MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Saturday, July 10, 2010

Determinants of the Sit-to-Stand Movement: Review

ชื่องานวิจัย/บทความ
Determinants of the Sit-to-Stand Movement: Review
แหล่งที่มา http://ptjournal.apta.org/cgi/content/full/82/9/866
วัตถุประสงค์งานวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับการลุกขึ้นยืน
กลุ่มตัวอย่าง
บทความนี้เป็นการทบทวนงานวิจัย
ขั้นตอนงานวิจัย
ค้นหาข้อมูลใน MEDLINE (1980-2001) และ Science Citation Index Expanded ของสถาบันสำหรับ Scientific Information (1988-2001) โดยใช้ key words “chair” “mobility” “rising” “sit-to-stand” และ “standing” อ้างอิงจาก textbook และรายงานที่ครอบคลุม หลังจากที่ผู้วิจัยรวบรวมและศึกษางานวิจัยแล้ว จึงได้แบ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน เป็น ปัจจัยจากเก้าอี้เช่น ความสูงของเก้าอี้ ปัจจัยจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย เช่น อายุ กำลังกล้ามเนื้อ ปัจจัยจากวิธีการ เช่น ความเร็ว ข้อจำกัดที่ไม่รุนแรง โดยผู้วิจัยเลือกศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้เช่น ใช้ force plates, optoelectronic devices หรือ gonometers ศึกษาจำนวนของการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ศึกษาปัจจัยที่มีผล เช่น เก้าอี้ วิธีการ ผู้เข้าร่วมงานวิจัย และตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัย
จากงานวิจัย 160 งาน ผู้วิจัยพบงานวิจัยที่กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน 39 งาน
• ปัจจัยด้านเก้าอี้ หลายงานวิจัยเจาะจงศึกษาที่ความสูงของเก้าอี้ มีส่วนน้อยที่ศึกษาอิทธิพลของตำแหน่งของที่พักแขน การใช้ที่พักแขน หรือประเภทของเก้าอี้ในการเคลื่อนไหวแบบลุกยืน
• ความสูงของเก้าอี้ ความสูงที่น้อยที่สุดที่จะทำให้ผู้สูงอายุประสบควาสำเร็จในการลุกยืนอยู่ที่ 120% ของความยาวของขาท่อนล่าง ในเก้าอี้เตี้ยทำให้มีการเพิ่มมุมของข้อสะโพกมากขึ้นขณะลุกยืน และมี repositioning ของเท้ามากขึ้น ในผู้เข้าร่วมงานวิจัยอายุ 25-36 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติ ลุกยืนจากเก้าอี้ที่มีความสูง 115%-65% ของเข่า มีผลทำให้มีมุม trunk flexion มากขึ้นขณะยืน ในเก้าอี้เตี้ยพบว่ามีการเคลื่อนที่ของมุม ลำตัว เข่า ข้อเท้า มากขึ้น ในการเปลี่ยนระดับความสูงของเก้าอี้ข้อสะโพกและข้อเข่าจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลของ biomechanical
• ปัจจัยจากที่พักแขน เก้าอี้ที่มีที่พักแขนจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ข้อเข่า และข้อสะโพกน้อย ที่สะโพกลดลง 50% ของ extension movement ที่จำเป็นต้องใช้ในการลุกยืน แต่การใช้แขนไม่มีอิทธิพลต่อมุมของผู้เข้าร่วมวิจัยที่ปกติอายุ 25-41 ปี ในการศึกษาในผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ปกติอายุ 19-31 ปี ลุกยืนโดยเกาะราวด้านหน้า ไม่พบการแตกต่างการหมุนลำตัว แต่พบความแตกต่างในผู้มีอายุ 63-86 ปี
• ปัจจัยจากประเภทของเก้าอี้ เก้าอี้ที่ลาดเอียงไปทางด้านหลังมีอิทธิพลทำให้ CM เคลื่อนไปทางด้านหลัง ทำให้ลุกยืนได้ยาก
• พนักพิงหลัง: ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพนักพิงหลังมีผลต่อการลุกยืน
• ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง:
- ความเร็ว : ความเร็วในการลุกขึ้นยืนเพิ่มขึ้น และทำมุมงอสะโพก เหยียดเข่า และกระดกข้อเท้าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งช่วง flexion และ momentum-transfer สั้นลงด้วย
- ตำแหน่งการวางเท้า : การวางเท้าไปทางด้านหลังจะทำให้เวลาในการลุกขึ้นยืนสั้นลง ในทางตรงข้าม การวางเท้าไปด้านหน้าเพิ่มช่วง pre-extension ซึ่งส่งผลให้เวลาในการลุกขึ้นยืนนานกว่า
