MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, June 30, 2010

Assistive technology in elderly care

ชื่องานวิจัย/บทความ
Assistive technology in elderly care
ที่มา http://ageing.oxfordjournals.org/cgi/reprint/30/6/455.pdf
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของอุปกรณ์ AT กับความปลอดภัยของผู้สูงอายุ และการพัฒนาของอุปกรณ์ช่วยต่างๆ โดยค่าใช้จ่ายไม่มากได้แก่อุปกรณ์ Community alarm, Video-monitoring, Health monitors, Fall detectors, hip protectors, pressure mats, Door alerts, Dawn/dusk lights, Smoke alarms, Fire alarms, Cooker controls และ Electronic calendars/ specking clocksซึ่งใช้กับผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ประโยชน์ในการใช้งานของผู้สูงอายุและผู้ดูแล
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้สูงอายุ ไม่ได้จำกัดเพศ อายุ หรือโรคประจำตัว ไม่ระบุจำนวน
ขั้นตอน
การใช้งานของแต่ละอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1. Community alarm คือ การปลุกเตือนที่ใช้โดยทั่วไป ซึ่งใช้งานมาอย่างแพร่หลายใน 40 ปีก่อน เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่เข้าถึงการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ลำบาก โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทาง audio box 20 ปีต่อมา สามารถตั้งเวลาเตือนได้ เมื่อผู้ดูแลไม่อยู่บ้าน ปัจจุบัน สามารถเป็นการสื่อสารแบบ two-way speech connectionได้ในกรณีที่ผู้ดูแลไม่ว่าง
สามารถตั้งเวลาปลุกให้สามารถติดติ่ทางโทรศัพท์ได้ โดยสื่อสารผ่านทาง remote call –handling ได้ โดยพัฒนาเป็นจี้ หรือสร้อยข้อมือ โดยส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ในกรณีฉุกเฉินสามารถขอความช่วยเหลือจากทีมช่วยเหลือที่ดูแลผู้ป่วยตามบ้านได้ แต่บริการนี้จะได้ผลเมื่อได้ตกลงกับทีมฉุกเฉินไว้ก่อน และตัวผู้ใช้เองยังรู้สติพอที่จะกดปุ่มส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้
เครื่อง Community alarm นี้สามารถลดความกังวลและเพิ่มความอิสระในการให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพังได้ ในอนาคตเครื่องนี้จะพัฒนาไปถึงขั้น telecare systemต่อไป
2. Video-monitoring คือเครื่องที่พัฒนาของ การสื่อสาร video และ audio สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้ทาง Ordinary telephone line ซึ่งพัฒนาเป็นการใช้กล้อง สามารถใช้ remote เลือกมุมที่ต้องการได้ ปรับมุมกว้าง มุมขึ้นลง และZoom ได้
3. Health monitors มีขนาดเล็ก พกพาง่ายใช้สำหรับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และการเคลื่อนไหว ลักษณะคล้ายนาฬิกาทั่วไป ใช้บันทึกขณะ ล้มเจ็บ อ่อนแรง หน้ามืด หรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดยการเตือนผ่านสัญญาณวิทยุเป็น multi-link(ประมาณ 45 cm.) เพื่อติดต่อกับ community centreและยังสามารถประยุกต์ใช้เป็น Fall monitor และยังใช้ alerting mechanism ในผู้ป่วยหนักเช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
4. Fall detectors มีขนาดเล็กติดรอบเอวหรือรอบทรวงอกใช้บันทึกความเร่งและความสูงที่เปลี่ยนไป เพื่อลดจำนวนครังที่ล้มโดยมี3 ชนิด คือ 1. Tunstall 2. Tele-alarm และ 3.Technology in healthcare ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้ วัดความเร่ง และความสูงที่ต่างกัน แต่ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์เตือนป้องกันการล้มเหมือนกัน แต่มีข้อจำกัดในผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยิน จะไม่ได้ยินเสียงเตือนป้องกันการล้ม
