MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, July 1, 2010

An Assistive Robotic Agent for Pedestrian Mobility

ชื่องานวิจัย/บทความ
An Assistive Robotic Agent for Pedestrian Mobility
ผู้เขียน Glenn Wasson และคณะ
แหล่งที่มา ไม่มีข้อมูล
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น โดยมุ่งเน้นไปที่ Walker เพื่อตอบสนอง การใช้งานที่มีความต่อเนื่องต่างกัน ทั้งยังมีความปลอดภัยและสะดวกในการใช้งาน
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น แต่ไม่ได้ระบุเพศ จำนวน อายุ และโรคประจำตัวอื่น ๆ
ขั้นตอน
- การออกแบบเน้นความปลอดภัยและสามารถเดินได้ทุกพื้นผิว โดยจะนำ Sensor ส่งสัญญาณไปที่มือจับ เพื่อทราบความแตกต่างของแต่ละพื้นผิว โดยพื้นผิวที่ต่างกันจะทราบได้จากความต่างที่มือจับ
- โดยใช้เป็น Walker Sonar และ IR Sensors สามารถควบคุมเป็น local map ได้ เพื่อตอบสนองความปลอดภัยในการเดินของผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการได้ยิน
- ทิศทางที่ใช้คือ เดินหน้า เดินถอยหลัง โดยสามารถชะลอความเร็ว และควบคุมความเร็วได้ที่เบรกมือ
- ตำแหน่งที่ควรยืนและวาง walker โดยวางตำแหน่งดังนี้
T1 คือทิศทางที่ต้องการไป
T2 คือ ตำแหน่งที่ walker ควรเลื่อนไปเพื่อเดินไปด้านหน้า ก่อนที่ผู้ใช้จะยืนเดินโดยมีระบบเบรกคอยควบคุมความเร็ว
T3 คือ ตำแหน่งที่ใกล้เกิน walker อาจเป็นอุปสรรคในการยืนเดิน
- สอนวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้สะดวก
ผลการวิจัย
1. ถ้าผู้ใช้อยู่ในตำแหน่ง T1 และT2 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการมองเห็นจะสามารถหมุนกลับตัวได้ดี ปลอดภัย
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการเดินคือระยะทางในการเดิน และระยะความห่างระหว่างตัวผู้ใช้กับ walker
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงขั้นตอนการเลือก การออกแบบ และการสอนการใช้อุปกรณ์ช่วยให้เหมาะกับความสามารถและข้อจำกัดของผู้ใช้งาน
2. มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินให้ตอบสนองความต้องการและข้อจำกัดของแต่ละบุคคล และการใช้งานที่เหมาะสมและถูกต้องช่วยเพิ่มความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน
วิเคราะห์งานวิจัย
1. ขาดความระเอียดในการเลือกผู้เข้าร่วมการทดลอง ซึ่งเพศ อายุ การรับรู้การเข้าใจซึ่งมีผลต่อการเข้าใจในการสอน โรคประจำตัวมีผลต่อการทรงตัว การยืน และการเดิน
2. ขาดตัวชี้วัดคุณภาพในการเดิน ก่อนและหลังใช้อุปกรณ์ เทียบกับอุปกรณ์ที่เคยมี

No comments:

Post a Comment