MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 12, 2010

The relation between Ashworth scores and neuromechanical measurements of spasticity following stroke

ชื่องานวิจัย/บทความ
The relation between Ashworth scores and neuromechanical measurements of spasticity following stroke

แหล่งอ้างอิง
http://www.ncbi.nlm.nih.gov.ejournal.mahidol.ac.th
สืบค้นคำว่า Ashworth scores, neuromechanical measurements, stroke

วัตถุประสงค์
1.ศึกษาความสัมพันธ์ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่นของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) การวัดโดยใช้เครื่อง joint stretching motor device ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะข้อติด

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 34 คน เข้าร่วมศึกษาวัดผลที่ข้อเท้า 20 คน เข้าร่วมศึกษาวัดผลที่ข้อศอก 14 คน โดยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยนอกของ rehabilitation Institute of Chicago (RIC)
มีเงื่อนไขดังนี้
1.ภาวะทางโรคประจำตัวคงที่ (medical condition)
2.ไม่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการพูดและไม่มีความบกพร่องทางการความจำ การับรู้ (cognitive)
3.ไม่มีปัญหาทางด้านการสั่งการและด้านการรับรู้ความรู้สึกในแขนและขาด้านที่ไม่มีอาการอ่อนแรง
4.ไม่มีปัญหากล้ามเนื้อฝ่อรุนแรงและปัญหาบกพร่องการรับรู้ความรู้สึกรุนแรงในแขนและขาด้านอ่อนแรง
5.มีปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็งมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

ขั้นตอนการวิจัย
1.การวัดค่ากล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ MAS เป็นการวัดโดยใช้นักกายภาพบำบัดผู้ที่ได้รับการฝึกและมีประสบการณ์การวัดโดยใช้ MAS มาหลายปี ช่วยขยับข้อต่อ ดูมุมการเคลื่อนไหวและการวัดแรงต้านขณะช่วยขยับข้อให้
2.แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตำแหน่ง โดยใช้เครื่อง joint stretching motor device วัดค่าตำแหน่งข้อต่อโดย potentiometer วัดค่าแรงหมุนต้านเกร็ง (torque) โดยใช้ 6- degree of freedom load cell และวัดความเร็วโดยใช้ tachometer
3.ใช้ EMG ติดที่ข้อเท้าในตำแหน่งกล้ามเนื้อ tibialis anterior และด้านข้างกล้ามเนื้อ gastrocnemius ส่วนติดที่ข้อศอกในตำแหน่งกล้ามเนื้อ biceps triceps และ brachioradialis

ผลการวิจัย
1.แรงต้านเพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเท้า พบแรงต้านขณะทำกระดกข้อเท้าขึ้นเท่านั้น
2.กราฟของค่า peak – reflex torque และ reflex gain ในกลุ่มที่มีค่า MAS = 1 มีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มที่มีค่า MAS= 2
3.ค่า intrinsic stiffness (K) และ reflex stiffness (G) ซึ่งเกิดจาก elbow flexor reflexs และ ankle plantarflexor reflex มีความสัมพันธ์กับภาวะข้อติด
4.ในการทดสอบทั้งข้อศอกและข้อเท้าพบว่า ในการทดสอบด้านอ่อนแรงมีการเปลี่ยนแปลงของ ค่า intrinsic stiffness (K) และ reflex stiffness (G) มากกว่าด้านที่ไม่มีอาการอ่อนแรง
5.การวัดโดยใช้ เครื่อง joint stretching motor device และการวัดโดยใช้ MAS ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ทราบถึงความสัมพันธ์ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่นของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) โดยใช้ modified Ashworth scores (MAS) การวัดโดยใช้เครื่อง joint stretching motor device ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
2.ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะข้อติด

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการระบุขั้นตอนการวิจัยไว้ละเอียด แต่ระบุเงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างไม่ชัดเจน เช่น ในเรื่องที่ระบุว่าในกลุ่มตัวอย่างต้องไม่มีปัญหากล้ามเนื้อฝ่อรุนแรงและปัญหาบกพร่องการรับรู้ความรู้สึกรุนแรงในแขนและขาด้านอ่อนแรง แต่ไม่มีการระบุเกณฑ์วัดและไม่ได้ระบุระดับของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยมีความคลาดเคลื่อนได้

No comments:

Post a Comment