปที่ 4 ชุดเชื่อมต่อควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าด้วยศีรษะ ที่ติดตั้งอยู่กับตัวรถเดิม







ผลการวิจัย
จากวิธีการและวงจรชุดควบคุมที่นำเสนอ เป็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์พื้นฐานประเภทสวิตช์และวงจรควบคุมมอเตอร์ขนาดเล็กซึ่งสามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ เพื่อทำเป็นอุปกรณ์พิเศษที่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการด้านร่างกายที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่สามารถขยับร่างกายตั้งแต่คอลงมา ให้ใช้งานรถไฟฟ้าในชีวิตประจำวันได้ การดัดแปลงตัวรถไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือศึกษารายละเอียดของวงจรชุดควบคุมเดิมของตัวรถเลย การนำไปใช้กับรถในแต่ละรุ่นจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะชุดอุปกรณ์จับยึดที่ Joy stick และตำแหน่งการติดตั้งสวิตช์ต่างๆเท่านั้น ซึ่งเป็นการดัดแปลงภายนอกเกี่ยวกับทางด้านเครื่องกลและโครงสร้างของตัวรถ ทำให้ความเสี่ยงในการทำให้วงจรควบคุมรถเสียหายน้อยมาก ในส่วนวงจรควบคุม การดัดแปลงสามารถแก้ไขเพียงโปรแกรมสำหรับตัวไมโครคอนโทรลเลอร์เท่านั้น ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆสำหรับรถแต่ละรุ่น และยังปรับให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ง่าย และมีตัวตรวจจับวัตถุติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับช่วยในเรื่องความปลอดภัยรวมทั้งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ชุดเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมด้วยศีรษะหรือทางคาง หรือด้วยการเป่าก็แล้วแต่ ที่เป็นแบบ Non-proportional Input Device แบบง่ายๆ และชุดควบคุมของเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ด้วย Joy stick
2.มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนให้สามารถใช้ได้กับเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าที่มีจำหน่ายอย่างหลากหลายทั่วไปในท้องตลาดได้โดยง่าย โดยยังสามารถคงสมรรถนะในการควบคุมของชุดควบคุมเดิมที่ติดตั้งมากับเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าอย่างเต็มสมรรถนะ โดยไม่ต้องมีการดัดแปลงแก้ไขวงจรควบคุมเดิมของตัวรถ
3. ชุดเชื่อมต่อที่นำเสนอสามารถเชื่อมต่อกับชุดควบคุมด้วยศีรษะ หรือด้วยคาง หรือด้วยการเป่า เป็นต้น ซึ่งเป็นการควบคุมแบบ Non-proportional กับชุดควบคุมเก้าอี้ล้อเลื่อนแบบไฟฟ้าที่มี Joy stick ซึ่งเป็นแบบ Proportional Interface Unit และทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะบังคับและปรับความเร็วของเก้าอี้ล้อเลื่อนได้อย่างต่อเนื่องอย่างเดิม
วิเคราะห์และวิจารณ์
ข้อดี
ลักษณะของโครงงานจะใช้ ชุด มอเตอร์ 2 แกน เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่ของ จอยสติ๊กอีกทีหนึ่ง หรือ ทำหน้าที่แทนมือของ ผู้พิการ ซึ่งไม่สามารถขยับแขน และมือได้ สิ่งที่ผู้พิการทำได้คือ ขยับศรีษะเพื่อใช้กดสวิทซ์ ที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆคือ ซ้าย ขวา เดินหน้า และ ถอยหลัง ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ของเก้าอี้ล้อเลื่อนไฟฟ้าเป็นไปอย่างนุ่มนวล ไม่กระชาก
ข้อเสีย
ต้องใช้เทคนิคสูงในการออกแบบในส่วนของกลไกควบคุมการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการออกแบบในส่วนของชิ้นส่วนทางกล รวมทั้งต้องมีความเชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ แลการเขียนโปรแกรมคำสั่งที่ดี พอสมควร รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบเป็นชิ้นงานนั้น อาจจะมีราคาแพง

Differences in kinematic parameters and plantarflexor reflex responses between manual (Ashworth) and isokinetic mobilisations in spasticity assessment

