MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 19, 2010

Reliability of the Fugl-Meyer Assessment of Sensorimotor Recovery Following Cerebrovascular Accident

ชื่องานวิจัย/บทความ
Reliability of the Fugl-Meyer Assessment of Sensorimotor Recovery Following Cerebrovascular Accident

แหล่งอ้างอิง
http://scholar.google.co.th/scholar?q=Reliability+of+the+Fugl-Meyer+Assessment+of+Sensorimotor+Recovery+Following+Cerebrovascular+Accident&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart
สืบค้นคำว่า cerebrovascular disorder, Extremities, motor skills

วัตถุประสงค์
ศึกษาหาความน่าเชื่อถือของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ Fugl-Meyer Assessment ในผู้ป่วยโรคหลอดสมอง

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 19 คน รับการฟื้นฟูที่ Durham Veterans Administration Medical Center
มีเงื่อนไขดังนี้
1.สาเหตุการเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้มาจาก การบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง และการผ่าตัด
2.เป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
3.ไม่ได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดระหว่างการศึกษา
4.ผู้ป่วยสามารถเข้าใจคำสั่งและจำสิ่งรอบตัวได้ ได้แก่ ชื่อ เวลา สถานที่

ขั้นตอนการวิจัย
1.นักกายภาพบำบัด 4 คนจากสถาบัน Durham Veterans Administration Medical Center ฝึกโดยประเมินการวัดด้วย Fugi – Meyer tests ประมาณ 1 ชั่วโมง ทดลองวัดจริงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 5 คน
2.วัดจริงโดยใช้ Fugi – Meyer tests 5 ครั้ง ได้แก่ ทดสอบทั้งหมด 3 ครั้งและอีก 2 ครั้งทดสอบแขนหรือขา
3.หาค่า intratester reliability ใช้นักกายภาพบำบัดคนเดียว วัดทั้งหมด 3 ครั้งเว้นระยะเวลาสัปดาห์ละ 1 ครั้งใช้เวลา 3 สัปดาห์ ส่วนการหาค่า intertester reliability โดยวัดวันเดียวกับครั้งที่ 2,3
4.แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 8 คน ทดสอบส่วนรวม 3 แบบทดสอบ และ 2 แขน ส่วนกลุ่มที่ 2 มี 10 คน ทดสอบส่วนรวม 3 แบบทดสอบ และ 2 ขา

ผลการวิจัย
1.ค่าที่วัดได้อยู่ในช่วง 50 ถึง 98 % มีค่าเฉลี่ยที่ 74 %
2.ค่า intratester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.001
3.ค่า intertester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.05

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบความน่าเชื่อถือของการวัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งโดยใช้ Fugl-Meyer Assessment ในผู้ป่วยโรคหลอดสมอง

วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี มีการลงรายละเอียดในการเลือกกลุ่มตัวอย่างไว้อย่างชัดเจน ในงานวิจัยได้ให้นักกายภาพบำบัดมาฝึกใช้แบบทดสอบ Fugi – Meyer tests เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งผลของค่า intratester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.001 แสดงว่านักกายภาพบำบัดมีค่าสัมประสิทธิ์ในการวัดโดยนักกายภาพบำบัด 1 คนพบค่าที่ได้สูง ส่วนค่า intertester correlation coefficient มีค่า significant reliability ระดับ 0.05 แสดงว่านักกายภาพบำบัดมีค่าสัมประสิทธิ์ในการเปรียบเทียบในนักกายภาพบำบัดหลายคนมีค่าสูง แต่น้อยกว่าระหว่างการวัดโดยนักกายภาพบำบัดคนเดียว ซึ่ง แบบทดสอบ Fugi – Meyer tests เป็นแบบทดสอบที่เยอะและค่อนข้างยากในการประเมินให้ความคิดเห็นของนักกายภาพบำบัดไปในทิศทางเดียวกันหรือเหมือนกัน ดังนั้น เวลาที่ใช้ฝึกนักกายภาพบำบัด 1 ชั่วโมงน่าจะไม่เพียงพอ ในแง่เวลาอาจต้องให้เวลามากขึ้นและเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในการฝึกความพร้อมให้นักกายภาพบำบัดมากขึ้น

No comments:

Post a Comment