MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, July 7, 2010

Differences in kinematic parameters and plantarflexor reflex responses between manual (Ashworth) and isokinetic mobilisations in spasticity assessment

ชื่องานวิจัย/บทความ
Differences in kinematic parameters and plantarflexor reflex responses between manual (Ashworth) and isokinetic mobilisations in spasticity assessment
แหล่งที่มา
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/pubmed ค้นหาคำว่า isokinetic mobilisations in spasticity
วัตถุประสงค์
1. เปรียบเทียบการวัดตัวแปรภายในจากการขยับข้อเท้าโดยวิธีใช้มือทำและการใช้เครื่องขยับให้
2. เข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อ stretch reflex
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วย 8 คน ที่มีปัญหากล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลงเกร็ง (plantarflexor spasticity)
ขั้นตอนการวิจัย
1. ช่วยขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น(Dorsiflexsion passive movement)ให้แก่กลุ่มตัวอย่าง ใน 2 รูปแบบ
1. แบบที่ 1 ขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู 7 คน ใช้ Ashworth test เป็นตัวประเมิน
2. แบบที่ 2 ใช้ isokinetic device (Cybex® Norm™) ใช้ความเร็วในการกระดกข้อเท้า 300 องศา/วินาที วัดค่าเฉลี่ยมุมของตำแหน่งข้อเท้า maximal angular velocity (θ′max), maximal angular acceleration (θ″max) และการตอบสนองของ plantarflexor reflex
2. วัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Electromyograph (EMG) วัดที่กล้ามเนื้อ gastrocnemius lateralis (GL) and the soleus (SOL).
ผลการวิจัย
1. ผลการขยับข้อเท้าในลักษณะกระดกข้อเท้าขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู 7 คน ใช้ Ashworth test พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 8 คน มีการตอบสนองต่อการกระตุ้น stretch reflex ของกล้ามเนื้อน่อง (triceps surae)
2. ผลการขยับโดยใช้ isokinetic device (Cybex® Norm™) พบว่ามีเพียง 3 คน จาก 8 คนที่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้น stretch reflex
3. มุม maximal angular velocity (θ′max) significantly (P<0.05)>
วิเคราะห์วิจารณ์
จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการขยับข้อเท้าโดยวิธีใช้มือทำ ให้ผลตอบสนองต่อ stretch reflex ได้สูงกว่าการใช้เครื่องซึ่งควบคุมความเร็วขยับให้ ซึ่งในคนที่มี stretch reflex ที่มากเกินไปมีผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง (spastic) แสดงว่าความสม่ำเสมอและความเร็วในการขยับข้อมีผลต่อภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง (spastic) งานวิจัยนี้ไม่ได้ระบุระดับ ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง ( spastic) ของกลุ่มทดลอง เนื่องจากในกลุ่มที่มีภาวะเกร็งต่างกัน ย่อมตอบสมองต่อการขยับข้อต่อได้ต่างกัน ในงานวิจัยกล่าวถึง reflex 2 ตัว stretch reflex และ plantarflexor reflex ซึ่งไม่ได้ระบุในวิธีการวิจัยและผลอย่างชัดเจน

No comments:

Post a Comment