ชื่องานวิจัย/บทความ
Differences in kinematic parameters and plantarflexor reflex responses between manual (Ashworth) and isokinetic mobilisations in spasticity assessment
แหล่งที่มา
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/pubmed ค้นหาคำว่า isokinetic mobilisations in spasticity
วัตถุประสงค์
1. เปรียบเทียบการวัดตัวแปรภายในจากการขยับข้อเท้าโดยวิธีใช้มือทำและการใช้เครื่องขยับให้
2. เข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อ stretch reflex
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วย 8 คน ที่มีปัญหากล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลงเกร็ง (plantarflexor spasticity)
ขั้นตอนการวิจัย
1. ช่วยขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น(Dorsiflexsion passive movement)ให้แก่กลุ่มตัวอย่าง ใน 2 รูปแบบ
1. แบบที่ 1 ขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู 7 คน ใช้ Ashworth test เป็นตัวประเมิน
2. แบบที่ 2 ใช้ isokinetic device (Cybex® Norm™) ใช้ความเร็วในการกระดกข้อเท้า 300 องศา/วินาที วัดค่าเฉลี่ยมุมของตำแหน่งข้อเท้า maximal angular velocity (θ′max), maximal angular acceleration (θ″max) และการตอบสนองของ plantarflexor reflex
2. วัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Electromyograph (EMG) วัดที่กล้ามเนื้อ gastrocnemius lateralis (GL) and the soleus (SOL).
ผลการวิจัย
1. ผลการขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู 7 คน ใช้ Ashworth test พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 8 คน มีการตอบสนองต่อการกระตุ้น stretch reflex ของกล้ามเนื้อน่อง (triceps surae)
2. ผลการขยับโดยใช้ isokinetic device (Cybex® Norm™) พบว่ามีเพียง 3 คน จาก 8 คนที่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้น stretch reflex
3. มุม maximal angular velocity (θ′max) significantly (P<0.05)>
วิเคราะห์วิจารณ์
จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการขยับข้อเท้าโดยวิธีใช้มือทำ ให้ผลตอบสนองต่อ stretch reflex ได้สูงกว่าการใช้เครื่องซึ่งควบคุมความเร็วขยับให้ ซึ่งในคนที่มี stretch reflex ที่มากเกินไปมีผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง (spastic) แสดงว่าความสม่ำเสมอและความเร็วในการขยับข้อมีผลต่อภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง (spastic) งานวิจัยนี้ไม่ได้ระบุระดับ ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง ( spastic) ของกลุ่มทดลอง เนื่องจากในกลุ่มที่มีภาวะเกร็งต่างกัน ย่อมตอบสมองต่อการขยับข้อต่อได้ต่างกัน ในงานวิจัยกล่าวถึง reflex 2 ตัว stretch reflex และ plantarflexor reflex ซึ่งไม่ได้ระบุในวิธีการวิจัยและผลอย่างชัดเจน

Stretching at the ankle joint: viscoelastic responses to holds and continuous passive motion

ชื่องานวิจัย/บทความ
Stretching at the ankle joint: viscoelastic responses to holds and continuous passive motion
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed ค้นหาคำว่า continuous passive motion
วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบผลต่อภาวะข้อเท้าติดและการลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้น ระหว่างการยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion
กลุ่มตัวอย่าง
คนปกติที่ไม่มีอาการโรค 24 คน เป็นชาย 15 คน หญิง 8 คน อายุเฉลี่ย 26 ปี
ขั้นตอนการวิจัย
1. ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 1 ครั้ง ค้าง 60 วินาที (1 x 60-s hold), ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 2 ครั้ง ค้าง 30 วินาที ( 2 x 30-s holds),ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 4 ครั้ง ค้าง 15 วินาที (4 x 15-s holds) และ ขยับต่อเนื่องโดยเครื่อง continuous passive motion 60 วินาที
2. ใช้ Kin-Com dynamometer ในการวัดภาวะข้อเท้าติดและแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor)
3. วัดภาวะข้อติดในช่วงที่ข้อเท้าเคลื่อนที่ 80 % ของมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
4. วัดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อที่ลดลงในช่วง 80 % ของมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
5. กลุ่มตัวอย่างต้องทำจนครบทุกการทดสอบ
ผลการวิจัย
1. การลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion มีค่า significantly (P < 0.05)
2. มีการลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion 16%
3. มีการลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion เท่านั้น
4. การลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) significantly (P < 0.05)
5. การลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) เป็น 10.5%, 21.5%, 21.7%, และ 19% ในการยืดค้างที่ 0, 15, 30, and 60 วินาที,
6. ใช้ สถิติ Bonferonni contrasts เป็นตัวเปรียบเทียบ เปรียบเทียบระหว่าง การยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion significant difference (P < 0.05)
7. ใช้ สถิติ Bonferonni contrasts เป็นตัวเปรียบเทียบ เปรียบเทียบระหว่าง การยืดกล้ามเนื้อค้างระหว่างยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 1 ครั้ง ค้าง 60 วินาที (1 x 60-s hold), ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 2 ครั้ง ค้าง 30 วินาที ( 2 x 30-s holds),ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 4 ครั้ง ค้าง 15 วินาที (4 x 15-s holds) ไม่ significant differences (P > 0.05)
8. ค่าความตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) จะลดลงดีที่สุดในการค้างที่ 20 วินาที
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงผลต่อภาวะข้อเท้าติดและการลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้น ระหว่างการยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion
2. ทราบถึงเวลาที่ใช้การยืดกล้ามเนื้อค้างไว้แล้วลดค่าความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากที่สุด
3. ทราบถึงหลักการที่มีผลต่อการลดลงของภาวะข้อต่อติด
วิเคราะห์วิจารณ์
จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผลที่มีต่อการลดภาวะข้อติดคือการขยับข้อเท้าอย่างต่อเนื่องแต่ในขณะที่ต้องการลดแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อจะต้องมีการยืดค้างไว้ โดยการยืดค้างที่ 20 วินาทีจะลดแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในงานวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่ไม่มีอาการโรค จึงควรมีการศึกษาต่อยอดในการเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาจริง เนื่องจากความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในกลุ่มที่มีอาการโรคมักมียืดหยุ่นได้น้อยกว่ากลุ่มไม่มีอาการโรค