ชื่องานวิจัย
The effect of prolonged static and cyclic stretching on ankle joint stiffness, torque relaxation, and gait in people with stroke
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/bubmed
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลระยะสั้นที่เกิดจากการยืดกล้ามเนื้อน่องค้างและการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะเปรียบเทียบผลในการขยับข้อต่อผู้ที่มีภาวะข้อเท้าติด การลดการเกร็งและแรงต้าน และการเดินในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก
กลุ่มตัวอย่าง
อาสาสมัครผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจากโรคเส้นเลือดในสมองแตกที่สามารถสื่อสารได้ 10 คน (ผู้ชาย 9 คนและผู้หญิง 1 คน) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ไม่ได้รับประทานยาลดเกร็ง
2. ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น
3. มีภาวะทางอารมณ์ปกติ
4. เดินได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือไม่ใช้ก็ได้
5. เป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกมาอย่างน้อย 3 เดือน
6. ไม่ได้รับโปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการวิจัย
1. วัดค่าทางกายภาพตามเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและวัดมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
2. แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบในเวลาเดียวกันโดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องไม่ได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อตลอดระยะการทดสอบ เริ่มทดสอบโดยยืดกล้ามเนื้อน่องค้างไว้จากมุมกระดกข้อเท้าลง 10 องศา จนถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุดด้วยความเร็ว 5องศา/วินาที แล้วกลับสู่มุมเริ่มต้น ทำซ้ำ 30 นาที และยืดความเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะโดยใช้เครื่อง Continuous Passive Motion ความเร็วที่ใช้ 5 องศา/วินาที จากมุมเริ่มต้นถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุด 30 นาที โดยไม่ได้ค้าง จากนั้น ให้เดินเป็นระยะทาง 10 เมตรดูเวลาที่ใช้ โดยใช้เครื่อง Kin–Com dynamometer เป็นเครื่องวัดแรงและมุม ก่อนและหลังทำการยืดทั้ง 2 แบบ
3. ใช้เครื่อง EMG วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ
4. การทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร ก่อนและหลังการยืด
ผลการวิจัย
1. วัดภาวะข้อเท้าติด ผลของการยืดค้างกับผลของการยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ ผลของการยืดค้าง มีข้อเท้าติดลดลง 35% และยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ 30 นาที ข้อเท้าติดลดลง 30%
2. วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ ผลของการยืดค้าง มีแรงต้านลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการยืดแบบช่วงจังหวะเป็น 53%
3. ผลที่ได้จาการทดสอบเวลาที่ใช้ในเดิน 10 เมตร ผลที่ได้ไม่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงประโยชน์และผลที่ได้รับจากการยืดกล้ามเนื้อน่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
2. ทราบถึงวิธีการยืดกล้ามเนื้อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
วิเคราะห์วิจารณ์
ในงานวิจัยไม่ได้ระบุถึงความแตกต่างในการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างและแบบช่วงจังหวะอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการให้ยืดค้างไม่ได้บอกว่าต้องค้างนานเท่าไร ในงานวิจัยทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร แต่ในผลการวิจัยกลับไม่พูดถึงเรื่องนี้ เพียงสรุปว่าไม่แตกต่างกัน และไม่ได้กล่าวถึง สถานที่ สภาพพื้นผิวที่ใช้ในการเดิน ในงานวิจัยไม่ได้วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อก่อนทำการยืด ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าหลังยืดแล้วแรงต้านลดลงหรือไม่ งานวิจัยกล่าวถึงค่า significantly ในการวัดการก่อนยืด และการยืดแบบค้างแต่ไม่ได้ระบุถึงค่าตัวอื่นๆ ทำให้ไม่ทราบถึงความน่าเชื่อถือของการวัดค่าอื่นๆ งานวิจัยนี้ผลที่ได้ค่อนข้างแตกต่างกับงานวิจัยที่ทำมาก่อนแล้ว แต่งานวิจัยก่อนหน้านี้ทำในกลุ่มคนปกติ เพื่อให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้นจำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้น่าจะมีจำนวนมากกว่านี้
No comments:
Post a Comment