MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Friday, June 25, 2010

The effect of prolonged static and cyclic stretching on ankle joint stiffness, torque relaxation, and gait in people with stroke

ชื่องานวิจัย
The effect of prolonged static and cyclic stretching on ankle joint stiffness, torque relaxation, and gait in people with stroke
แหล่งที่มา www.ncbi.nlm.nih.gov/bubmed
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลระยะสั้นที่เกิดจากการยืดกล้ามเนื้อน่องค้างและการยืดกล้ามเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะเปรียบเทียบผลในการขยับข้อต่อผู้ที่มีภาวะข้อเท้าติด การลดการเกร็งและแรงต้าน และการเดินในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก
กลุ่มตัวอย่าง
อาสาสมัครผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจากโรคเส้นเลือดในสมองแตกที่สามารถสื่อสารได้ 10 คน (ผู้ชาย 9 คนและผู้หญิง 1 คน) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ไม่ได้รับประทานยาลดเกร็ง
2. ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหดสั้น
3. มีภาวะทางอารมณ์ปกติ
4. เดินได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือไม่ใช้ก็ได้
5. เป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกมาอย่างน้อย 3 เดือน
6. ไม่ได้รับโปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการวิจัย
1. วัดค่าทางกายภาพตามเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและวัดมุมกระดกข้อเท้าที่มากที่สุด
2. แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบในเวลาเดียวกันโดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องไม่ได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อตลอดระยะการทดสอบ เริ่มทดสอบโดยยืดกล้ามเนื้อน่องค้างไว้จากมุมกระดกข้อเท้าลง 10 องศา จนถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุดด้วยความเร็ว 5องศา/วินาที แล้วกลับสู่มุมเริ่มต้น ทำซ้ำ 30 นาที และยืดความเนื้อน่องแบบเป็นช่วงจังหวะโดยใช้เครื่อง Continuous Passive Motion ความเร็วที่ใช้ 5 องศา/วินาที จากมุมเริ่มต้นถึงมุมที่กระดกข้อเท้าจะเป็น 80% ของการกระดกข้อเท้าสูงสุด 30 นาที โดยไม่ได้ค้าง จากนั้น ให้เดินเป็นระยะทาง 10 เมตรดูเวลาที่ใช้ โดยใช้เครื่อง Kin–Com dynamometer เป็นเครื่องวัดแรงและมุม ก่อนและหลังทำการยืดทั้ง 2 แบบ
3. ใช้เครื่อง EMG วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ
4. การทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร ก่อนและหลังการยืด
ผลการวิจัย
1. วัดภาวะข้อเท้าติด ผลของการยืดค้างกับผลของการยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ ผลของการยืดค้าง มีข้อเท้าติดลดลง 35% และยืดแบบเป็นช่วงจังหวะ 30 นาที ข้อเท้าติดลดลง 30%
2. วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อ ผลของการยืดค้าง มีแรงต้านลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการยืดแบบช่วงจังหวะเป็น 53%
3. ผลที่ได้จาการทดสอบเวลาที่ใช้ในเดิน 10 เมตร ผลที่ได้ไม่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงประโยชน์และผลที่ได้รับจากการยืดกล้ามเนื้อน่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
2. ทราบถึงวิธีการยืดกล้ามเนื้อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
วิเคราะห์วิจารณ์
ในงานวิจัยไม่ได้ระบุถึงความแตกต่างในการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างและแบบช่วงจังหวะอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการให้ยืดค้างไม่ได้บอกว่าต้องค้างนานเท่าไร ในงานวิจัยทดสอบเวลาที่ใช้ในการเดิน 10 เมตร แต่ในผลการวิจัยกลับไม่พูดถึงเรื่องนี้ เพียงสรุปว่าไม่แตกต่างกัน และไม่ได้กล่าวถึง สถานที่ สภาพพื้นผิวที่ใช้ในการเดิน ในงานวิจัยไม่ได้วัดแรงต้านของกล้ามเนื้อก่อนทำการยืด ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าหลังยืดแล้วแรงต้านลดลงหรือไม่ งานวิจัยกล่าวถึงค่า significantly ในการวัดการก่อนยืด และการยืดแบบค้างแต่ไม่ได้ระบุถึงค่าตัวอื่นๆ ทำให้ไม่ทราบถึงความน่าเชื่อถือของการวัดค่าอื่นๆ งานวิจัยนี้ผลที่ได้ค่อนข้างแตกต่างกับงานวิจัยที่ทำมาก่อนแล้ว แต่งานวิจัยก่อนหน้านี้ทำในกลุ่มคนปกติ เพื่อให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้นจำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้น่าจะมีจำนวนมากกว่านี้

No comments:

Post a Comment