MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Tuesday, July 20, 2010

Determination of Sit-to-Stand Transfer Duration Using Bed and Floor Press Sequences

ชื่องานวิจัย/บทความ
Determination of Sit-to-Stand Transfer Duration Using Bed and Floor Press Sequences
ผู้เขียน Amaya Arcelus และคณะ
แหล่งที่มา
IEEE TRANSACTIONS ON BIOMEDICAL ENGINEERING, VOL. 56, NO. 10, OCTOBER 2009
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาช่วงระยะเวลาในการลุกขึ้นยืน ซึ่งแสดงถึงคุณภาพในการเคลื่อนไหว
กลุ่มตัวอย่าง
- ช่วงอายุ 18 – 39 ปี จำนวน 10 คน
- ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
- ผู้ป่วยหลัง stroke อายุ มากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
- ผู้ป่วยหลัง hip fracture อายุ มากกว่า 60 ปี จำนวน 5 คน
ซึ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยสามารถลุกขึ้นยืนได้เอง
ขั้นตอนงานวิจัย
วาง pressure sensitive bed mats ไว้บนฟูกเตียง และวาง High Density Floor Plate Sensor ไว้ที่พื้นข้างเตียง และตั้งกล้องถ่ายทางด้านหน้า และด้านข้างขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยเคลื่อนไหว และติด marker สีเขียวขณะที่ลุกยืน เพื่อแสดงถึงขั้นตอนการเคลื่อนไหว ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าการเคลื่อนไหวลุกขึ้นยืนจะมีแรงกดลงบนเตียงลดลงและต่อมามีการเพิ่มขึ้นของแรงกดบนพื้น
ผลการวิจัย
ผลที่แสดงการกดลงบนแผ่นวัดแรงกดแสดงให้เห็นเวลาที่เริ่มต้นการเคลื่อนไหวลุกยืนจากเตียง โดยปกติน้ำหนักที่กดลงบนเตียงจะลดลงจนต่ำกว่า 0.1 และแรงกดที่พื้นจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.8 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้า จากเตียงไปสู่พื้น และจากแรงที่กดลงบนบนพื้นจะแสดงถึงการสิ้นสุดการเคลื่อนไหวลุกยืน
ในการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี และผู้สูงอายุที่มีการลดลงของ mobility skill ซึ่งจากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาแรงกดที่เกิดขึ้นบนแผ่นวัดแรงกดที่เตียงและที่พื้น พบว่าในผู้มีสุขภาพดี อยู่ระหว่าง 0.5-2วินาที ในผู้สูงอายุที่มีการลดลงของ mobility skill ใช้เวลาอยู่ระหว่าง 1-5 วินาที ซึ่งไม่เห็นความแตกต่างระหว่างช่วงอายุ 18 – 39 ปี กับผู้สูงอายุที่สุขภาพดี
ประโยชน์ที่ได้รับ
นำความรู้ด้านการถ่ายน้ำหนักมาใช้ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องมือ และเป็นพื้นฐานในการประยุกต์กลไกการป้องกันการล้อมจากท่านั่งไปยื่น
วิเคราะห์งานวิจัย
- ในครั้งต่อไปอาจมีการเปรียบเทียบในการเคลื่อนไหวลุกยืนแบบใช้เครื่องช่วย
- อาจเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวลุกยืนที่มีลำดับขั้นตอนที่แตกต่างออกไป เช่น อาจใช้มือยันช่วยในการลุกยืน
- มีการวัดปริมาณความมั่นคงในการยืน

No comments:

Post a Comment