MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Friday, July 16, 2010

SHADE: A Shape-Memory-Activated Device Promoting Ankle Dorsiflexion

ชื่องานวิจัย/บทความ
SHADE: A Shape-Memory-Activated Device Promoting Ankle Dorsiflexion
แหล่งที่มา www.li.mahidol.ac.th
วัตถุประสงค์
1.สร้างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
2.นำเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นในทดลองใช้ในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองดูผลการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้าและแรงที่ใช้ขยับข้อเท้าเอง
กลุ่มตัวอย่าง
1.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 6 คน
2.เงื่อนไข
1.มีภาวะอ่อนแรงและมีภาวะกล้ามเนื้อต้านเร็งเล็กน้อยของข้อเท้า วัดค่า Ashworth scale ≤ 1
2.ไม่มีปัญหาโรคผิวหนังและโรคข้อต่อ
3.ไม่มีปัญหาการรับรู้ (cognitive impairment) ที่รุนแรง สามารถตอบคำถามได้
ขั้นตอนการวิจัย
1.สร้างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โดยให้มีน้ำหนักเบา ระบายความร้อนดี ขนาดเล็ก สวมง่าย โดยพัฒนาระบบต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ออกแบบอุปกรณ์ดาม
1.2 ออกแบบระบบกระตุ้น
1.3 ออกแบบ ระบบ Shape Memory Material
1.4 คำนวณระบบไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้น





2.แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม
2.1 กลุ่มที่ 1 ทดสอบโดยใช้ SHADE เพียงครั้งเดียว ดูผลระยะสั้น 3 คน วัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Range of motion) หาค่าเฉลี่ยของการวัดจากกล้องถ่ายรูปที่ความถี่ 100 Hz เขียนตำแหน่ง ดังรูป มุมข้อเท้าที่วัดเป็นมุมที่ทำระหว่างแนวกลางของหน้าแข้งและเท้า วัดค่า D และ L ถ่วงน้ำหนักที่ 7.85, 8.83, 9.81, และ 10.79 N วัดความแตกต่างระหว่างแรงที่ใช้ในการกระดกข้อเท้าและวัดมุมข้อเท้าโดยใช้เครื่อง electrogoniometer







2.2 กลุ่มที่ 2 ขยับข้อเท้า 30 นาที 5 วัน ใช้การวัดทางกายภาพ โดยใช้การสังเกตและสัมภาษณ์
ผลการวิจัย
1.ในแต่ละน้ำหนักที่ถ่วงไม่มีผลต่อช่วงเวลาการกระดกขึ้นและลง แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อมุมกระดกข้อเท้าขึ้น
2.เมื่อน้ำหนักถ่วงมากขึ้นต้องใช้แรงทำงานของกล้ามเนื้อมากขึ้น (11.7 N) แต่มีค่ามุมสูงสุดที่น้ำหนักถ่วง 8.83






3.ในกลุ่มที่ 2 ทุกคนพอใจในอุปกรณ์ SHADE และไม่มีใครบ่นเรื่องปวด และทุกคนอยากใช้ อุปกรณ์ SHADE ต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการช่วยขยับข้อเท้าในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
2. ทราบถึงผลการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้าและแรงที่ใช้ขยับข้อเท้าเองหลังใช้อุปกรณ์ SHADE ในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี อธิบายกลุ่มตัวอย่างไว้ละเอียด และมีการสัมภาษณ์ถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ แต่ในงานวิจัยนี้มีการนำน้ำหนักถ่วงที่ปลายเท้าขนาดแตกต่างกัน สูงสุดที่ 1.2 kg ซึ่งในกลุ่มที่มีความตึงตัวกล้ามเนื้อในระดับต่ำ ๆ ไม่สามารถออกแรงกระดกข้อเท้าได้ จึงไม่สามารถต้านแรงน้ำหนักที่ถ่วงได้ จึงน่าจะมีการกำหนดระดับของกำลังกล้ามเนื้อของกลุ่มตัวอย่างด้วย ในงานวิจัยน่าจะมีการวัดมุมของข้อเท้าก่อนทำการทดสอบด้วย เนื่องจากอาจมีผลของความยาวกล้ามเนื้อร่วมด้วย การเขียนตำแหน่งเนื่องจากตำแหน่งมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดได้ ในงานวิจัยไม่ได้กล่าวถึง ค่าความเที่ยงตรงในการวัดและค่าความน่าเชื่อถือเลย ทำให้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ

No comments:

Post a Comment