MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 12, 2010

Effect of a single of prolonged muscle stretch on spastic muscle of stroke patients

ชื่องานวิจัย/บทความ
Effect of a single of prolonged muscle stretch on spastic muscle of stroke patients

แหล่งอ้างอิง
http://www.ncbi.nlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th
สืบค้นคำว่า prolong stretch, spastic, stroke

วัตถุประสงค์
ศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อค้าง 1 ครั้งในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 17 คน อายุ 33 ถึง 79 ปี มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)
ของขา สามารถช่วยขยับข้อเท้ากระดกข้อเท้าขึ้นได้ที่ 0 องศา ไม่มีอาการปวด และไม่เคยมีประวัติโรคทางระบบประสาทมาก่อน

ขั้นตอนการวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างได้ทดสอบโดยการยืนบนเตียงปรับระดับได้ ปรับมุม 85 องศา 30 นาที โดยวัดค่าก่อนทำ หลังทำและหลังทำแล้ว 45 นาที
2.วัดค่า 4 ค่า ดังนี้
1.วัดกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) โดยผู้มีประสบการณ์ในการรักษา
2.วัดมุมการเคลื่อนไหวโดยการใช้ goniometer
3.ใช้ EMG ให้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท tibial วัดค่าสูงสุดของ H reflex ในกล้ามเนื้อ soleus ดูเปอร์เซ็นต์ของ M response (H/M ratio)
4.ใช้ EMG ให้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท deep peroneal วัดค่า F wave ในกล้ามเนื้อ tibialis anterior ดูเปอร์เซ็นต์ของ M response (F/M ratio)

ผลการวิจัย
1.พบมีภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ plantarflexor ลดลง จากการวัดโดยใช้ MAS. โดยก่อนทดสอบได้ 2 ± 0.9, หลังทดสอบได้ 1.2 ± 0.4 และหลัง 45 นาที เป็น 1.5 ± 0.9 (p > 0.05)
2.มุมข้อเท้าเพิ่มสูงสุดหลังทำ ซึ่งก่อนทดสอบได้ 15.1 ± 7.5, หลังทดสอบได้ 20.2 ± 6.4 และหลัง 45 นาที เป็น 16.0 ±6.7 (p < 0.05)
3.ค่า H/M ratios ลดลง ก่อนทดสอบได้ 42.8% ± 22.3%, หลังทดสอบได้ 29.2% ± 17.3% และหลัง 45 นาที เป็น 28.5% ± 20.7%
4.ค่า F/M ratios ลดลง ก่อนทดสอบได้ 5.4% ±3.3%, หลังทดสอบได้ 11.8% ± 8.6%

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงผลของการยืดกล้ามเนื้อค้าง 1 ครั้งในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity)

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการนำเสนอผลสรุปไว้ละเอียดและเข้าใจง่ายแสดงความน่าเชื่อถือไว้อย่างชัดเจน แต่ในกลุ่มตัวอย่างและวิธีการวิจัย ไม่ค่อยละเอียด ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น กรณีมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งน่าจะมีการกำหนดระดับกล้ามเนื้อหดเกร็งไว้อย่างชัดเจนและไม่บอกท่าทางของกลุ่มตัวอย่างขณะวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งและวัดมุมการเคลื่อนไหวข้อเท้า ซึ่งในการวัดท่าที่แตกต่างกันย่อมมีผลที่แตกต่างกัน

No comments:

Post a Comment