MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Friday, July 23, 2010

Biomechanical changes at the ankle joint after stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
Biomechanical changes at the ankle joint after stroke

แหล่งที่มา
www.ejournal.mahidol.ac.th สืบค้นคำว่า ankle ,stroke,passive movementr

วัตถุประสงค์
1.ศึกษาหาการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะข้อเท้าติดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและคนปกติที่มีความผิดปกติของระบบโครงร่างของเท้า

กลุ่มตัวอย่าง
1.ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 15 คน มีเงื่อนไขดังนี้
1.1 มีปัญหาสมองขาดเลือด (ischemic stroke) จากเส้นเลือด middle cerebral artery ข้างใดข้างหนึ่ง เป็นมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
1.2 ไม่ได้รับยาต้านเกร็ง
1.3 มีโปรแกรมทำกายภาพบำบัดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
1.4 มีประวัติการรักษาที่ชัดเจน
2.กลุ่มคนปกติ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม มีเงื่อนไขดังนี้
2.1 กลุ่มที่ 1 มี 10 คน ประวัติไม่มีปัญหาทางระบบประสาทและกระดูก
2.2 กลุ่มที่ 2 มี 5 คน มีปัญหาทางกระดูกของเท้า ซึ่งมักเกิดจากความหลากหลายของรูปทรงกระดูก เช่น เท้าแบน เท้าโก่ง แต่ไม่มีผลต่อการทำหน้าที่ เดินได้ปกติ ไม่ปวด สามารถนั่งยอง ๆ ด้วยส้นเท้าได้

ขั้นตอนการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างนั่งบนเก้าอี้ในลักษณะผ่อนคลาย วางขาที่จะทดสอบที่อุปกรณ์ดังรูป งอเข่า 105 องศาและยึดติดไว้ วางเท้าที่แผ่นรองน้ำหนักเท้าและยึดติด ซึ่งแกนโครงสร้างของข้อเท้าอยู่ในแนวแกนของแผ่นรองน้ำหนักเท้า ซึ่งมีแกนเหล็กตรงติดเชื่อมอยู่ แรงต้านจะส่งมาที่แผ่นรองน้ำหนักเท้าซึ่งสามารถเคลื่อนขยับแบบคานได้ การขยับของแกนหมุนจะสามารถบอกมุมของข้อเท้าได้ การวัดค่าแรงเกร็งต้านแสดงค่าโดยใช้ piezo – element ติดตั้งที่แกนเหล็กตรง วัดค่าบอกตำแหน่ง โดย potentiometer ติดตั้งที่แกนหมุนข้อเท้า



2.ก่อนวัดมุมข้อเท้าอยู่ในมุมเริ่มต้น 90 องศา มุมระหว่าง anterior margin of tibia กับ หลังเท้า (sole of foot) โดยแรงและตำแหน่งเริ่มที่ตำแหน่งนี้
3.ขยับข้อเท้าช้า ๆ จากกระดกข้อเท้าขึ้นและลง ในความเร็ว 5-8 องศาต่อวินาที (1 รอบใช้เวลา 75 วินาที) วัดค่า การทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้ EMG ที่กล้ามเนื้อ tibialis anterior (TA) และ tricepa surae (TS)

ผลการวิจัย
1.พบแรงต้านเล็กน้อยของการกระดกข้อเท้าขึ้นในช่วงที่กว้าง ที่มุม 90 องศาและ 110 องศา โดยเริ่มมีแรงต้านช้า ๆ ที่ 70 องศา และเพิ่มอย่างรวดเร็วในมุมที่ต่ำกว่า 60 องศา การกระดกข้อเท้าลงเริ่มมีแรงต้านที่ 110 องศา และจำกัดการเคลื่อนไหวในมุม 130 องศา
2.ลักษณะกราฟแรงต้านของทั้งสองข้างข้อเท้าไม่แตกต่างกัน แรงต้านขณะกระดกข้อเท้าขึ้นและลงที่มุมระหว่าง 95 องศาถึง 110 องศาไม่แตกต่างกัน
3.ข้อเท้าด้านตรงข้ามกับสมองที่มีปัญหามีข้อเท้าติด ที่มุม 90 องศา และ 70 องศา

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวกลศาสตร์หลังการขยับข้อต่อให้ (passive movement) ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะข้อเท้าติดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและคนปกติที่มีความผิดปกติของระบบโครงร่างของเท้า

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้อย่างละเอียด ในกลุ่มคนปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ไม่ได้รายงานผลความแตกต่างทางชีวกลศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงของ 2 กลุ่มนี้ อธิบายวิธีการวิจัยไว้ค่อนข้างสับสน มุมการวัดการเคลื่อนไหวข้อเท้ากำหนดให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากค่าปกติของการขยับข้อเท้าอยู่ที่กระดกข้อเท้าขึ้นได้ 20 องศา ส่วนกระดกข้อเท้าลง 50 องศา แต่ในงานวิจัยกำหนดให้มุมที่ขนานทำกับแนว anterior margin of tibia เป็น 0 องศา และกำหนดมุมปกติของข้อเท้าเป็น 90 องศา ทำให้เกิดมุมที่ข้อเท้าไม่สามารถขยับถึงได้ เช่น มุมที่เกิน 110 ขึ้นไป และมุมที่ต่ำกว่า 40 องศา แต่ในงานวิจัยนี้มีค่าในตำแหน่งของมุมที่ 130 องศาด้วย

No comments:

Post a Comment