MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, June 30, 2010

Evaluation of Reflex-and Nonreflex-Induced Muscle Resistance to Stretch in Adults With Spinal Cord Injury Using Hand-held and Isokinetic Dynamometry

ชื่องานวิจัย
Evaluation of Reflex-and Nonreflex-Induced Muscle Resistance to Stretch in Adults With Spinal Cord Injury Using Hand-held and Isokinetic Dynamometry
แหล่งที่มา http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบระหว่างความน่าเชื่อถือของการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Hand-held และ Isokinetic Dynamometry
2. ศึกษาผลของ Hand-held Dynamometry ต่อการประเมิน ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง(spastic)ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ (reflex)และการเคลื่อนไหวของร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ (nonreflex) จากการยืดกล้ามเนื้อ
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้พิการที่จากการได้รับบาดเจ็บไขสันหลังจำนวน 9 คน (หญิง 3 คน, ชาย 6 คน) ได้รับบาดเจ็บในช่วง 1-5 ปี อายุ 21-54 ปี มีทั้งไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete)และไขสันหลังตัดขาดบางส่วน (incomplete)เกิดจากอุบัติเหตุ 8 คน หลอดเลือดแตก 1 คน
เงื่อนไขในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. ทุกคนมีปัญหาจากแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อขณะทำการขยับข้อต่อให้แล้วค้าง (passive stretch) ของกลุ่มกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง
2. วัดค่า modified Ashworth scale (เป็นค่าบ่งชี้ความรุนแรงของการเกร็งกล้ามเนื้อ) ได้มากกว่า 1
3. ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น
4. ไม่มีประวัติกระดูกหัก
5. ไม่มีโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (thrombophlebitis)
ขั้นตอนการวิจัย
1. ยืดกล้ามเนื้อกลุ่มกระดกข้อเท้าลงด้วยความเร็วต่ำสุด(LV)5 องศา/วินาที และสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาที โดย Isokinetic Dynamometry และ Hand-held Dynamometry โดยวัดแรงต้านเกร็งกล้ามเนื้อที่มุมต่าง ๆ
2. EMG วัดทางทำงานของกล้ามเนื้อ soleus และ tibialis anterior


Hand-held Dynamometry

ผลการวิจัย
1. ความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients, ICCs) ของทั้ง 2 อุปกรณ์ ดังนี้
hand-held dynamometer ความเร็วต่ำสุด (LV) และสูงสุด (HV) เท่ากับ ICC=.93 and .84
isokinetic dynamometer ความเร็วต่ำสุด (LV)และสูงสุด (HV) เท่ากับ ICC=.99 and .93
ทั้ง 2 อุปกรณ์มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ดี
2. เมื่อพิจารณาที่มุมกระดกข้อเท้า -5 หรือมุมต่ำกว่ามุมปกติ (Neutal)5 องศา พบว่า Hand-held Dynamometry ที่ความเร็วต่ำสุด (LV)และสูงสุด (HV) มีแรงต้าน 0.8 N.m และ 1.2 N.m ซึ่งมีแรงต้านน้อยกว่า Isokinetic Dynamometry
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบผลความน่าเชื่อถือของการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่อง Hand-held Dynamometry โดยเปรียบเทียบกับ Isokinetic Dynamometry สามารถนำอุปกรณ์ หลักการและวิธีการวัดมาใช้ในการวัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อในงานวิจัยอื่นได้
2. ทราบถึงผลของ Hand-held Dynamometry สามารถลดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง(spastic)ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (reflex)และการเคลื่อนไหวของร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ (nonreflex)ในคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังได้
วิเคราะห์วิจารณ์
จากผลงานวิจัยเรื่องความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients,ICCs) ของ hand-held dynamometer ที่ความเร็วสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาทีเป็นการควบคุมได้ยาก ทำให้ผลความน่าเชื่อถือ (intraclass correlation coefficients,ICCs) มีค่าต่ำที่สุดดูน่าเชื่อถือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการวัดอื่น จึงควรมีการศึกษาในเรื่องการควบคุมผลการวัด hand-held dynamometer ที่ความเร็วสูงสุด (HV)ที่ 180 องศา/วินาทีต่อไป งานวิจัยชิ้นนี้ให้รายละเอียดของการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ละเอียด แต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้นควรมีปริมาณที่มากขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย และน่าจะมีการทำงานวิจัยต่อเนื่องดูผลการใช้ hand-held dynamometer แยกระหว่างผู้พิการที่จากการได้รับบาดเจ็บไขสันหลังที่มีทั้งไขสันหลังตัดขาดทั้งหมด (complete) และไขสันหลังตัดขาดบางส่วน (incomplete)

No comments:

Post a Comment