MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, July 28, 2010

The spasticity paradox: movement disorder or disorder of resting limbs?

ชื่องานวิจัย/บทความ
The spasticity paradox: movement disorder or disorder of resting limbs?

แหล่งที่มา
www.ncbi.mlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th ค้นหาคำว่า spasticity,movement disorder

วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบทิศทางของ reflex และแรงต้านของข้อต่อ (resistive torque )ในรยางค์ที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งต้าน (spastic) และรยางค์ปกติ

กลุ่มตัวอย่าง
1. คนปกติ 13 คน อายุ 20 - 70 ปี ไม่มีความผิดปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อและระบบประสาท
2. ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 8 คน มีเงื่อนไขดังนี้
2.1 เป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
2.2 มีภาวะเกร็งต้านในระดับ ค่า Ashworth score ไม่ต่ำกว่า 1
2.3 ไม่มีปัญหาความบกพร่องทางการรับความรู้สึก (sensory impairment)
2.4 ไม่ทานยาลดเกร็ง
2.5 ไม่มีการผิดรูปมาจากกล้ามเนื้อหดสั้น (Contracture)
ขั้นตอนการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างนั่งเก้าอี้ ในคนปกติทดสอบแขนขวาส่วนกลุ่มอัมพาตครึ่งซีกทดสอบแขนข้างที่มีปัญหา โดยให้กางไหล่ 90 องศาและงอข้อศอก 90 องศา ปลายแขนกึ่งคว่ำ วางบนที่รองแขน มีคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุม DC torque-servo motor วัดการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง EMG ที่กล้ามเนื้อ biceps brachii และ ที่จุดเกาะด้านนอกของ triceps
2. วัดค่า มุมของข้อศอก แรงต้านเกร็ง ( resistive torque ) การทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง EMG ขณะงอและเหยียดข้อศอก โดยวัดค่าการทำงานของกล้ามเนื้อขณะงอและเหยียดข้อศอกมากที่สุด ( maximum voluntary contraction (MVC)) ก่อนทำการทดสอบ
3. ในกลุ่มปกติให้งอข้อศอกช้า ๆ ด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ 2.5 %, 5 %, 7.5 %, 10 %, 12.5 %, และ15% ของ MVC ค้างไว้อย่างละ 60 วินาที ส่วนในกลุ่มอัมพาตครึ่งซีกให้งอข้อศอกที่ 15 % ของ MVC ทำ 6 ครั้ง

ผลการวิจัย
1. ในขณะพักมีการทำงานของกล้ามเนื้อวัดด้วยเครื่อง EMG โดยเฉพาะกล้ามเนื้องอข้อศอก และมีแรงต้านเกร็งของข้อต่อเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง
2. ระดับของค่าแรงเกร็งต้าน (torque) ของทั้งกล้ามเนื้องอและเหยียดข้อศอกไม่แตกต่างกัน โดยค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% ของ MVC ขณะพัก และในกลุ่มหลอดเลือดสมองมีค่าแรงเกร็งต้าน (torque) ของทั้งกล้ามเนื้องอและเหยียดข้อศอกเป็น 25%ของกลุ่มปกติ
3. ในทั้งสองกลุ่มตัวอย่างกราฟของทิศทางของ reflex เป็นลักษณะกราฟเส้นตรง (p , 0.0001; linear regression) ที่มีความชันเพิ่มขึ้นแต่ค่าความชันไม่มีนัยสำคัญ
4. กลุ่มอัมพาตครึ่งซีกมีช่วงของค่า reflex เปลี่ยนแปลงน้อยกว่ากลุ่มปกติ เพราะมีการลดลงของค่าสูงสุดของระดับการหดตัวจากกล้ามเนื้อจากการอ่อนแรง และมีการเพิ่มขึ้นของการหดตัวในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงทิศทางของ reflex และแรงต้านของข้อต่อ (resistive torque )ในรยางค์ที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งต้าน (spastic) และรยางค์ปกติ
2. ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดีกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการวิจัย รวมถึงอธิบายผลที่ได้ไว้อย่างละเอียด แสดงค่าความน่าเชื่อถือในงานวิจัยในแต่ละหัวข้ออย่างชัดเจน

No comments:

Post a Comment