MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 12, 2010

How to quantify knee function after total knee arthroplasty ?

ชื่องานวิจัย/บทความ
How to quantify knee function after total knee arthroplasty ?

แหล่งอ้างอิง
http://dare.ubn.kun.nl/dspace/bitstream/2066/74939/1/74939.pdf

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการทำงานของเข่าหลังมีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
2. ศึกษาเปรียบทียบโดยใช้วิธีแบบทดสอบและการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของข้อเข่า

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย
1. ผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามาอย่างน้อย 16 เดือน
2. ผู้ที่เปลี่ยนข้อเข่า จำนวน 28 คน และคนสุขภาพดี 31 คน เป็นคนที่ออกกำลังกายด้วยการ ตี tennis วิ่งและที่ชมรมจักรยานเสือภูเขา โดยไม่มีการบาดเจ็บที่เข่าหรือขาก่อน
3. โดยทั้ง 2 กลุ่มมีเพศ อายุ และBMI อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน

ขั้นตอนงานวิจัย
1. คัดกรองจากแบบสอบถาม The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and Knee Society Score (KSS)
2. ใช้การทดสอบ sit to stand movement โดยเก้าอี้นั้นออกแบบเป็นพิเศษ โดยไม่มีที่ท้าวแขน มีความลึกและกว้างให้พอเหมาะ โดยมุมข้อเข่าด้านหลัง 90 องศา
3. ใช้การทดสอบ Maximal Isometric Contraction (MIC) ต้านแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการงอและการเหยียดขา รวม 4 ครั้งโดยเทียบซ้ายขวา
4. ใช้การทดสอบ Timed-up-and-Go (TUG) โดยการจับเวลาลุกจากเก้าอี้โดยมีที่ท้าวแขน เดินระยะทาง 3 เมตร หมุนตัวและเดินกลับ มานั่ง
5. ใช้การทดสอบ Functional content validity โดยการให้ทำกิจกรรมต่างๆโดยทดสอบควบคู่กับการให้คะแนนความเจ็บปวด โดยคะแนนอาการปวดต้องไม่เกิน 5/10

ผลการทดลอง
1. จากแบบสอบถาม The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) and Knee Society Score (KSS) พบว่า


กลุ่มผู้ที่มีสุภาพดีจะมีความสามารถในการทำกิจกรรมดำรงชีวิตที่ดีกว่าผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

2. จากการทดสอบ sit to stand movement พบว่ามีองศาการเคลื่อนไหวน้อยกว่าคนสุขภาพดีทั้งข้อสะโพก ข้อเข่า แต่องสาการเคลื่อนไหวของข้อเท้าไม่แตกต่าง
3. จากการทดสอบ Timed-up-and-Go (TUG) พบว่าผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีการใช้เวลาในการทดสอบมากกว่าคนสุขภาพดี



4. จากการทดสอบ Maximal Isometric Contraction (MIC) พบว่าผู้ที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีกำลังกล้ามเนื้อที่น้อยกว่าขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แต่กำลังกล้ามเนื้อขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดนั้นแข็งแรงกว่าคนสุขภาพดี


วิเคราะห์งานวิจัย
- เป็นงานวิจัยที่ละเอียด มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ชัดเจน
- มีการทดสอบการทดลองที่หลากหลายเป็นมาตราฐานเพื่อยืนยันในเรื่องเดียวกัน

ประโยชน์ที่ได้รับ
- ผู้ที่เปลี่ยนข้อเข่ามีการทำงานของเข่าลดลงไปจากคนทั่วไป ซึ่งเป็นข้อที่ควรทราบในการคัดกรองเข้าร่วมงานวิจัย
- เป็นการทดลองเปรียบเทียบเพื่อยืนยันในสิ่งเดียวกัน

No comments:

Post a Comment