MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, July 15, 2010

อุปกรณ์ช่วยเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกายหรือสุขภาพ

หัวข้องานวิจัย/บทความ
อุปกรณ์ช่วยเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกายหรือสุขภาพ
แหล่งที่มา คุณอลิสา สุวรรณรัตน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการ เขียน
2.เพื่อให้มีอุปกรณ์การเขียนเพื่อช่วยเหลือทดแทนอวัยวะที่ขาดหายไป
3.เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถนักเรียนพิการในการเขียนและการใช้อุปกรณ์
กลุ่มตัวอย่าง
อุปกรณ์ช่วยการเขียน (Writing Aids)
ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพที่มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อแขนและมือ หรือไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อแขนและมือทั้งสองข้างได้ เนื่องจากมีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีกระดูกผิดรูปหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว แขนและมือขาดหายไป เป็นต้น จะทำให้มีความยากลำบากหรือไม่สามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนด้วยวิธีปกติ เช่น การจับดินสอเขียนบนกระดาษ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน ดังนี้

ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

- กระดานอักษร/กระดานคำศัพท์
เรือ ก้อนเมฆ กระเป๋าผู้เรียนที่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ สามารถใช้การเลือกตัวอักษรหรือคำศัพท์จากกระดานอักษรหรือกระดานคำศัพท์แทนการเขียน โดยมีผู้บันทึกคำตอบหรือจดข้อความลงไปให้แทน

- กระดานและตัวอักษรแม่เหล็ก
ผู้เรียนที่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ สามารถใช้การหยิบตัวอักษรแม่เหล็กมาเรียงเป็นคำหรือข้อความบนกระดานแม่เหล็กแทนการเขียนด้วยมือ

- การตัดกระดาษ-ทากาวแทนการเขียน
การเขียนคำศัพท์ลงไปในกระดาษ และตัดคำศัพท์ทากาวแปะคำลงไปในกระดาษหรือสมุด หรือแบบฝึกหัดแทนการเขียนด้วยมือ

- กระดาษที่ปรับให้เขียนได้ง่าย (Alternative Paper)
การปรับกระดาษที่ใช้เขียนให้แสดงผลของเส้นบรรทัดง่ายต่อการควบคุมการเขียนด้วยมือ จะช่วยให้ผู้เรียนที่มีความยากลำบากในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมือในการจับดินสอเขียนหนังสือ สามารถควบคุมการเขียนตัวอักษรลงบนกระดาษได้ดีขึ้น ดังนี้

- การทำเส้นบรรทัดเป็นแถบสี

- การตีเส้นบรรทัดให้หนาและใหญ่ขึ้น

- การทำเส้นบรรทัดให้นูนขึ้น
การทำเส้นบรรทัดให้นูนขึ้น (Raised lines) จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมขอบเขตในการเขียนตัวอักษรลงบนช่องบรรทัดที่กำหนดได้ง่ายขึ้น

- การใช้กระดาษกราฟ/กระดาษตีเป็นตาราง
กระดาษกราฟหรือกระดาษที่ตีเป็นตาราง จะช่วยให้ผู้เรียนที่มีความยากลำบากในการเขียนด้วยมือสามารถกำหนดขอบเขตของการเขียนตัวอักษรแต่ละตัวลงไปในช่องว่างแต่ละช่องที่ปรากฏบนกระดาษกราฟหรือกระดาษที่ตีเป็นตารางได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสามารถเรียนรู้การควบคุมการเว้นช่องว่างระหว่างตัวอักษรที่ต้องเขียนลงไป นอกจากนี้ถ้าผู้เรียนมีปัญหาในการควบคุมการเขียนในช่องขนาดเล็ก สามารถนำไปถ่ายเอกสารขยายใหญ่เพื่อช่วยให้ควบคุมการเขียนตัวอักษรลงไปในช่องตารางได้ง่ายขึ้น

- การพูดบอกข้อมูลแทนการเขียน
ผู้เรียนที่สามารถพูดได้ปกติแต่ไม่สามารถเขียนหนังสือด้วยมือได้นั้น สามารถใช้การพูดเพื่อตอบคำถามหรือบอกข้อมูลให้ผู้อื่นจดบันทึกแทนการเขียนได้

- กรอบสำหรับเขียนข้อความ
กรอบบรรทัดที่นำแผ่นพลาสติกหรือกระดาษขนาดเท่ากับกระดาษที่ใช้ในการเขียน เช่น กระดาษ A4 มาเจาะช่องตามแนวบรรทัดที่ใช้เขียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเขียนให้อยู่ในบรรทัดที่กำหนดได้ง่ายและสะดวกขึ้น

วิเคราะห์และวิจารณ์
เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่พิการทางการเคลื่อนไหว ในการหยิบจับปากกาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน ในการสื่อสารถึงข้อความที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มีราคาไม่แพงเพราะใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก สามารถหาวัสดุ และอุปกรณ์ในประเทศมาใช้ได้ไม่ยากนัก แต่ประโยชน์ที่ได้รับมีมาก และเป็นประโยชน์มากต่อนักเรียน หรือเด็กพิการที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวมือ หรือ แขน

No comments:

Post a Comment