MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Thursday, July 1, 2010

Effects of Assistive Devices on Cardiorespiratory Demands in Older Adults

ชื่องานวิจัย/บทความ
Effects of Assistive Devices on Cardiorespiratory Demands in Older Adults
ผู้เขียน Michael P Foley และคณะ
แหล่งที่มา Physical Therapy, V.76, No.12, December 1996
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของระบบปอดและหัวใจระหว่างเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดินและเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดินแบบต่าง ๆ
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้สูงอายุ (50-74 ปี) ชาย 3 คน หญิง 7 คน ซึ่งปัจจุบันสามารถเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน ไม่มีผลข้างเคียงจากยา ไม่มีข้อจำกัดทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
ขั้นตอน
เครื่องมือ
1. MedGraphics metabolic measurement cart และ Hans Rudolph mouth-face mask ใช้วัดความเข้มข้นและปริมาตรของก๊าซ
2. Polar Electro HR monitor ใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
3. Standard stethoscope , blood pressure cuff และ aneroid sphygmomanometer ใช้วัดความดันเลือด โดยทุกเครื่องมือที่กล่าวมาถูก calibrate ก่อนใช้เก็บข้อมูล
4. standard walker น้ำหนัก 2.6 กิโลกรัม
5. wheeled walker น้ำหนัก 2.7 กิโลกรัม
6. cane โดยปรับความสูงเท่ากับ ulna styloid process ของผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละคน
7. อธิบายขั้นตอนการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมการทดลอง
8. ให้คำแนะในการใช้เครื่องช่วยเดินแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จนสามารถเดินได้ถูกต้อง
9. ลำดับการทดลองเป็นแบบซุ่ม โดยผู้เข้าร่วมวิจัยจะเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ standard walker, เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
10. การเดินแต่ละแบบจะเดินบนพื้นราบ ยาว 45.7 เมตร กว้าง 7.6 เมตร เดินตรงไปด้านหน้าจนสุดทางเดิน จากนั้นหมุนตัวกลับเดินมายังจุดเริ่มต้น เดินจนครบ 5 นาที
11. เก็บข้อมูลความเข้มข้นและปริมาตรของก๊าซในช่วง 2 นาทีแรกของการเดิน
12. เก็บข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจขณะสิ้นสุดนาทีแรกและนาทีที่ 2 โดยการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงานวิจัยยังคงเดินอยู่
13. เมื่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยเดินจนครบ 5 นาทีแล้ว ให้หยุดยืนวัดความดันเลือด และสอบถามระดับความพยายามในการเดินแบบต่างๆ (คะแนน 0-10)จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยพักอย่างน้อย 10 นาที จนกว่าอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับก่อนเดิน
14. ซุ่มเปลี่ยนอุปกรณ์ช่วยเดิน
ผลการวิจัย
1. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า VO2 สูงกว่า และมีความเร็วต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
2. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า ระดับความพยายามในการเดิน สูงกว่า เมื่อเทียบกับ การเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
3. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า ระดับความพยายามในการเดิน สูงกว่า เมื่อเทียบกับ การเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
4. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า อัตราการเต้นหัวใจ และ Rate Pressure Product สูงกว่า เมื่อเทียบกับ การเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
5. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า Diastolic Blood Pressure และ Systolic Blood Pressure สูงกว่า เมื่อเทียบกับ การเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , เดินโดยใช้ wheeled walker และเดินโดยใช้ cane
6. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า Minute ventilation เพิ่มขึ้นระหว่างการเดิน เมื่อเทียบกับ ระหว่างการเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , ระหว่างการเดินโดยใช้ wheeled walker และระหว่างการเดินโดยใช้ cane
7. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า Differences for Minute ventilation เพิ่มขึ้นระหว่างการเดิน เมื่อเทียบกับ ระหว่างการเดินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยเดิน , ระหว่างการเดินโดยใช้ wheeled walker และระหว่างการเดินโดยใช้ cane
8. การเดินโดยใช้ standard walker มีค่า Tidal Volume เพิ่มเป็น 103% และ มีค่า Frequency of Breaths เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ การเดินโดยใช้ wheeled walker
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงผลกระทบต่อระบบปอดและหัวใจขณะที่ผู้สูงอายุใช้เครื่องช่วยเดินแบบต่าง ๆ
2. ผลงานวิจัยทำให้ตระหนักถึงการเลือกเครื่องช่วยดินให้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและปอดร่วมด้วย
วิเคราะห์งานวิจัย
1. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีจำนวนน้อย
2. มีความละเอียดในการเก็บข้อมูลที่ใช้ในการแปรผล
3. มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ครอบคลุม
4. มีการซุ่มลำดับการทดลองเพื่อลดตัวแปรที่จะส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจและปอด

No comments:

Post a Comment