MURSAT Blog


บล็อคส่วนบุคคล ใช้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรแขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่นใดที่อ้างอิงถึงในบล็อคนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการและการศึกษาเพียงเท่านั้น

Wednesday, July 28, 2010

Clinical gait and stepping performance measures in older adults

ชื่องานวิจัย/บทความ
Clinical gait and stepping performance measures in older adults

ผู้เขียน N. B. Alexander & A. Goldberg

แหล่งที่มา Eur Rev Aging Phys Act (2006) 3:20–28

วัตถุประสงค์งานวิจัย
เพื่อรวบรวมการทดสอบสมรรถภาพในการวัดความสามารถยืน เดิน ของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถนำมาใช้ตรวจประเมิณในการยืนเดินได้จริง โดยตรวจประเมินได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถนำมาประเมินประเมิณผู้สูงอายุกับการป้องกันการล้มในการดำเนินชีวิตประจำวัน

กลุ่มผู้เข้ารวมงานวิจัย
ผู้สูงอายุ

ขั้นตอนและผลงานวิจัยรวบรวมงานวิจัย
การทดสอบด้านความเร็วในการเดิน
- Usual and maximal gait speed ผู้สูงอายุมากกว่า75 ปี ให้ทดสอบด้วยความเร็วในการเดินปกติ ภายในระยะทางสั้นๆ ประมาณ 5 เมตร ส่วนผู้สูงอายุ 65-74 ปี สามารถใช้การทดสอบด้วยความเร็วสูงสุดได้
- Maximum walking speed ใช้การเดิน 30 ฟุต แล้วเดินกลับ ผลของความเร็วคือ สุขภาพสมบูรณ์ ความเร็ว > 1.3 เมตร
ปกติ ความเร็ว > 0.6 เมตร แต่< 1.0 เมตร
- การประเมิณซ้ำในผู้ป่วย stroke และ OA knee ในระยะแรกกับระยะฟื้นตัวพบว่ามีความเร็วที่แตกต่างกัน โดยความเร็วดีขึ้นจากเดิม
- Six minute walk test ใช้ทดสอบความทนทานของระบบหัวใจและปอด ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่อยู่ในโรงพยาบาล และมีเครื่องคอยแสดงผลการทำงานของหัวใจและปอด โดยเดินบน treadmill ทั่วไป
- Long distance corridor walk เดินในความที่มากกว่า 20 เมตร โดยภายใน 2 นาที ต้องได้ความเร็วที่มากกว่า 400เมตร

การตั้งอุปกรณ์ที่แตกต่าง
- Dynamic gait index ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการเดินรวมถึงการเปลี่ยนความเร็ว การหันศรีษะ หันลำตัว การขึ้นบันได โดยเทียบการทดสอบจากปกติ แสดงผลว่ามีความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกับการทรงตัวอย่างมีนัยสำคัญ
- Emory functional ambulation profile วัดความแตกต่างใน 5 สภาพแวล้อมที่เปลี่ยนไป คือ 1.) เดินบนพื้นแข็ง 5 เมตร 2.) เดินบนพรม 5 เมตร 3.) เดินจับเวลา 4.) ก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง 5.) เดินขึ้นบันได 4 ขั้น แล้วหมุนตัวกลับลงมาที่เดิม
- Short physical performance battery จับเวลาในการลุกจากเก้าอี้ และเดินต่อ 8 เมตร
- Functional ambulation classification โดยวัดจากการเดินในระยะที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่นระดับ ความสูง เป็นต้น
- Functional obstacle course เดินในรอบๆบ้าน โดยเดิน 100 เมตรบนพื้นที่มีความต่างกัน การลงทางลาด การลงบันได และการเดินเป็นวงกลม โดยดูจากเวลา และคุณภาพที่ได้
- Gait abnormality rating scale เป็นการใช้กล้อง จักตาดูการเคลื่อนไหวของแขน ขา และลำตัว ตลอดแต่ละขั้นตอนการเดิน
- Performance-oriented mobility assessment เป็นที่นิยมใช้ ทดสอบกันได้ง่าย โดยใช้ปัจจัยในการมองและสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ลุกจากเก้าอี้ ปิดตา หมุนตัว เป็นต้น
- Timed up and go test โดยการลุกจากเก้าอี้ เดินต่อเนื่อง 3 เมตร หมุนตัว และกลับมานั่งที่เก้าอี้

การเดินที่แตกต่างกัน
- Stops walking while talking test เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องในการเดินในสถานที่ต่างๆ
- Timed up and go test ร่วมกับการถือแก้วน้ำโดยเทน้ำให้เหลือน้ำห่างจากปากแก้ว 5 เซนติเมตร

การทดสอบการเริ่มต้นในการก้าวเดิน
โดยดูจากการวางเท้า การก้าวเดิน การตอบสนองกบแสงสว่าง
- Maximal step length โดยนำค่าการก้าวขาที่มากที่สุดมาประเมิณ การทรงตัว การเสี่ยงต่อการล้ม การทนทานของการเคลื่อนไหว และการทรงตัวที่มีปัญหา
- Rapid step test โดยการก้าว 24 ก้าวในการใน 3 ทิศทาง โดยก้าวขาข้างเดียวตามคำสั่ง
- Four square step test คือด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย
- ทราบถึงความเหมาะสมในการเลือกการทดสอบให้เหมาะกับผู้เข้าร่วมการทดลอง
- ทราบถึงการหลากหลายของการทดสอบสมรรถภาพในการทรงตัวในผู้สูงอายุสามารถเลือกนำมาคัดกรองเบื้องต้นในการรักษา หรือในการทำการวิจัยต่อไปได้

วิเคราะห์งานวิจัย
มีการเปรียบเทียบของการทดสอบสมรรถภาพในการประเมิณกลุ่มเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงการแตกต่างในขั้นตอนงานวิจัย ทำให้ผู้ใช้สามรถเลือกนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

No comments:

Post a Comment