MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Sunday, July 4, 2010

บริการห้องสมุดสำหรับนักศึกษาหูหนวกและหูตึง:กรณีศึกษาวิทยาลัยราชสุดา

ชื่องานวิจัย/บทความ
บริการห้องสมุดสำหรับนักศึกษาหูหนวกและหูตึง:กรณีศึกษาวิทยาลัยราชสุดา
แหล่งที่มา ไม่ระบุ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดาที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงศึกษาอยู่
2. เพื่อศึกษาความต้องการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับงานบริการของห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดาที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงศึกษาอยู่
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพของบริการที่ได้รับและความต้องการของคนคนหูหนวกและคนหูตึงในงานบริการห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา
กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาที่หูหนวกและหูตึง วิทยาลัยราชสุดา จำนวน 75 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. กำหนดหัวข้อการวิจัย
2. ทบทวนวรรณกรรม
3. กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
4. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5. เก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
7. สรุปผลการวิจัย อภิปราย และเสนอแนะ
ผลการวิจัย
1. ในด้านทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดจัดไว้บริการมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ และไม่มีทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่อยู่ในรูปสื่อที่คนหูหนวกและหูตึงใช้ได้โดยเฉพาะ
2. ด้านการบริการ ไม่มีห้องหรือพื้นที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับให้บริการ และไม่มีอาสาสมัครสำหรับช่วยคนหูหนวกและหูตึง
3. ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อผู้ใช้บริการ ไม่มีคู่มือแนะนำการใช้
4. ด้านผู้ให้บริการ ไม่มีผู้ให้บริการที่เป็นล่ามภาษามือซึ่งสามารถสื่อสารกับคนหูหนวกและคนหูตึงเข้าใจได้ ไม่มีอาสาสมัครให้บริการช่วยคนหูหนวกและคนหูตึงมากที่สุด
5. ด้านอาคารสถานที่ คนหูหนวกและคนหูตึงต้องการให้มีสัญญาณเตือนภัยมากที่สุด
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทำให้ถึงทราบความต้องการในแต่ละด้านของนักศึกษาคนหูหนวกและคนหูตึงที่เข้ารับบริการที่ห้องสมุด วิทยาลัยราชสุดา เพื่อจะได้นำข้อมูลความต้องการของคนหูหนวกและคนหูตึงไปปรับปรุงในด้านต่างๆเพื่อทำให้บุคคลดังกล่าวได้สามารถเข้าใช้ห้องสมุดได้โดยสะดวก
วิเคราะห์วิจารณ์
ห้องสมุดที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงเข้าไปใช้บริการควรมีจัดการบริการที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวตั้งแต่บุคคลากรที่ให้บริการในห้องสมุดซึ่งต้องมีความเข้าใจในความต้องการ ต้องสามารถสื่อสารกับเขาได้ ด้านอาคารสถานที่ต้องสัญญานต่างๆต้องแสดงให้ทราบโดยการมองเห็นควบคู่กับการได้ยิน ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อคนหูหนวกและคนหูตึง

No comments:

Post a Comment