MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, July 7, 2010

Stretching at the ankle joint: viscoelastic responses to holds and continuous passive motion

ชื่องานวิจัย/บทความ
Stretching at the ankle joint: viscoelastic responses to holds and continuous passive motion
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed ค้นหาคำว่า continuous passive motion
วัตถุประสงค์
เปรียบเทียบผลต่อภาวะข้อเท้าติดและการลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้น ระหว่างการยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion
กลุ่มตัวอย่าง
คนปกติที่ไม่มีอาการโรค 24 คน เป็นชาย 15 คน หญิง 8 คน อายุเฉลี่ย 26 ปี
ขั้นตอนการวิจัย
1. ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 1 ครั้ง ค้าง 60 วินาที (1 x 60-s hold), ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 2 ครั้ง ค้าง 30 วินาที ( 2 x 30-s holds),ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 4 ครั้ง ค้าง 15 วินาที (4 x 15-s holds) และ ขยับต่อเนื่องโดยเครื่อง continuous passive motion 60 วินาที
2. ใช้ Kin-Com dynamometer ในการวัดภาวะข้อเท้าติดและแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor)
3. วัดภาวะข้อติดในช่วงที่ข้อเท้าเคลื่อนที่ 80 % ของมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
4. วัดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อที่ลดลงในช่วง 80 % ของมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
5. กลุ่มตัวอย่างต้องทำจนครบทุกการทดสอบ
ผลการวิจัย
1. การลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion มีค่า significantly (P < 0.05)
2. มีการลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion 16%
3. มีการลดลงของภาวะข้อติดหลังการขยับข้อต่อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion เท่านั้น
4. การลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) significantly (P < 0.05)
5. การลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) เป็น 10.5%, 21.5%, 21.7%, และ 19% ในการยืดค้างที่ 0, 15, 30, and 60 วินาที,
6. ใช้ สถิติ Bonferonni contrasts เป็นตัวเปรียบเทียบ เปรียบเทียบระหว่าง การยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion significant difference (P < 0.05)
7. ใช้ สถิติ Bonferonni contrasts เป็นตัวเปรียบเทียบ เปรียบเทียบระหว่าง การยืดกล้ามเนื้อค้างระหว่างยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 1 ครั้ง ค้าง 60 วินาที (1 x 60-s hold), ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 2 ครั้ง ค้าง 30 วินาที ( 2 x 30-s holds),ยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง 4 ครั้ง ค้าง 15 วินาที (4 x 15-s holds) ไม่ significant differences (P > 0.05)
8. ค่าความตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้นหลังจากการยืดกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง (plantar flexor) จะลดลงดีที่สุดในการค้างที่ 20 วินาที
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงผลต่อภาวะข้อเท้าติดและการลดแรงตึงตัวจากกล้ามเนื้อขณะกระดกข้อเท้าขึ้น ระหว่างการยืดกล้ามเนื้อค้างและการยืดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง continuous passive motion
2. ทราบถึงเวลาที่ใช้การยืดกล้ามเนื้อค้างไว้แล้วลดค่าความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากที่สุด
3. ทราบถึงหลักการที่มีผลต่อการลดลงของภาวะข้อต่อติด
วิเคราะห์วิจารณ์
จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผลที่มีต่อการลดภาวะข้อติดคือการขยับข้อเท้าอย่างต่อเนื่องแต่ในขณะที่ต้องการลดแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อจะต้องมีการยืดค้างไว้ โดยการยืดค้างที่ 20 วินาทีจะลดแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในงานวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่ไม่มีอาการโรค จึงควรมีการศึกษาต่อยอดในการเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาจริง เนื่องจากความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในกลุ่มที่มีอาการโรคมักมียืดหยุ่นได้น้อยกว่ากลุ่มไม่มีอาการโรค

No comments:

Post a Comment