- ตำแหน่ง/ การเคลื่อนไหวของลำตัว : ระยะเวลาในช่วง extension จะยาวขึ้นมากหากเริ่มในท่าก้มตัว และ momentum transfer จะเริ่มจากลำตัวช่วงบนขณะ extension
- การเคลื่อนไหวของแขน : การวางมือไว้หน้าขา ข้างลำตัว หัวเข่า หรือกอดอก ตำแหน่งของแขนมีผลต่อการลุก เกี่ยวเนื่องจาก central of mass ที่เคลื่อนมาด้านหน้า
- Terminal constraint : การใช้ชีจิตประจำวันไม่ได้มีเพียงแต่การหยุดยืน แต่ยังไม่มีการศึกษาต่อจากลุกยืนไปเดิน
- ความมืดกับความสว่าง : อายุ 20-25 ปีความสว่างไม่มีผลต่อความเร็วในการลุก แต่ช่วงอายุ 71-82 ปี การมองเห็นมีผลต่อความสามารถในการลุก
- Fixed joint: ในผู้ที่งอเข่าได้ น้อยกว่า 100 องศา มีผลต่อความเร็วเชิงมุมของการก้มตัวมาด้านหน้า ทำให้ระยะเวลาการลุกยืนนานกว่าคนที่งอเข่าได้มากกกว่า 100 องศา
- ตำแหน่งข้อเข่า เข่าอยู่ตำแหน่งเหยียดมากกว่าปกติทำให้มุมการเหยียดของข้อสะโพกมากขึ้น การวางเท้าไปด้านหน้าทำให้ความสามารถในการลุกลดลง
- ความสนใจ : ยังไม่มีการศึกษาว่าความมสสนใจมีผลต่อการลุก
- การฝึกฝน : การลุกขึนยืนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกใช้เวลา 4 สัปดาห์ในการฝึกลงน้ำหนักและการเคลื่อนของลำตัวที่ดีขึ้น
วิเคราะห์งานวิจัย
1. ภาพรวมงานวิจัย น่าเชื่อถือดี สามารถนำข้อมูลมาอ้างอิงหาเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง จากนั่งไปยืน โดยมีตัวแปลต่างๆเช่น อายุ กำลังกล้ามเนื้อ และความสามารถในการเคลื่อนไหว โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้สูงอายุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ กำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือการควบคุมการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ความมีเหตุผลของงานวิจัย ในการทบทวนงานวิจัยครั้งนี้พบว่าปัจจัยภายในมีผลต่อการลุกยืนในผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยภายนอกเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่การใช้ชีวิตประจำวันเช่นการยืนแล้วเดินหยิบของ
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการแปรปรวนของข้อมูล ปัจจัยภายในและปัจจัยระหว่างกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย ค่าปรวนแปรอาจเกิดทางเทคนิค การทดลองการลุกยืนที่น้อยเกินไป เนื่อจากไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน การอธิบายปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการแปรปรวน คือการเรียนรู้ การล้าจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ความถี่ในการลุกยืน และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
สรุปงานวิจัย
- จากงานวิจัยทั้งหมดพบว่า มีงานวิจัย 27 จาก39 มีการวัดแรงร่วมกับงานวิเคราะห์ระบบการเคลื่อนไหว ในการสังเกตุจากการลุกยืน
- มี 10 จาก 39 งานวิจัยที่ใช้ EMG ในการวิเคราะห์
- งานวิจัยทั้งหมดพบว่ามีการกำหนดจำนวนการลุกยืน ในผู้เข้าร่วมงานวิจัย 1 คนอยู่ในช่วง 1-15 ครั้ง
- จากงานวิจัยทั้งหมดพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีจำนวน 2-51 คน
- คณะผู้ทำงานวิจัยพบว่า ความสูงของเก้าอี้ พนักพิงหลัง และตำแหน่งการวางเท้ามีปัจจัยต่อการลุกโดย เก้าอี้สูงมีผลต่อการลดมุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก (60%) และข้อเข่า (50%)
- เนื่องจากไม่ได้จำกัดความยาวขา จึงเปรียบเทียบผลยาก
- ที่พักแขนทำให้มีการเคลื่อนไหวเข่าลดลง 50%
- การวางเท้ามีผลต่อการการทำงานข้อเข้าและข้อสะโพกลดลง
- พนักพิงมีผลต่อการลุกยืน พบว่าตำแหน่งของลำตัว มีผลต่อการยืน

No comments:

Post a Comment