MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, August 12, 2010

Prevalence and Management of Poststroke Spasticity in Thai Stroke Patients: A Multicenter Study

ชื่องานวิจัย
Prevalence and Management of Poststroke Spasticity in Thai Stroke Patients: A Multicenter Study

แหล่งอ้างอิง
http://www.ejournal.mahidol.ac.th หรือ J Med Assoc Thai Vol.92 No.10 2009
สืบค้น
คำว่า Muscle spasticity, Prevalence, Risk factors, Stroke, Therapy

วัตถุประสงค์
พื่อศึกษาความชุก การรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิด
โรคหลอดเลือดสมองที่กล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม คือ กล้ามเนื้องอศอกและกล้ามเนื้องอเข่า

กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยจำนวน 327 คน เป็นผู้ชาย 193 คน เป็นผู้หญิง 134 คน ผู้ป่วยทุกรายได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพตามมาตรฐานจนกระทั่งถึงเป้าหมายของการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือเกณฑ์จำหน่ายตามที่กำหนดไว้
2. อาสาสมัครคนปกติ 191 คน

ขั้นตอนการวิจัย
1. ศึกษาทะเบียนโรคหลอดเลือดสมองแบบสหสถาบัน ณ 9 โรงพยาบาลในประเทศไทย
2. ทำการวัดการฟื้นตัวของระบบประสาทด้วย Brunnstrom motor recovery
3. วัดความพร่องสมรรถภาพด้วยแบบประเมิน Barthel
4. วัดสมรรถภาพสมองด้วยแบบประเมินThai Mental State Examination (TMSE)
5. วัดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งด้วยแบบประเมิน Modified Ashworth Scale (MAS)
6. วัดคุณภาพชีวิตประเมินด้วยแบบสอบถาม WHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทย
7. บันทึกการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งทุกชนิดที่ผู้ป่วยได้รัับ

ผลการวิจัย
1. ค่าความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเท่ากับร้อยละ 41.6 โดยความชุกของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกและกล้ามเนื้องอเข่าหดเกร็งเท่ากับร้อยละ 31.2 ส่วนความชุกของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกและงอเข่าหดเกร็งเพียงข้อเดียว เท่ากับ 4.9 และ 5.5 ตามลำดับ ส่วนมากพบภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ระดับ MAS grade 1
2. ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีระยะเวลาของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองนานกว่า (p = 0.049) เมื่อเทียบกับระดับมาตราฐานของ Brunnstrom motor recovery stage โดยของแขน (p < lang="TH">มือ (p = 0.003) และขา (p < lang="TH">ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง คือ Brunnstrom motor recovery stage 2 และ 3 ของแขน
4. ค่า odds ratio เท่ากับ 6.1 (95% CI = 2.5-14.9) และ 3.5 (95% CI = 1.3-9.2) ตามลำดับ
5. มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 83 ราย (ร้อยละ 25.4) ที่ได้รับการรักษาภาวะกล้ามเนื้อ หดเกร็ง โดยการออกกำลังกาย รับประทานยาลดเกร็ง และใช้อุปกรณ์เสริมเป็นการรักษา 3 ลำดับแรกที่ผู้ป่วยได้รับ บ่อยที่สุดตามลำดับ

ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงความชุก การรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งภายหลังการเกิด
โรคหลอดเลือดสมองที่กล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม คือ กล้ามเนื้องอศอกและกล้ามเนื้องอเข่า

วิเคราะห์วิจารณ์

เป็นงานวิจัยที่ดี จากผลการวิจัยกล่าวได้ว่า การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมักเกิดในกล้ามเนื้อหลาย ๆมัดมากกว่าเกิดแยกมัด และงานวิจัยได้กำหนดเงื่อนไขของกลุ่มตัวอย่างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ไม่ชัดเจน เช่น ไม่บอกความต้องการในเงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างมีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งระดับไหน มุมการเคลื่อนไหวของข้อศอกและข้อเข่าอยู่ในช่วงเท่าไร การสื่อสารเข้าใจในกรณีต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม

No comments:

Post a Comment