MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 19, 2010

The Walker Team Product Design Proposal

ชื่องานวิจัย/บทความ
The Walker Team Product Design Proposal

แหล่งอ้างอิง
bme227.pratt.duke.edu/downloads/S06/Walker_Proposal.pdf

วัตถุประสงค์
- วัดแรงกดของมือทั้งสองข้างขณะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
- การปรับระดับความสูงของระดับมือจับ หรือน้ำหนักของอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะแก่การใช้งานสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
- ศึกษาผลที่พบจาก K Lab motion analysis
- การปรับระดับ walker ที่หลากหลาย

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน

ขั้นตอนงานวิจัย
1. ศึกษาภาวะโรคกรดูกพรุนโรคกระดูกพรุนนั้นคือการเปลี่ยนแปลงไปของกระดูกพบมากและมีโอกาสเสี่ยงที่จะล้ม และสืบเนื่องถึงกระดูกหักได้ ทำให้ต้องใส่ใจถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินช่วยเพื่อป้องกันการล้ม
2. ศึกษาการใช้งานของอุปกรณ์ walker การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินนี้ต้องคำนึงถึงแรงต่างๆที่
กระทำต่ออุปกรณ์ช่วยพยุง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยแก่การใช้งานนั่นเอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนทั้งสองข้าง ความสามารถในการลงน้ำหนักของขาทั้งสองข้าง องศาการเคลื่อนไหวของ ไหล่ ข้อศอก และข้อมือ
3. เป้าหมายการใช้งานการออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดินนั้นต้องคำนึงถึงแรงกดที่มือจับเพื่อความ
ปลอดภัย การง่ายต่อการใช้งาน การง่ายต่อการทำความสะอาด
4. ศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อความปลอดภัย ที่รองผิวสัมผัสพื้นของอุปกรณ์ช่วย
เดิน และมือจับ ดังนี้
- แรงกดที่มือ portable sleeve cantilever handle เป็นวัตถุประสงค์หลักใน
การออกแบบ เพราะเป็นตัวรับน้ำหนักซึ่งมีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการใช้งาน การออกแบบนั้นจึงต้องคำนึงถึงสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันคือ การออกแบบและวัสดุที่นำมาใช้งาน
- ที่รองผิวสัมผัสพื้นของอุปกรณ์ช่วยเดิน ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยรับแรงกดที่ผู้ใช้
กระทำต่ออุปกรณ์ช่วยเดิน และส่งผลไปยังพื้น
- การออกแบบมือจับนั้นต้องคำนึงถึงแรงกด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมือจับ
ความหนืดของมือผู้ใช้และอุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อไม่ให้ลื่นหลุดมือ
สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกระหว่างความแตกต่างของการออกแบบและห้าข้อจำกัดนั้นเป็นตัวที่ใช้ในการตัดสินใจ
ปัจจัยที่ 1 ความเป็นได้ในการใช้งาน ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้งาน วัสดุอุปกรณ์ คำนึงถึง 25 %
ปัจจัยที่ 2 การออกแบบนั้นต้องสามารถใช้ได้กับทุกคนไม่คำนึงแต่การใช้งานของคนปกติเท่านั้น คำนึงถึง 25 %
ปัจจัยที่ 3 คือ ส่วนของราคาค่าใช้จ่าย คำนึงถึง 20 %
ปัจจัยที่ 4 คือ ส่วนของน้ำหนักเบา สะดวกในการขนย้าย และการใช้งานคือผู้ที่มีปัญหาอ่อนแรงขาสองข้างสามารถยืนยกอุปกรณ์ช่วยเดินได้ คำนึงถึง 15 %
ปัจจัยที่ 5 คือ ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อให้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินนั้นรับแรงได้ทุกทิศทาง คำนึงถึง 15 %

ผลการทดลอง



จากตารางพบว่า
1. การใช้ force pad นั้นได้คะแนน 655 จาก 1000 การออกแบบนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเล็กน้อย
2. การใช้ walker leg sensor designed ได้คะแนน 645 จาก 1000 การออกแบบโดยใช้สัญญาณนั้น ส่วนผลต่อการเดินและการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินให้ดีขึ้นนั้นได้คะแนนค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และการติดตั้งที่อุปกรณ์ช่วยเดินนั้น ยากในการติดตั้ง จึงมีผลต่อผู้ใช้ค่อนข้างน้อย
3. การใช้ Instrumented Walker Frame ได้คะแนน 525 จาก 1000 เป็นการออกแบบที่ได้คะแนนต่ำสุด เนื่องจากยากในกระบวนการติดตั้งค่อนข้างยาก และการใช้งานนั้นไม่ส่งผลให้การใช้งานดีขึ้น
4. การใช้ portable sleeve - embedded sensors ได้คะแนน 810 จาก 1000 ได้คะแนนค่อนข้างสูงเนื่องจาก มีการติดตั้งสัญญาณที่ค่อนข้างเล็ก ง่ายต่อการติดตั้งและสะดวกต่อการใช้งาน
5. การใช้ the portable sleeve with the cantilever handle (PSCH) ได้คะแนน 890 จาก 1000 ได้คะแนนสูงที่สุดเนื่องจาก มีความเป็นไปได้สามารถใช้งานได้จริง สามารถติดตั้งได้ทุกที่ สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคลจึงส่งผลให้สามารถปรับการเดินได้ดีขึ้น ราคาในการติดตั้งไม่สูง

วิเคราะห์งานวิจัย
- เป็นการเปรียบเทียบอุปกรณ์มือจับแต่ละชนิดที่ออกแบบมาทั้ง 5 แบบ
- ไม่มีการคัดกรองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง
- ไม่มีจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลอง

ประโยชน์ที่ได้รับ
- นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์มือจับในอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน

1 comment:

  1. เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่แชร์กันนะค่ะ แต่ว่าลิ้งการเข้าถึงอ้างอิงเข้าไม่ได้เลยค่ะ ถ้าระบุชื่อผุ้วิจัยจะดีมากเลยค่ะในการค้นหาเพื่อนการเข้าถึง เพราะค้นหาแล้วไม่เจอบทความเลยค่ะ อยากได้มาใช้ในการทำวิจัย

    ReplyDelete