MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 12, 2010

Walker-Assisted Gait in Rehabilitation: A Study of Biomechanics and Instrumentation

ชื่องานวิจัย/ บทความ
Walker-Assisted Gait in Rehabilitation: A Study of Biomechanics and Instrumentation

แหล่งอ้างอิง
http://ieeexplore.ieee.org/xpls/abs_all.jsp?arnumber=918282

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อแขนในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (walker)

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
1. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 7ท่าน ชาย 4ท่าน หญิง 3 ท่าน
2. ผู้เข้าร่วมอายุ 27.9 ± 7.5 ปี
3. น้ำหนัก 74.8 ± 24.4 กิโลกรัม
4. ส่วนสูง 174 ± 6.4 เซ็นติเมตร
5. ไม่มีการผ่าตัดที่ขาส่วนล่าง
6. พยาธิสภาพที่ขา
7. ไม่มีการจำกัดของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ขั้นตอนงานวิจัย
1. คัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัย
2. ศึกษาจากล้องsix-camera Vicon motion analysis system using a Micro-VAX 3100
3. โดยการติดmarkers ที่ landmark สำคัญที่แขน
4. การลงน้ำหนักของขาที่ 0% , 10% และ 50% ของน้ำหนักตัว

ผลการทดลอง

ผลการทดลองพบว่าการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ข้อศอกและข้อมือซึ่งเปลี่ยนไปตาม cycle ของการใช้ walker จากท่าลุกนั่ง ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่ายกแขนมาด้านหน้าและ เหยียดไปด้านหลัง อยู่ในช่วง 35 องศา และ 5 องศา ตามลำดับ
2. การเคลื่อนไหวของศอกในท่างอศอกด้านหน้า อยู่ในช่วง10- 30 องศา
3. การเคลื่อนไหวของข้อมือในท่ากระดกขึ้น 20-40 องศา
4. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่ากางแขนออก อยู่ในช่วง 4-8 องศา
5. การเคลื่อนไหวของไหล่ในท่าหมุนแขนเข้าด้านใน อยู่ในช่วง 0-15 องศา
6. การเคลื่อนไหวของศอกในการคว่ำและหงายมือ อยู่ในช่วง5 องศา และ 5 องศา ตาลำดับ
7. การเคลื่อนไหวของข้อมือในท่าเอียงมือขึ้นลง อยู่ในช่วง 0 องศา และ 10 องศาตามลำดับ

วิเคราะห์งานวิจัย
1. เป็นงานวิจัยที่ระเอียดในการคัดกรองดี
2. นำมาประยุกต์ได้น้อยเนื่องจากมีแรงกดต่างกันในผู้สูงอายุ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ออกแบบอุปกรณ์ อุปกรณ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย

2. การออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ย ออกแรงไม่มาก และสามารถใช้ได้ทุกคน ดดยมีข้อจำกัดน้อย

No comments:

Post a Comment