MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Saturday, July 31, 2010

การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

ชื่องานวิจัย/บทความ
การศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วม ในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
The Study of Attitudes of Instruction and Students Towards the Hearing Impairment Students and The Mainstrering Projects At Thanalongkorn Center, Rajabhat Institute Suan Dusit.

แหล่งอ้างอิง
ชื่อผู้วิจัย นายไพรวัลย์ แสงสุนทร
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Mr. Paiwan Saengsoonthon
ปริญาญาโท สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏสวนดุสิต
http://www.thaiedresearch.org

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
2. เพื่อศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกาณ์ สถาบัน ราชภัฏสวนดุสิต

กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในศูนย์ธนาลงกาณ์และนักศึกษาภาคปกติซึ่งเรียนอยู่ศูนย์ธนาลงกรณ์ ปีการศึกษา 2543 รวมทั้งสิ้น 264 คน

ขั้นตอนการวิจัย
ความเป็นมา
แนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะจัดการศึกษาในลักษณะของการเรียนร่วม โดยจัดให้บุคลที่มีความบกพร่องเข้าเรียนร่วมในห้องเรียนเดียวกันกับเด็กปกติ และพยายามมุ่งจัดในลักษณะการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) คือ การจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนได้ศึกษาในระบบเดียวกัน โดยไม่แยกว่าเด็กพิการต้องไปอยู่ในสถานศึกษาเฉพาะ รวมทั้งเด็กนั้นต้องได้รับการสนับสนุนทุกด้าน ทั้งด้านการแพทย์ กึ่งแพทย์ วิชาการ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2543 : 2)
การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการจะสำเร็จหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะเจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดการเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งเป็นการจัดเรียนร่วมในระดับอุดมศึกษา


คำนิยาม
1. เจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนร่วม หมายถึง ท่าที ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการของบุคคลที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเต็มเวลา ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมีทั้งด้านบวก ได้แก่ อยากสนับสนุน อยากช่วยเหลือ ตระหนักในความจำเป็น และความสำคัญในการให้การศึกษาแก่คนเหล่านี้ ความเชื่อในการพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพของคนเหล่านี้ ควรตระหนักในความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนปกติ ความรู้สึกในด้านลบ คือ ตรงข้ามกับด้านบวกและความรู้สึกเฉย คือ ไม่สนใจ ไม่คัดค้าน

กรอบแนวคิด
1.ศูนย์การศึกษานอกสถาบันศูนย์ธนาลงกรณ์2.การศึกษาพิเศษ3. การเรียนร่วม

แนวทางการวิจัยวิจัยเชิงบรรยาย
ตัวแปร 1.ตัวแปรต้นได้แก่สถานภาพของอาจารย์และนักศึกษา2.ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเจตคติที่มีต่อการจัดเรียนร่วม

เครื่องมือ ( tool )
แบบสอบถาม

การรวบรวมข้อมูล
1.ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้อาจารย์และนักศึกษาภาคปกติโปรแกรมวิชาศิลปกรรมและวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถามและรับคืนภายใน4สัปดาห์2. ผู้วิจัยตรวจแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

การวิเคราะห์ และข้อสรุป
สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย S.D. และ T-test
1.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์อยู่ในระดับดี
2.อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 2.1อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2อาจารย์และนักศึกษาโดยรวมมีเจตคติต่อการจัดเรียนร่วมในศูนย์ธนาลงกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ข้อเสนอแนะ
1.ควรทำวิจัยในลักษณะของการจัดบริการความช่วยเหลือที่จำเป็นทางการศึกษารวมที่สอดคล้องกับนักศึกษาผู้ปกครองและครู2.ควรทำวิจัยในลักษณะของการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาเทคนิคและวิธีการสอนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษาตามสาขาที่เปิดให้มีนักศึกษาที่บกพร่องทางการได้ยินเรียนร่วม

No comments:

Post a Comment