MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Monday, July 12, 2010

หุ่นยนต์แขนกลสำหรับป้อนอาหารผู้พิการโดยอาศัยการทำงานของระบบวิชวลเซอร์โว

ชื่องานวิจัย/บทความ
หุ่นยนต์แขนกลสำหรับป้อนอาหารผู้พิการโดยอาศัยการทำงานของระบบวิชวลเซอร์โว
แหล่งที่มา ไม่ระบุ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและทำการออกแบบต้นแบบของหุ่นยนต์แขนกลที่สามารถช่วยเหลือผู้พิการทางแขน
ในการรับประทานอาหาร
2. เพื่อทำกาศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมโดยใช้ภาพเป็นสัญญาณป้อนกลับ (Visual Servo System)
มาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์แขนกลต้นแบบนี้
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้พิการทางแขน
ขั้นตอนการวิจัย
1. ศึกษาการทำงานของระบบ Visual Servo ซึ่งจะมีการประยุกต์ในแบบต่างๆและข้อดีข้อเสียใน
การนำระบบ Visual Servo มาใช้งานเพื่อทำการเลือกวิธีการที่ดีที่สุดมาใช้งานโดยผลที่ได้คือ
วิธีการแบบการดึงคุณลักษณะภาพมาใช้เป็นข้อมูลในการควบคุม
2. ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ของหุ่นยนต์และทำการออกแบบจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลอง
การทำงานของหุ่นยนต์
3. ศึกษาและออกแบบวิธีการประมวลผลภาพเพื่อทำการประมวลผลเพื่อหาค่าของคุณลักษณะของ
ภาพที่ต้องการเพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้แก่ระบบ Visual Servo
4. ทำการออกแบบระบบและทำการสร้างระบบโดยการนำส่วนประมวลผลภาพและส่วนของ
หุ่นยนต์มาทำการรวมกันและทดสอบกับคนจริง
5. วิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัย
6. จัดทำเอกสารวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย
วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการออกแบบต้นแบบของหุ่นยนต์แขนกลเพื่อใช้สำหรับป้อนข้าวผู้พิการโดยที่ไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมได้โดยตนเองซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและยังสามารที่จะสร้างความรู้สึกและความสะดวกของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานนั้นจะอาศัยหลักการทำงานของระบบ Visual Servo System ซึ่งจะหลักการของ Features-Based Visual Servo System เข้ามาใช้ในการออกแบบการทำงานให้แก่ระบบ โดยที่อยู่ในความสำคัญที่ว่าจะทำการออกแบบระบบของหุ่นยนต์
โดยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจากการใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างที่น้อยที่สุดเพื่อที่จะเป็นอีกทางเลือกที่
ให้ผู้พิการส่วนมากสามารถที่จะนำมาใช้ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
เพื่อทำการช่วยเหลือผู้พิการทางแขนในการรับประทานอาหารโดยที่จะทำการตักอาหารจากภาชนะและการทำป้อนอาหารให้สามารถที่จะทดแทนการขาดหายไปของแขนผู้ป่วยได้อย่างดีทำให้ผู้ป่วยสามรถที่จะมีความสะดวกในการรับประทานอาหารมากขึ้นและผลที่ตามมาทำให้ผู้ป่วยนั้นจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นตามมาเนื่องจากว่าสามารถทำกิจกรรมได้เหมือนกับบุคคลปกติทั่วไป
วิเคราะห์วิจารณ์
จากผลลัพธ์การจำลองผลและข้อสรุปข้างต้นสามารถทำการออกแบบระบบการทำงานของหุ่นยนต์ซึ่งอาศัยหลักการของระบบ Visual Servo Control นั้นสามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อในด้านของการใช้งานต่างๆ ที่นอกเหนือจากการออกแบบการทำงานดังที่ได้เสนอมาข้างต้นซึ่งจะทำการนำเสนอการพัฒนาและการเลือกใช้ส่วนต่างๆให้เหมาะสมกับระบบที่มากขึ้นดังหัวข้อต่อไปนี้ห้องสมุดที่มีคนหูหนวกและคนหูตึงเข้าไปใช้บริการควรมีจัดการบริการที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวตั้งแต่บุคคลากรที่ให้บริการในห้องสมุดซึ่งต้องมีความเข้าใจในความต้องการ อุปสรรค สถานที่

No comments:

Post a Comment