MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Monday, July 12, 2010

Ankle Stiffness and Tissue Compliance in Stroke Survivors: A Validation of Myotonometer Measurements

ชื่องานวิจัย/บทความ
Ankle Stiffness and Tissue Compliance in Stroke Survivors: A Validation of Myotonometer Measurements
แหล่งที่มา http://www.archives-pmr.org
วัตถุประสงค์
วัดความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ( Myotonometer) วัดภาวะเกร็งของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
กลุ่มตัวอย่าง
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) 23 คน ที่มีภาวะข้อเท้าติดในข้างที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 6 เดือน
2. อาสาสมัครคนสุขภาพดี 24 คน
ขั้นตอนการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างนั่งห้อยขาอิสระ วัดแรงเกร็งต้านของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าขณะขยับข้อให้ (passive movement) โดยใช้ The Modified Ashworth Scale (MAS) อยู่ในระดับ 0 (ไม่มีแรงเกร็งต้าน) ถึง 4 (มีแรงต้านจนแข็ง)
2. กลุ่มตัวอย่างนั่งแอนไปด้านหลังเล็กน้อย ทดสอบขาโดยให้สะโพกงอ 90 องศา เข่างอ 45 องศา ให้ lateral malleolus อยู่ในแนวแกนหมุนของแผ่นรองเท้า (footplate) ซึ่งติดอยู่กับ potentiometer ที่ใช้วัดมุมข้อเท้า ตำแหน่งเริ่มต้น (Neutral) 0 องศา ตัววัดมุมติดอยู่ที่แผ่นรองเท้า
3. แผ่นรองเท้าอยู่ในตำแหน่งมุมกระดกข้อเท้าลง 17 องศา กลุ่มตัวอย่างออกแรงดันลง 3 ครั้ง ค้าง 5 วินาที วัดค่าแรงต้าน เรียกว่า plantarflexor maximal voluntary contraction (MVC)
4. ขยับข้อเท้าให้ passive ROM (PROM) ช้า ๆ ระหว่างกระดกข้อเท้าขึ้นและกระดกข้อเท้าลง วัดมุมช่วงสุดท้ายของทั้งสองโดยกำหนดแรงต้านไว้ที่ 10 นิวตัน ทำ 3 ครั้งพร้อมทั้งบันทึกผล และวัดมุมของข้อเท้า(นั่งห้อยขา)ขณะพักหลังทำด้วย
5. Muscle stiffness testing เริ่มวัดในมุมเริ่มต้นที่มุมกระดกข้อเท้า 17 องศาโดยวางเท้าที่แผ่นรองเท้า วัดแรงเกร็งต้านในขณะกลุ่มตัวอย่างผ่อนคลาย ขยับข้อเท้ากระดกข้อเท้าขึ้น 5 องศาด้วยความเร็ว 100 องศาต่อวินาที 1 – 2 ครั้ง จนมีมีแรงเกร็งต้าน วัดแรงเกร็งต้านใน 3 ลักษณะ พัก ขยับโดยคำสั่งตนเอง และขยับโดยผู้อื่นทำให้
6. Muscle compliance testing ใช้ handheld electronic device ในห้องปฎิบัติการ วัดการทำงานของกล้ามเนื้อน่อง (gastrocnemius) ใน 3 ลักษณะ
ผลการวิจัย
1. ค่าของ The Modified Ashworth Scale (MAS) อยู่ในระดับ 0 (ไม่มีแรงเกร็งต้าน) ในกลุ่มอาสาสมัครคนสุขภาพดี และสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (P <.02) ซึ่งเพิ่มขึ้นตามแรงต้านขณะขยับข้อให้ (P <.03) 2. การวัดค่าความตึงติดของกล้ามเนื้อ (Muscle stiffness) ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น และการหดหัวของกล้ามเนื้อ (10% of MVC) มีค่าแตกต่างกับก่อนให้ในกลุ่มอาสาสมัครคนสุขภาพดี 4.6%_3.0% และกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 6.5%_3.9% ไม่มีกลุ่มไหนเกิน 10 % 3. ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance) ลดลงตามการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะลดลงในอาสาสมัครสุขภาพดีขณะทำกระดกข้อเท้าลง (P <.04) เท่านั้น 4. การวัดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance) ระหว่างช่วงพักและช่วงสั่งงานหดตัวของกล้ามเนื้อ ไม่มีความแตกต่างในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ปัจจัยที่มีผลต่อความตึงติดของกล้ามเนื้อ (Muscle stiffness) และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Muscle compliance)
2. วัดความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ( Myotonometer) วัดภาวะเกร็งของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
วิเคราะห์วิจารณ์
เป็นงานวิจัยที่ดี อธิบายวิธีการวิจัยได้ละเอียด แต่ในการหาค่า plantarflexor maximal voluntary contraction (MVC)ในวิธีการวิจัยที่ให้ออกแรงถีบแผ่นรองเท้า ไม่สามารถทำได้ในคนที่มีภาวะข้อติดแต่ไม่มีแรงกล้ามเนื้อข้อเท้าเลย ซึ่งในงานวิจัยนี้น่าจะมีการระบุกำหนดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังกล้ามเนื้อด้วย และควรระบุถึงช่วงมุมข้อเท้าที่ติด เพราะน่าจะให้ผลของแรงต้านที่แตกต่างกัน หรืออาจจะมีงานวิจัยต่อดูผลของมุมข้อติดของข้อเท้าว่ามีผลต่อแรงต้านหรือไม่

No comments:

Post a Comment