5. Hip protectors ออกแบบมาเป็นกางเกงชั้นใน อยู่บริเวณรอบ greater trochanter เพื่อป้องกันการกระดูกหัก ซึ่งผลิดมาสำหรับเพศและขนาดที่แตกต่าง ปัญหาที่พบคือความไม่สบายในการสวมใส่ และผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถใช้งานได้นาน 6 เดือน
6. Pressure mats เพื่อลดแรงกดทับจากเตียงหรือเก้าอี้ สามารถควบคุมด้วยเสียงและการได้ยิน โดยออกแบบให้เหมาะกับแตกต่างด้านน้ำหนัก อายุ และชนิดที่นอนที่ต่างกัน เหมาะกับผู้ที่อยู่คนเดียว หรือพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะในเวลากลางคืนและยังช่วยป้องกันการล้มจากเปลี่ยนท่าทางอีกด้วย
7. Door alerts โดยมีสัญญาณติดที่บริเวณประตู เพื่อป้องกันผู้ป่วยเข้าออกเวลากลางคืน สามารถมีเสียงเตือนเวลามีคนเข้าออกโดยผ่านการมองจาก video-monitoring สามารถดูได้ไม่ว่าจะที่ตำแหน่งใดก็ตาม
8. Movement detectors ใช้รังสี infra-red เหมาะกับผู้ที่สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงในการล้ม ซึ่งระบบจะเชื่อมต่อกับระบบแสงสว่าง โดยแสงจสว่างขึ้นเมื่อมีคนเข้าหรือออกจากพื้นที่ดังกล่าว
9. Dawn/dusk lights เหมาะกับผู้ที่ลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ซึ่งระดับแสงสว่างจะช่วยป้องกันการล้ม
10. Smoke alarms โดยเครื่องจะจับสัณญาณจากสิ่งที่มองเห็น และมองไม่เห็นโดยจะจับสัญญาณไปจากควัน
11. Fire alarms จับจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป เหมาะกับพื้นที่ที่เสี่ยงไฟไหม้ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ทำอาหาร
12. Cooker controls สามารถควบคุมแก๊สหุงต้มเมื่อเกิดอุณหภูมิที่สูงชึ้น และจะส่งข้อความอัตโนมัติไปยังศูนย์ควบคุม
13. Electronic calendars/ specking clocks ใช้บันทึกวันเวลา เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของวัน เวลา
ผลการวิจัย
เป็นลักษณะ review โดยผู้จัดทำได้แบ่ง AT ที่ได้อ้างถึงนี้เป็น 3 ที่แตกต่างกัน
1. the retro-fit เครื่องมือแบบเดิม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร การส่งข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ปรับปรุงให้ใช้ที่บ้าน เพื่อตรวจร่างกายและ ซักถามอาการ
2. unobtrusive sensors สัณญาณที่ติดตั้งที่บ้าน เพื่อปรับให้เหมาะกับพฤติกรรมที่แตกต่างกับของแต่ละบุคคล
3. smart homes เป็นการทำงานร่วมกันของสัญญาณจำนวนมาก สามารถตัดหรือเริ่มสัญญาณ ได้ตามการควบคุมของสภาพแวดล้อม ความสว่าง ความร้อน และการสั่นสะเทือน
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงอุปกรณ์ ที่ช่วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรณี อยู่โดยลำพัง การใช้งานอย่างคร่าวๆ และการพัฒนาของอุปกรณ์ เพื่อให้ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
วิเคราะห์งานวิจัย
อุปกรณ์ที่ได้ประดิษฐ์นั้นได้ช่วยเหลือการทำกิจกรรมบางอย่าง แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้กับผู้สูงอายุทีมีข้อจำกัดที่ต่างกัน เช่นปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยิน หรือการเข้าใจ ซึ่งเป็นข้อจำกัดพื้นฐานของผู้สูงอายุ ดังนั้น การออกแบบงานวิจัยนั้น อาจต้องทดสอบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดกลุ่มเดียวกัน แล้วทดสอบถึงการเข้าถึงอุปกรณ์ ได้จริงของอุปกรณ์นั้นๆ

No comments:

Post a Comment